(กะตุก, กะตุกะ-) ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง.
น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
(กะนิดถะ-, กะนิด) ว. “น้อยที่สุด”, (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.
ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้นํ้า เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา.
น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โจม ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน หรือสิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม หรือผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม.
ว. ค่อนข้างแข็ง หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อน, ไม่นิ่มนวล, เช่น ลิ้นกระด้าง ข้าวกระด้าง
ขัดแข็ง หมายถึง กิริยาวาจาไม่อ่อนตาม เช่น มีกิริยากระด้างขึ้น
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
น. เครื่องทำเสียงสัญญาณทำด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สำหรับทำให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลำตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สำคัญ, ส่วนที่เป็นพลังคํ้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
ก. ใช้กำลังเท้าดันพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้นหรือเคลื่อนจากที่เดิม เช่น กระโดดสูง ดีใจกระโดดจนตัวลอย, ภาษาปากว่า โดด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ (คาวี), ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง หมายถึง แตะต้อง, ทำให้กระเทือนถึง, ทำให้กระเทือนใจ
โดยปริยายหมายถึง อาการที่พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง.
น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชำรุดหรือขาดชุดหมดราคา.
ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึงแพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
น. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น
(กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
(กฺรุง) น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน
เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้อง ว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
(กฺลอก) น. ลักษณะของเสียงที่บรรเลงเลื่อนไหลไปตามท่วงทำนองอย่างนุ่มนวลกลมกลืน เหมือนลักษณะของหยดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน, ในการขับร้องหมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก แล้วตวัดเสียงให้สะบัดวกวนกลับไปกลับมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง สุดแต่ผู้ขับร้องจะเห็นเหมาะสม.
น. ประชาชน ในคำว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน
(กฺลืน) ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
ก. อาการที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อน เป็นต้น พ่นฟองน้ำไว้สำหรับเก็บไข่, โดยปริยายหมายถึงอาการที่เริ่มจับกลุ่มเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
โดยปริยายหมายถึงจำนวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน.
(-ปฺริด-ปฺรอย) ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นลํ่าเป็นสัน, กะปริบกะปรอย ก็ว่า.
(-ปฺริบ-ปฺรอย) ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่ำเป็นสัน, กะปริดกะปรอย ก็ว่า.
(-พฺริบ) ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลิ้นหรือไก เมื่อไปกระทบเข้าก็จะปิดหรืองับทันที, โดยปริยายหมายถึงอุบายที่ใช้ล่อให้หลงเชื่อ.
น. เปลือกหุ้มชั้นนอกของผล ช่อดอก หรือลำต้นของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น.
ก. ซึมเข้าไป, ทา, อาบ, หมายถึงศรที่อาบยาพิษก็ได้ เช่น สายกำซาบ.
(-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ).
ก. จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
(กุละทูสก) น. ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุที่ประจบตระกูลต่าง ๆ ด้วยอาการที่ผิดวินัย.
น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก
ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริย-วิถี เรียกว่า พระราหู.
น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วยการแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม.
(เกฺรียม) ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อนมีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีนํ้าตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
(เกด, เกดสะ-) น. ผม, ในบทกลอนใช้หมายถึง หัว ก็มี เช่น ก้มเกศ.
น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า.
ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คำนี้เมื่อใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คำที่นำมาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชำนาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
ก. ว่าความแทนจำเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคำว่า แก้วทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคำนามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
(ขะหฺมุกขะหฺมัว) ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
(ขะยํ่า) ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
(ขะหฺยุกขะหฺยิก) ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดงถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ
น. ของขลัง, โดยปริยายหมายถึงของสำคัญที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้.
น. แนวที่เห็นเสมือนฟ้าจดกับแผ่นดินหรือทะเล, โดยปริยายหมายถึงไกลมากจนประมาณระยะทางไม่ได้.