การเฝ้าสังเกตภาวะ, การสังเกต การวัด หรือแนวโน้ม ของตัวบ่งชี้ภาวะโดยเทียบกับพารามิเตอร์เสรี เช่น เวลาหรือรอบการทำงาน เพื่อแสดงว่า โครงสร้าง ระบบ หรือส่วนประกอบ สามารถใช้งานตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต, Example: [นิวเคลียร์]
การเข้าถึงแบบเสรี, Example:<p>ในช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา ห้องสมุดทั่วโลกโดยเฉพาะห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนา ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดในการบอกรับวารสารวิชาการที่มีราคาสูง เนื่องจากแนวโน้มราคาวารสารวิชาการมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะวารสารวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ห้องสมุดในฐานะที่อยู่ต้นทางในการให้บริการแก่ผู้ใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการกำหนดนโยบาย และมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กระแสวารสารที่เข้าถึงได้แบบเปิด (Open Access) กำลังได้รับความสนใจและมีบทบาทสำคัญมาก จากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะวิกฤติของวารสารวิชาการนั่นเอง <p>Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) <p>ประเภทของ Open Access <p>1. Open Access Publishing หรือเรียกว่าเป็นถนนสีทอง (Gold OA) ที่นำสู่ OA หมายถึง วารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ <p>2. Open Access Self-Archiving หรือ เรียกว่าเป็นถนนสีเขียว (Green OA) หมายถึง วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้ <p>ลักษณะของ OA <p>1. Truly OA หมายถึง ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรีทันทีที่พิมพ์ ให้ผู้เขียนบทความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และให้เผยแพร่บทความออนไลน์ได้โดยไม่มีข้อจำกัด <p>2. Delay OA หมายถึง ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรี เฉพาะฉบับย้อนหลัง (Free back issues) หลังจากตีพิมพ์ไปแล้ว <p>3. Dual-mode OA หมายถึง วารสารชื่อเดียวกัน มีทั้ง Print Subscription และ OA Edition <p>4. Hybrid OA หมายถึง ภายในวารสารฉบับเดียวกัน มีทั้งบทความ OA และ Non-OA <p>5. Partial OA หมายถึง OA เฉพาะบางบทความ (มักเป็นการโฆษณาของสำนักพิมพ์) <p>6. Low-income OA หมายถึง OA เฉพาะประเทศในกลุ่ม Low-income economies โดยให้บริการวารสารผ่านโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น Hinari, AGORA <p>บรรณานุกรม <p>รุจเรขา อัศวิษณุ. แหล่งสารสนเทศวารสารแบบเสรี (Open Access). การสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือ Journal Link, 24 สิงหาคม 2550, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. <p>รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่. (2551). แหล่งสารสนเทศวิชาการที่เข้าถึงได้แบบเปิด : Open Access (OA) Resources. สารเนคเทค, 15(175), 49-56. <p>พรพรรณ บุญยะทิม. (2551). วิกฤติวารสารวิชาการ (The Journals / Serials Crisis). สารเนคเทค, 15(177), 63-67. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ[ธุรกิจ]
อนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์]
เสรีภาพทางวิชาการ[TU Subject Heading]
เสรีภาพในการชุมนุม[TU Subject Heading]
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ[TU Subject Heading]
อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง (ค.ศ. 1948)[TU Subject Heading]
ธุรกิจแบบเสรี[TU Subject Heading]
เขตการค้าเสรี[TU Subject Heading]
การค้าเสรี[TU Subject Heading]
เสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคม[TU Subject Heading]
เสรีภาพในการแสดงออก[TU Subject Heading]
เสรีภาพด้านสารสนเทศ[TU Subject Heading]
เสรีภาพในการนับถือศาสนา[TU Subject Heading]
เสรีภาพในการพูด[TU Subject Heading]
เสรีภาพของหนังสือพิมพ์[TU Subject Heading]
การกระทำโดยอ้อม, การที่รังสีถ่ายเทพลังงานให้กับโมเลกุนของน้ำ มีผลให้เกิดอนุมูลเสรี ซึ่งมีความไวในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชีวโมเลกุล แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลนั้น[นิวเคลียร์]
เสรีไทย[TU Subject Heading]
ลัทธิเสรีนิยม[TU Subject Heading]
เสรีภาพ[TU Subject Heading]
เศรษฐกิจตลาดเสรี, Example:ระบบเศรษฐกิจซึ่งการจัดสรรทรัพยากร ถูกกำหนดโดยปัจจุบันด้านอุปสงค์และอุปทานในตลาดเสรี แม้ว่าจะมีการออกระเบียบข้อบังคับจากรัฐบาลบ้างแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย เศรษฐกิจตลาดเสรีอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจทุนนิยม [สิ่งแวดล้อม]
การค้าเสรี, Example:สภาพการณ์ของการค้าระหว่างประเทศ ที่ไม่มีข้อจำกัดหรืออุปสรรคใดๆ อันได้แก่ ภาษีนำเข้า โควต้า ใบอนุญาตนำเข้า การห้ามนำเข้า การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตในประเทศ ในระบบเศรษฐกิจเสรีแต่ละประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนมีความถนัดซึ่ง จะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ มีสิ [สิ่งแวดล้อม]
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ, Example:ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศทั้งสาม ซึ่งได้มีการตกลงกันในหลักการเบื้องต้นเมื่อ พ.ศ. 2535 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 วัตถุประสงค์สำคัญของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟต้า (NAFTA) คือ 1) เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งการค้าสินค้า (Goods) และการบริการ (Services) ต่างๆ 2) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในเขตการค้าเสรี 3) เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิกด้วยกัน 4) เพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกด้วยกัน 5) เพื่อสร้างวิธีการที่มีประสิทธิผลในการใช้ข้อตกลงและการระงับข้อพิพาท 6) เพื่อสถาปนากรอบการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก [สิ่งแวดล้อม]
