คำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย (บทดอกสร้อย).
ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด.
ว. คำออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น.
ว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
ว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า
คำที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคำกลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ยกาดำ รถเอ๋ยรถทรง.
ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออกมาง่าย ๆ.
ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทำดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย (มณีพิชัย).
ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร).
(กน-, กนละ-) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง).
ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม (กลบท).
(-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ).
เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ
ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ
น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคำว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่น อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย (นิ. ทวาราวดี).
ว. เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง มีเสียงต่าง ๆ เช่น ชะฉ่า ชาฉ่า ชัดฉ่า เป็นต้น เช่น ขอพวกกัญญาอย่าเคือง เอ๋ยในใจเอย ฉ่าฉ่าฉ่าชา ชะฉ่าไฮ้, ชะฉ่าชะฉ่า ชะฉ่าไฮ้ เล่นเพลงปรบไก่จนหัวไหล่ยอก (บทเพลงปรบไก่), เอ่ชา เอ๊ชา ชา ฉ่า ชา นอยแม่ (บทเพลงฉ่อย).
คำกล่าวติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาจะหาไหน พี่น้องพร้อมพรั่งช่างกระไร แต่จะยกมือไหว้ก็ไม่มี (สังข์ทอง), คำกล่าวแสดงความตื่นเต้น เช่น น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร นางในกรุงศรีไม่มีเทียม (ขุนช้างขุนแผน).
ก. สัมผัสแนบชิด เช่น ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย (อภัย).
น. ศพ เช่น แม้นพระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่างซากศพของมัทรี (ม. ร่ายยาว มัทรี), เจ้าพี่เอ๋ยอุตส่าห์พาซากศพ มาให้พบผัวรักเมื่อเป็นผี (ตับนางลอย), บางทีเขียนเป็น ทรากศพ ก็มี เช่น พระบาทเจ้าจะได้ทอดทัศนา ซึ่งทรากศพสาธารณนอนตาย (ม. คำหลวง มัทรี), ร่างของคนที่ตายมานานแล้วแต่มีเค้าพอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเป็นต้น.
น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า นิจาเอ๋ยกะไรเลยไม่เคยเห็น นิจาเอ๋ยกะไรน่านํ้าตากระเด็น นิจาเอ๋ยกะไรเปนได้เช่นนี้ (กลบท).
น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, บทดอกสร้อย ก็ว่า.
(ตฺรีพิดทะพัน) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้มีคำเดียวกันซ้ำ ๓ ครั้งภายในวรรคเดียวกัน จะเป็นตำแหน่งใดก็ได้ เช่น สังเวชจิตร์เอ๋ยจิตร์จิตร์เราหนอ ไม่เจียมกายกายแก่ทำกายตะกอ ดีแต่ก้ออวดก้อก้อเกินนัก (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน)
น. ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง เช่น ในบทดอกสร้อยสุภาษิตว่า “ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้...”.
ก. ทำลายขวัญ, ทำให้กลัว, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร).
น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก (รามเกียรติ์ ร. ๑), เจ้าพนักงาน เช่น เหวยนักงานเอ๋ย เร่งรุกเร็วบัดนี้พลัน จงแสดงทุกข์แห่งโอรส ให้ปรากฏโดยคดี ว่าบัดนี้หมู่สีพีลงโทษ โกรธจอมธรรม์ (ม. คำหลวง หิมพานต์).
น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
ว. มีความชำนาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาทมือเก่านะเจ้าเอ๋ย (อภัย).
ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่าออเจ้า (ม. คำหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต (อิเหนา).