น. ผีเสื้อ. (ดู ผีเสื้อ ๑).
น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Mussaenda วงศ์ Rubiaceae ดอกสีเหลืองหรือแสด กลีบเลี้ยงกลีบหนึ่งใหญ่แผ่ออกเป็นใบขาว ดูไกล ๆ คล้ายผีเสื้อเกาะดอกไม้.
น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ ๑).
ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด.
ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ.
ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไร.
ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลงโดยมีเครื่องล่อ.
น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
(ตฺระ-) ก. ตะเบ็ง, เขียนเป็น ตรเบง ก็มี เช่น ย่อมพลแขงตรเบงล่ำสนน ย่อมพลขันธ์ตรเบงล่ำสู้ (ม. คำหลวง มหาราช).
ก. เปล่งเสียงออกให้ดังเกินปรกติ.
น. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะแบงมาน ก็ว่า.
ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์. [ เทียบ ม. angkat tabek ว่า วันทยหัตถ์ (angkat ว่า ยกขึ้น tabek เป็นคำทักทายที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่) ]
น. ทุ่นสำหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าปลากินเบ็ด.
ว. ทำเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์, ทำเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
ก. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทำปากเบ้
ทำหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะเป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทำให้พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม
อวดว่ามีอำนาจ, อวดทำเป็นใหญ่.
น. เครื่องมือสำหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสำหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.
น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
(เบ็ดตะเหฺล็ด) ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของเบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสำคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.
(เบ็ดเส็ด) ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ
เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอกประเทศ ว่า ภาษีเบ็ดเสร็จ.
ว. กว้างใหญ่และลึก (ใช้แก่แผล) เช่น ถูกฟันเป็นแผลเบ้อ.
น. ดินหรือโลหะปั้นเป็นรูปคล้ายถ้วยสำหรับหลอมหรือผสมโลหะบางชนิด เช่นทอง เงิน, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เบ้าหัวไหล่ เบ้าขนมครก.
น. เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น.
น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียวและอัตรา ๒ ชั้น ปรากฏในระบำสี่บท ประกอบด้วยเพลงพระทอง สระบุหร่ง บหลิ่ม และเบ้าหลุด.
ว. มีเสียงเอ็ดอึงจนฟังไม่ได้ศัพท์.
ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
น. การมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภช เช่น พระราชพิธีโสกันต์.
ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคำ เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่, ละเบ็ง ก็ว่า.
ก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่งของทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.
ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, ระเบ็ง ก็ว่า.
ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวดเป็นต้น.
น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ ๑).
(กด) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้ (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้ (อัยการเบ็ดเสร็จ), พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด).
(กำมะชะวาด) น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์ (ปฐมสมโพธิกถา), เขียนเป็น กรรมัชวาต ก็มี.
ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
น. แผ่นตะกั่วหรือโลหะแผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ ที่ติดอยู่เหนือเบ็ดสำหรับล่อปลา.
ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้