โกงเจ้าหนี้ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ลูกหนี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ที่ตนจำนำไว้ หรือกระทำการบางอย่างที่ทำให้เจ้าหนี้เสียหายในการที่จะได้รับชำระหนี้ เช่น โอนทรัพย์ให้คนอื่นหรือแกล้งเป็นหนี้ที่ไม่เป็นความจริง. |
เจ้าหนี้ | น. เจ้าของหนี้ |
เจ้าหนี้ | ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ |
เจ้าหนี้ | บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้. |
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ | น. บุคคลผู้ซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด. |
เจ้าหนี้มีประกัน | น. เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ. |
เจ้าหนี้ร่วม | น. บุคคลหลายคนซึ่งมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงได้. |
กรมธรรม์ | (กฺรมมะทัน) น. เอกสารสัญญาซึ่งทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เอกสารที่ทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน สัญญาขายฝากที่ไร่ที่สวน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง). |
ค้ำประกัน | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น. |
เครดิต | รายการเจ้าหนี้ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ |
เงินผ่อน | น. เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ. |
เจ้า ๑ | ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้ |
ช่วงสิทธิ์ | ก. เข้าสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง เช่น เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้คืนได้ในนามของตนเอง. |
ตั๋วเงินรับ | น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. |
บุคคลสิทธิ | (บุกคะละสิด, บุกคนละสิด) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้. |
บุริมสิทธิ | (บุริมมะสิด) น. สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด. |
บุริมสิทธิสามัญ | น. บุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน ค่าปลงศพ ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้. |
เบี้ยปรับ | น. จำนวนเงินหรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจำนวนเงินซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร |
ใบสำคัญคู่จ่าย | หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนำส่งเงินต่อคลังด้วย. |
ปลดหนี้ | ก. การที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเป็นเหตุให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป. |
แปลงหนี้ใหม่ | น. การที่คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เช่น เปลี่ยนตัวลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ เมื่อแปลงหนี้ใหม่แล้วหนี้เดิมเป็นอันระงับ. |
ผิดนัด | ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา หรือเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้. |
ผู้ค้ำประกัน | น. ผู้ให้คำรับรองต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น |
ผู้ค้ำประกัน | ผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น. |
มะรุมมะตุ้ม | ว. กลุ้มรุมทำให้เกิดรำคาญ เช่น เจ้าหนี้มามะรุมมะตุ้มทวงหนี้กัน, มารุมมาตุ้ม ก็ว่า. |
มารุมมาตุ้ม | ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทำให้เกิดรำคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้มทวงหนี้กันใหญ่. |
รับหน้า | ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน. |
ลูกหนี้ | น. ผู้เป็นหนี้, คู่กับ เจ้าหนี้ |
ลูกหนี้ | บุคคลผู้มีหนี้กับบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้. |
ลูกหนี้ตามคำพิพากษา | น. บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีและมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้. |
เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ | ก. อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ เช่น ลูกหนี้เล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับเจ้าหนี้. |
วางทรัพย์ | น. นำทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้หลุดพ้นจากหนี้ได้. |
สำนักงานวางทรัพย์ | น. สถานที่ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เอาเงินหรือทรัพย์ไปวางไว้เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้. |
หน้าเลือด, หน้าโลหิต | ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด. |
หนี้ | นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation) |
หนี้สูญ | น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้. |
หลบหนี้ | ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้. |
หักกลบลบหนี้ | น. การนำเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่าจำนวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น. |