(ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia cambodiana Gagnep. ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก.
น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน.
ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ.
ว. ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น แม่ค้าคนนี้กระดูกขัดมันเหลือเกิน เราซื้อผลไม้แกตั้งร้อยกว่าบาทขอแถมเงาะลูกหนึ่งก็ไม่ได้
ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บเก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ (เงาะป่า).
(กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ.
น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก.
ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก.
(คฺวัก-) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง (สังข์ทอง).
ก. เอารูปที่ปกคลุมออกให้เห็นรูปที่งดงาม เช่น เจ้าเงาะถอดรูป, เปลี่ยนรูปโฉมให้งดงาม เช่น เด็กสาวชนบทถอดรูปเป็นดาวมหาวิทยาลัย.
ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง).
ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
(พฺรวน) น. ต้นเงาะ. (ดู เงาะ ๒).
ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ).
น. อากรที่เรียกเก็บจากจำนวนต้นของไม้ผลยืนต้น ๗ ชนิด คือ ขนุน สะท้อน (กระท้อน) เงาะ ส้มต่าง ๆ มะไฟ ฝรั่ง สาเก และไม้ล้มลุกคือสับปะรด (ลัทธิธรรมเนียม).
น. ชื่อผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae เป็นศัตรูพืชโดยใช้ปลายปากที่แข็งแรงเจาะเปลือกผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย เพื่อดูดกินน้ำข้างใน ทำให้เกิดรอยแผลเชื้อโรคเข้าได้ ผลไม้เน่าและร่วงในที่สุด ชนิดที่พบบ่อย คือ ชนิด Eudocima fullonia (Clerck), E. salaminia (Cramer) และ Purbia discrepans (Walker).
ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).
สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า (สังข์ทอง).
ก. หลุดออกหมดไม่มีเหลือติดอยู่ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อ หรือสิ่งซึ่งห่อหุ้มอยู่) เช่น เงาะล่อน พริกไทยล่อน, หลุดออกเป็นชิ้นเป็นแผ่น เช่น สะเก็ดล่อน สีล่อน, หลุดออกง่ายเมื่อกะเทาะหรือแซะออกเป็นต้น เช่น แป้งขนมเบื้องล่อน.
(-พัดสอน) น. อากรประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน เก็บจากจำนวนพื้นที่ที่ปลูกไม้ล้มลุกบางประเภทและจำนวนไม้ผลยืนต้นบางประเภท เช่น ขนุน เงาะ กระท้อน มะไฟ เก็บเป็นรายปี.
ว. เทียบเท่า, เทียบคู่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พระสังข์ครั้งนี้จะถอดเงาะ งามเหมาะไม่มีเสมอสอง (สังข์ทอง).