น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยขนาดใหญ่ชนิด Batagur baska (Gray) ในวงศ์ Emydidae จมูกแหลมงอนคล้ายตะพาบ เมื่อยังเล็กกระดองค่อนข้างแบน เมื่อโตขึ้นกระดองโค้งรี เพศเมียหัวและกระดองสีน้ำตาล เพศผู้หัวและกระดองสีดำตาสีขาว ตีนมีพังผืดเต็ม สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบในบริเวณที่มีน้ำไหลทางภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล, กะอาน ก็เรียก.
ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
น. เครื่องรองนั่งบนหลังสัตว์พาหนะหรือยานพาหนะบางชนิด เช่น อานม้า อานรถจักรยาน.
ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.
ก. ลับมีดหรืออาวุธให้คม เช่น อานดาบ อานอาวุธ, ใช้มีดหรืออาวุธถูกับหินให้เรียบหรือให้คม เช่น อานมีด อานหอก.
ก. กิน, เซ่น, เช่น เครื่องอาน ว่า เครื่องกินหรือเครื่องเซ่น.
ว. เป็นหมัน, ไม่มีลูก, (ใช้เฉพาะสัตว์).
(อานะ-) น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคำว่า อานาปานัสสติ = สติที่กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก.
(-นก, -นิก) ก. เอ็นดู, รักใคร่.
น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์.
น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา, ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อนนต์ ก็ว่า.
น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์) ].
น. การรื่นเริง, การทำให้เพลิดเพลิน.
น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อนัม หรือ อานำ ก็มี.
(-นะ-) น. ลมหายใจเข้าออก ในคำว่า อานาปานัสสติ.
(-นัดสะติ) น. สติที่กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก.
น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อนัม หรือ อานัม ก็มี.
ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน.
น. อำนาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่.
ก. ใช้คำพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
ก. อดทนในยามยากโดยกินน้ำแทนข้าว.
คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
(กัดตุ-, กันตุ-) คำนำหน้านามหรือสรรพนามเป็นเครื่องหมายแสดงว่าคำนามหรือสรรพนามนั้นเป็นอาลปนะ เช่น ดูก่อนอานนท์ ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย, บางทีอาจเป็นคำร้องเรียกลอย ๆ โดยละเครื่องหมายนั้นไว้ก็ได้ เช่น อานนท์ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย.
ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สำหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า (นพมาศ)
(กฺราด) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus intricatus Dyer ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าเต็งรัง ต้นมียางเหนียว เจาะเอานํ้ามันยางได้, ยางกราด เหียงกราด ตะแบง หรือ สะแบง ก็เรียก.
น. เครื่องมือสำหรับหีบอ้อยหรือหีบมะพร้าวขูดเพื่อเอาน้ำอ้อยหรือน้ำกะทิคราวละมาก ๆ ประกอบด้วยไม้หนีบ ที่วางของที่จะหีบซึ่งทำคล้ายกับส่วนล่างของปากช้าง เซาะร่องไว้ให้น้ำอ้อยหรือน้ำกะทิไหล ถ้าหีบมะพร้าวขูดจะมีที่ใส่มะพร้าว ซึ่งสานด้วยตอกหวาย รูปทรงคล้ายกระป๋อง.
(กฺลั้ว) ก. เอานํ้าหรือของเหลวแต่น้อยเข้าไปสัมผัสพอให้ชุ่มเป็นต้น.
ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอานํ้านมออกจากเต้านม โดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด.
น. มันหมูที่เจียวเอานํ้ามันออกแล้ว.
ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้.
(โกฺรก) ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกนํ้า, เทให้ไหลลงไป เช่น เอานํ้าโกรกหัว
ก. เอาน้ำต้มหัวหอม ใบมะขามอ่อน และใบส้มป่อย เป็นต้น รดหัวเพื่อแก้หวัด, โกรกหัว ก็ว่า.
ก. เอาน้ำต้มหัวหอม ใบมะขามอ่อน และใบส้มป่อย เป็นต้น รดหัวเพื่อแก้หวัด, โกรกหวัด ก็ว่า.
(โกฺลน) น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสำหรับสอดเท้ายันในเวลาขึ้นหรือขี่
(ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
(ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตำแล้วคั้นเอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.
สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง
คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่
น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า).
ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคำ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).