(โจด) น. บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล
พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์).
ก. ว่าความแทนจำเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
น. คดีแพ่งที่โจทก์หรือจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีได้ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือบางส่วน.
น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ.
น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยานโจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางโจทก์ ทางจำเลย
ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคำฟ้อง หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว.
น. เอกสารแสดงรายการสิ่งของที่ถูกปล้นเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่, เอกสารบันทึกคำให้การของโจทก์และจำเลยซึ่งได้ความจริงทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เช่น ถ้าแลส่งไปให้ปรับ ๆ มาว่าประการใดแล้วให้ยุกระบัตรพิจารณาดู ในใบสัจซึ่งปรับมาใส่ด้วยบทพระอายการ (สามดวง), บางทีเขียนเป็น ใบสัตย์ ก็มี เช่น หลวงญาณประกาศเทพราชธาดา พร้อมหน้านั่งฟังใบสัตย์อยู่ เชิญบทพระไอยการออกอ่านดู ผู้ปรับทั้งคู่อยู่พร้อมกัน (ขุนช้างขุนแผน).
ก. รับฟ้องคดีอาญาไว้พิจารณาต่อไป ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนและถ้าปรากฏว่าคดีมีมูลแล้ว ศาลจึงจะประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป.
ก. การที่โจทก์หรือจำเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนำพยานเข้าสืบ.
ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิกความเท็จ.
ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์.
กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี
ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนจำเลย.
น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย.