ก. ตัดให้สั้น, ตัดให้เป็นท่อน ๆ.
ก. ทำให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกำลัง, ทำให้เสียกำลังใจ ในคำว่า บั่นทอนจิตใจ.
น. ครึ่งหนึ่งหรือตอนหนึ่งของสิ่งที่แบ่งออกเป็นส่วน ๆ เช่น บั้นต้น บั้นปลาย.
ตะโพก, ก้น, (ใช้แก่หญิง).
น. ตอนท้าย เช่น บั้นปลายของชีวิต.
น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว สะเอว หรือ เอว ก็ว่า.
น. ชื่อมาตราตวงข้าวเปลือก มีอัตรา ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลิตร.
ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลำบาก.
ก. ฝ่าไปโดยไม่ท้อถอย, ในคำประพันธ์ใช้ว่า บุกบัน ก็มี เช่น เข้าโรมรุกบุกบันฟันแทง (อิเหนา).
ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า.
ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.
ว. อาการที่แยกหรือขาดจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น สัมพันธภาพขาดสะบั้น ความรักขาดสะบั้น, โดยปริยายหมายความว่า อย่างยิ่ง, อย่างมาก, เช่น กินสะบั้น.
ว. อย่างที่สุด เช่น โกงสะบั้นหั่นแหลก บู๊สะบั้นหั่นแหลก.
ก. ตัด, บั่น, เช่น กกกิ่ง กกยอด.
เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก
เรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน
น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.
น. กระแบะ เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย (ม. คำหลวง กุมาร).
น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว หรือ บั้นเอว ก็ว่า.
ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น (ตะเลงพ่าย)
ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
น. แง่กระดูกเชิงกรานที่อยู่ใต้บั้นเอว, หัวตะคาก ก็เรียก.
น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
(บะรากฺรม) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า.
(ปะรักกะ-) น. ความเพียร, ความบากบั่น.
(ปะรากฺรม) น. ความเพียร, ความบากบั่น.
น. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.
(พะยา-) ก. ทำโดยมานะบากบั่น.
ก. บากบั่น, พยายาม, มุ่งทำไม่ท้อถอย.
น. ตอน, บั้น, (ใช้แก่สิ่งของบางชนิด) เช่น พานท้ายปืน พานท้ายเรือ.
น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง.
ก. พยายามจนกว่าจะสำเร็จ, บากบั่น.
(พาก, พากคะ-) น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค.
ส. ข้าพเจ้า เช่น อกม่อนเมา บาบั้น บิ่นบ้าในทรวง (หริภุญชัย).
น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น.
น. วิริยะ, ความเพียร, ความบากบั่น
น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ
น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ เอว ก็ว่า.
(-นาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.
น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ.
น. เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง.
น. แง่กระดูกเชิงกรานที่อยู่ใต้บั้นเอว, ตะคาก ก็เรียก.