(เบ'ซิค) 1. adj. เกี่ยวกับฐาน, เกี่ยวกับด่าง 2. เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่งใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกนี้เขียนง่าย ๆ เหมาะกับผู้เริ่มต้นเรียน คำว่า BASIC นั้นย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code แปลได้ว่า รหัสคำสั่งที่เป็นสัญลักษณ์เอนกประสงค์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อเริ่มนำออกใช้ใหม่ ๆ ภาษานี้มีข้อจำกัดมาก ในปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาภาษานี้ไปไกลแล้ว แต่นักทำโปรแกรมทั่วไปมักจะดูถูกว่า เป็นภาษาสำหรับผู้เริ่มต้น และไม่นิยมนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมใหญ่ ๆ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ จะทราบที่ผิดและแก้ไขได้ทันที
ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
ชั้นดีชั้นสูงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ชั้นดีเยี่ยมที่บางบริษัททำการผลิตขี้นมา แน่นอนที่ราคาจะต้องสูงตามไปด้วย เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีฐานะดี บางบริษัทอาจสนใจผลิตตรงข้าม กล่าวคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พอใช้ได้ และราคาถูก เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งเรียกว่า low end แต่ก็มีข้อดีก็คือ จะทำให้ขายได้จำนวนมากกว่า ดู low end เปรียบเทียบ
ภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ
จานเลเซอร์เป็นจานบันทึกชนิดหนึ่งที่ใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและล้างข้อมูล มีความจุมากกว่าจานบันทึกธรรมดามาก (ประมาณ 600 เมกะไบต์ ถึง 1.3 กิกะไบต์) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ ทนทานต่อการขูดขีด ในการใช้ ต้องมีหน่วยบันทึกหรือหน่วยขับ (drive) พิเศษ ต่างไปจากหน่วยจานบันทึกธรรมดา ปัจจุบัน นิยมนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น มักใช้บรรจุโปรแกรมหรือข้อมูลที่ต้องไม่มีการแก้ไข (เช่นพจนานุกรม) ราคาถูกลงมาก และนับว่าคุ้มค่า (มีลักษณะเหมือนจานบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์) มีความหมายเหมือน compact disk
(เมอ'ริท) n. ความดีเลิศ, ข้อดี, คุณความดี, บุญกุศล., See Also:merits n., pl. ข้อถูกผิด, ความสมควร vt. สมควรกับ, ควรได้รับ, Syn.excellence
(เมอริโท'เรียส, -ทอ'เรียส) adj. มีความดีความชอบ, มีคุณความดี, มีข้อดี, น่าสรรเสริญ, ควรได้รับการยกย่อง, Syn.praiseworthy
การเขียนโปรแกรมส่วนจำเพาะหมายถึง การแยกเขียนโปรแกรมเป็นส่วน ๆ ทำให้แก้ไขง่าย และใช้คนเขียนหลายคนได้ ข้อดียิ่งไปกว่านั้นก็คือ สามารถจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำได้ดีขึ้นด้วย
(มอน'นิเทอะ) n. นักเรียนผู้ทำหน้าที่ช่วยครูดูแลความประพฤติของนักเรียนคนอื่น, เครื่องเตือน, เครื่องบอกเหตุ, เหี้ยหรือจะกวด, เครื่องรับการส่งวิทยุ, พี่เลี้ยง. vt. ใช้เครื่องรับฟังสัญญาณ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม, สังเกต, ควบคุม. vi. เป็นเครื่องเตือน, เป็นเครื่องตรวจ. ตัวจอภาพหมายถึง ตัวจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) จอภาพนั้นมีหลายชนิด เช่น สีเดียว, หลายสี มีหลายขนาด จอภาพที่ดีจะต้องมีความถี่สูง ทำให้ได้ภาพที่นิ่งสนิท (non interlaced) ทำให้ไม่มีอันตรายต่อสายตา มีความคมชัดสูง (high resolution) ขนาดมาตรฐานจะมีความละเอียด 1024 x 768 จุด แบบที่ผลิตออกมาขายใหม่ ๆ จะมีข้อดีอีกข้อหนึ่ง คือ ประหยัดไฟ โดยปิดตัวเองได้ในขณะที่ไม่ใช้งาน เรียกว่า green monitor
(โพสทฺ'สคริพทฺ) n. ปัจฉิมลิขิต, ภาคผนวก, ภาพเสริมท้าย, คำเสริม ท้าย, โพสต์สคริปต์ <คำอ่าน>เป็นชื่อภาษาที่ใช้ในการจัดหน้าของระบบอะโดบี (Adobe system) ใช้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) หรือหน่วยแสดงผลที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ การที่จะใช้ภาษาโพสต์สคริปต์ได้ จำเป็นต้องมีชอฟต์แวร์ตัวนี้ (PostScript printer driver) ใน โปรแกรมที่ใช้ หรือในระบบปฏิบัติการ ข้อดีอย่างยิ่งก็คือ สามารถทำงานจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop publishing) ได้ อันที่จริง การสร้างหรือออกแบบงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานแผ่นพับ รายงานประจำสัปดาห์ ใบปลิว ใบโฆษณา ฯ เราสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาออกแบบก่อนได้ แล้วส่งไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ชั้นดี ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาสวย และมีความคมชัดเหมือนกับเครื่องพิมพ์ใหญ่ ๆ