น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี.
น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด Solanum melongena L. ในวงศ์ Solanaceae.
น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่สูงกว่าพระ ตํ่ากว่าเจ้าพระยา เช่น พระยาอนุมานราชธน.
น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง.
น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.
น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานพานทองเป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
น. พ่อค้าหลายคนเลี้ยงก็สู้ขุนนางผู้ใหญ่คนเดียวเลี้ยงไม่ได้.
(กด) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้ (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้ (อัยการเบ็ดเสร็จ), พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด).
(กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น.
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาเกษตราธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาพลเทพฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือตราพระพิรุณทรงนาคและตราอื่น ๆ รวม ๙ ดวง.
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาโกษาธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราบัวแก้ว.
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยายมราชฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราพระยมขี่สิงห์.
เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์หรือเจ้าพระยาธรรมาธิบดีฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราเทพยดาขี่โคนนทิกร.
(กัน-) น. เครื่องประกอบยศของเจ้านาย ขุนนาง และราชพาหนะ มีรูปร่างคล้ายสัปทนขนาดเล็ก บุด้วยผ้าต่างสีต่างชนิดกันตามชั้นยศ ระบายรอบอย่างน้อย ๒ ชั้น ยาวปรกลงมามากกว่าสัปทน สำรับหนึ่งมี ๔ คัน ใช้ตั้งแต่งประจำมุมทั้ง ๔ ของผู้ครองยศ หรือถือเข้ากระบวนแห่ เช่น แห่พระยาแรกนา แห่ช้างสำคัญ, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), ประการหนึ่งปืนเป็นกระทู้การสงคราม (เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี ประชุมพงศ. ๒).
ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ใช้.
(กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดินยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลำนํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพ
(ขะโหฺยด) ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขาโขยดโลดลองเชิง (ม. ร่ายยาว กุมาร).
(คฺลี) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม (สังข์ทอง)
น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน, ถ้ายังไม่ได้สมรส เรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของพระยา
น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว (โคลงพระยาตรัง).
คำเรียกผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป
น. โรงที่พักพระยายืนชิงช้าในพิธีโล้ชิงช้า เช่น นำพระยาไปที่ชมรม โรงชมรมนั้นทำเปนปรำไม้ไผ่ ดาดผ้าขาวเปนเพดาน มีม่านสามด้าน กลางชมรมตั้งราวไม้ไผ่หุ้มผ้าขาวสำหรับนั่งราวหนึ่ง สำหรับพิงราวหนึ่ง (สิบสองเดือน), โรงที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล, โชมโรม ก็ว่า.
น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว, เช่น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี, โชดึก ก็ว่า.
ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา เช่น ฝั่งพระนครอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา
น. ลำดับชั้นบุคคลในราชสกุลมี เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า เป็นต้น, ลำดับชั้นยศบุคคลในราชการมี เจ้าพระยา พระยา พลเอก เป็นต้น.
เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ.
ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ข้าขอประณตน้อม กายวจี จิตนา ต่อพระตรีไตรรัตน์ โรจน์เรื้อง เป็นประทีปส่องศรี โลกชัชวาลนา กำจัดมืดมนธ์เปลื้อง สัตว์พ้นสงสาร (หลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร, ในจินดามณีเรียกตรีเพชรทัณฑี).
ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางที่มีศักดิ์สูงเช่นเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช สมเด็จเจ้าพระยา หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ), ใช้ว่า พิราลัย ก็มี.
ก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).
ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าพระยาหรือเทียบเท่า).
ก. ทำลายขวัญ, ทำให้กลัว, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร).
น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง.
โดยปริยายเรียกชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง ว่า พระยาเทครัว.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius sanitwongsei H.M. Smith ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีปลายก้านครีบอันแรกของครีบหลัง ครีบอก และครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา เช่น นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก)
(บันดา-) น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.
น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae เช่น ชนิด Colocasia esculenta (L.) Schott ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทำให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [ C. bicolor (Aiton) Vent. ] บอนพระยาเศวต [ C. humboltii (Raf.)Schott ].
น. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง.
น. แว่นแคว้น เช่น ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระยาผ่านในปกเมืองเนืองทั้งปกเขม ครั้นเต็มสมบูรณ์สามสิบแปดข้าว เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด กลายท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ (จารึกวัดบูรพาราม).
น. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทรหรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.
บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้านามพระสนม เช่น พระอินทราณี พระสุจริตสุดา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว