น. คำอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก.
น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
(กัดตุ-, กันตุ-) คำนำหน้านามหรือสรรพนามเป็นเครื่องหมายแสดงว่าคำนามหรือสรรพนามนั้นเป็นอาลปนะ เช่น ดูก่อนอานนท์ ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย, บางทีอาจเป็นคำร้องเรียกลอย ๆ โดยละเครื่องหมายนั้นไว้ก็ได้ เช่น อานนท์ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย.
(กฺราว) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยกลุ่มหนึ่ง เช่น เพลงกราว เพลงกราวรำ
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงขอม เช่น ขอมทรงเครื่อง ขอมใหญ่ ขอมน้ำเต้า ขอมระทม.
(ขะเหฺมน) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงแขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
คำนำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
ว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป
น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน, ถ้ายังไม่ได้สมรส เรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของพระยา
บ. คำนำหน้านามของต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงจีน เช่น จีนขวัญอ่อน จีนลั่นถัน จีนขิมเล็ก.
น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน
คำนำหน้าพระนามของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า เช่น เจ้าต๋ง (หม่อมเจ้า... ปราโมช)
คำนำหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
คำนำหน้าเพลงไทยที่ใช้ในการแสดงละคร เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม ช้าลูกคู่.
บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด, เพราะ, เหตุ, เช่น ลงโทษด้วยอารมณ์ ได้ดีด้วยความสามารถ. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีลงมา.
น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีลงมา.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นวรเชษฐ์.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น เช่น ตะนาวแปลง ตะนาวมอญ
ใช้เป็นคำนำหน้าคำมาตราวัดพื้นที่ เช่น ตารางนิ้ว ตารางวา ตารางเมตร.
(ทะ) ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทมูลทนาย ทแกล้วทหาญ, ท่าน เช่น ทชี.
(ทะ-) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย ส่วนมากมีลักษณะเป็นเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยใน ทยอยเดี่ยว
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น ทองย่อน ทองย้อย ทองสระ ทองสม.
น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง.
น. คำนำหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
ว. คำนำหน้าคำบอกลำดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น เทพทอง เทพชาตรี เทพบรรทม เทพนิมิต เทพรัญจวน.
(โทระ-) ว. คำนำหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล.
(ไทยะ-) ว. ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคำนำหน้าสมาส.
ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ.
คำนำหน้าชื่อหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ต่อไปก็ได้
คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา เช่น นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก)
คำเรียกหรือคำนำหน้าชื่อหญิงที่มีพฤติกรรมไม่ดีหรือน่ารังเกียจเป็นต้น เช่น นางแพศยา มักออกเสียงสั้นว่า นัง เป็น นังแพศยา
น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วหรือหญิงซึ่งเป็นหม้าย ก็มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ได้.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น นางครวญ นางนาค นางนก.
น. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
คำนำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น
เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา
ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพืชบางจำพวก เช่น ผักกาด ผักกูด ผักปลาบ ผักหนอก.
(ฝะหฺรั่ง) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงฝรั่ง เช่น ฝรั่งควง ฝรั่งรำเท้า ฝรั่งจรกา ฝรั่งแง.
(พะนะท่าน) น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น.
(พะม่า) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากำชับ พม่าห้าท่อน.
คำนำหน้าพระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ
น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
(พฺรามมะนะ-, พฺราม) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น พราหมณ์เข้าโบสถ์ พราหมณ์เก็บหัวแหวน พราหมณ์ดีดน้ำเต้า พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก.
คำนำหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่แดง พี่ส้ม.