สมาคมการค้าเสรียุโรป, Example:ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาสต็อกโฮล์ม (Treaty of Stockholm) เมื่อ พ.ศ. 2503 มีสมาชิกแรกเริ่ม 7 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่อมา อังกฤษ เดนมาร์ก และโปรตุเกส ได้ลาออกไปเข้าร่วมกับ กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และได้มีประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์เป็นสมาชิกเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อตั้งเขตการค้าเสรี (ดู Free Trade Area) ในระหว่างประเทศสมาชิกโดยเน้นการค้าและ อุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน (ปี 2538) มีสมาชิกเพียง 3 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ เนื่องจากนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และออสเตรีย ได้ลาออกไปเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2538 [สิ่งแวดล้อม]
กรอบความตกลงของอาเซียนว่าด้วยการบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน[การทูต]
เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน[การทูต]
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านศุลกากร การขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและการรับรองระหว่างกัน[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการ รวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย[การทูต]
ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย[การทูต]
เขตการลงทุนอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูด การลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์[การทูต]
โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จ รูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรใน อัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้[การทูต]
ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย[การทูต]
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก " เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง "[การทูต]
เขตการค้าเสรีอาหรับ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมติที่ประชุมสุดยอดอาหรับที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (มิถุนายน 2539)[การทูต]
เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[การทูต]
แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด[การทูต]
คณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามพันธกรณีภายใต้ CEPT ของ AFTA เป็นกรอบการหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการคลัง เพื่อ ติดตามและประสานงานการดำเนินการตามพันธกรณีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากัน ของเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งปกติจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง[การทูต]
เขตการค้าเสรียุโรปกลาง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศยุโรปกลาง 7 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวัก สโลเวเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย[การทูต]
อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน " เป็นกลไกหลักในการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันภายใต้กรอบ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้อยู่ในระดับร้อยละ 0-5 โดย ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด "[การทูต]
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น[การทูต]
ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique?[การทูต]
เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น[การทูต]
ความริเริ่มด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน " เป็นแผนงานหลักในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน ประกอบด้วย (1) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (2) การกำหนดนโยบายและกฎหมายที่อำนวยความสะดวกการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการ จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ "[การทูต]
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ " หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่าง ๆ ร่วมกัน จำแนกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ "[การทูต]
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือ บริเวณที่อยู่เลยไปจากและประชิดกับทะเลอาณาเขต สิทธิและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งและสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นถูกกำหนดโดยบท บัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ. 2525[การทูต]
การเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (ในกรอบความร่วมมือเอเปค)[การทูต]
กลุ่มสินค้าที่จะต้องเร่งลดภาษี (ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน) " ซึ่งมีอยู่ 15 รายการ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว และแคโทดที่ทำจากทองแดง "[การทูต]
เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?[การทูต]