ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้
ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน (สมุทรโฆษ)
ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร (สมุทรโฆษ).
ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ใช้.
(ขะหฺย่อน) ว. กระชั้น เช่น ครั้นไก่ขันขย่อนค่อนคืน (มณีพิชัย).
(ขะย่อน) ก. อาการขยับขึ้นขยับลง, กระย่อน หรือ กระหย่อน ก็ว่า
(-ขะหฺย่อน) ก. ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
(-ขะย่อน) ก. มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน.
ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน.
ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน.
ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน.
ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ.
ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น.
ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ.
ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า.
ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย.
ก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร.
ก. ทวนแสง เช่น ถ่ายรูปย้อนแสง.
ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
น. หญิงที่อยู่ในวัยแรกรุ่น.
ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง
ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน
เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน คือ ทำงานไม่เว้นระยะ.
น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน (พากย์นางลอย).
เป็นคำใช้เปรียบเทียบแสดงความยิ่งหรือหย่อนต่อ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า.
น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์ อดิเรกประดับบริพาร (บุณโณวาท).
ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว.
ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อย ว่า นมคล้อย.
ก. เคร่งมากไม่หย่อนคลาย, อาการที่สมองไม่ได้พักผ่อนเพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป.
ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี (รามเกียรติ์ ร. ๑).
(ไคฺล) ก. ทำให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือเป็นต้นคลึงไปมา.
น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา.
น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชำนาญเป็นต้น.
ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า
น. เสียงบอกให้วัวหรือควายหยุด. ก. หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง, เช่น ความนิยมในดาราคนนี้เริ่มเซาลง.
ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่ง ทำให้แนวตะเข็บเหมือนฝีจักร.
ก. ลักษณะที่สายป่านว่าวเป็นต้นหย่อนลง
ก. ได้รับเงินที่ค้างจ่ายย้อนหลัง.