(ชิพ) 1. { chipped, chipping, chips } n. เศษไม้, เศษหิน, ชิ้น, แผ่นตัด, เศษ, เบี้ย, สิ่งเล็กสิ่งน้อย, สิ่งที่ไร้ค่าหรือมีค่าน้อย, ไม้ตอก, ก้อนมูลแห้ง, เงิน vt. ตัด, เลาะ, แกะ, แชะ, ขูด, สกัด, เจาะ, ทำปากแหว่ง, เฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ , พูดเหน็บแนม, พูดสอด, จิกให้ไข่แตก vi. แหว่ง, เป็นรอยร้า 2. n. หมายถึงวงจรรวม (integrated circuit) ทำหน้าที่ เหมือนสาร กึ่งตัวนำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีชิปแบบวีแอลเอสไอ (VLSI หรือ Very large scale integrated circuit) ซึ่งจะมีทรานซิสเตอร์เป็นพัน ๆ ตัว แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว ราคาถูกลงทุกวัน แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก ถ้าชิปใดมีทั้งหน่วยความจำ หน่วยคำนวณ และตรรกะ เราจะเรียกชิปนั้นว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (micro processor) ปัจจุบัน เราใช้ชิปกันมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เครื่องคิดเลข นาฬิกา เครื่องมือแพทย์ ฯ ดู microprocessor ประกอบ
abbr. infection control ไอซีย่อมาจากคำ integrated circuit (แปลว่า วงจรรวม, วงจรเบ็ดเสร็จ) เป็นวงจรที่สร้างขึ้นครบชุดด้วยเกล็ดซิลิคอน ประกอบเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวงจร เช่น ทรานซิสเตอร์ (transistor) ไดโอดส์ (diodes) เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรเบ็ดเสร็จชนิดนี้ใช้กันมากในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคต้น ๆ ใช้วงจรแยกชิ้นเป็นหลัก เหตุที่นิยมใช้วงจรเบ็ดเสร็จกันมาก ก็เพราะขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กระแสไฟน้อยกว่า และสามารถปฏิบัติงานได้เร็วกว่า
วงจรรวมวงจรเบ็ดเสร็จใช้ตัวย่อว่า IC (อ่านว่า ไอซี) เป็นวงจรที่สร้างขึ้นครบชุดด้วยเกล็ดซิลิคอน ประกอบเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวงจร เช่น ทรานซิสเตอร์ (transistor) ไดโอดส์ (diodes) เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรเบ็ดเสร็จชนิดนี้ใช้กันมากในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคต้น ๆ ใช้วงจรแยกชิ้นเป็นหลัก เหตุที่นิยมใช้วงจรเบ็ดเสร็จกันมาก ก็เพราะขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กระแสไฟน้อยกว่า และสามารถปฏิบัติงานได้เร็วกว่า
วงจรรวมความจุสูงนิยมใช้ตัวย่อว่า LSI (อ่าว่า แอลเอสไอ) เป็นเทคโนโลยีในการสร้างชิป (chip) ให้มีทรานซิสเตอร์จำนวนมากเป็นแสนตัวบนชิปตัวเดียว นำมาใช้เป็นหน่วยความจำ (memory) หรือตัวประมวลผลก่อน (preprocessor) ดู integrated circuit ประกอบ
คอมพิวเตอร์ยุคที่สองหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 จนถึงต้น 1970 มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีขนาดเล็กว่ายุคที่หนึ่งมาก ใช้กำลังไฟน้อยลง และให้ความร้อนน้อยลงด้วย เพราะหน่วยความจำที่ใช้เป็น วงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนที่จะเป็นหลอดสุญญากาศเหมือนยุคที่หนึ่ง ส่วนหน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) นิยมใช้เทปหรือแถบบันทึก และจานบันทึก การนำข้อมูลเข้าและการแสดงผล สามารถทำได้ควบคู่ไปกับการคำนวณ เริ่มรู้จักใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ควบคุมดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์
สารกึ่งตัวนำหมายถึง สารชนิดหนึ่งที่เป็นสื่อนำก็ไม่ดี เป็นฉนวนก็ไม่ดี แต่ก็เป็นได้ทั้งสื่อนำและฉนวนกั้นกระแสไฟในตัว สารกึ่งตัวนำนี้ใช้ทำทรานซิสเตอร์ หรือวงจรรวม (integrated circuit) สารชนิดที่รู้จักกันดีในการนำมาทำเป็นสารกึ่งตัวนำในปัจจุบัน นี้คือ ซิลิคอน (silicon) และเจอมาเนียม (germanium)
ฟิล์มบางเป็นวัสดุชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล หรืออาจใช้ทำหน่วยความจำหลัก เลย เรียกว่า thin-film memory สามารถเรียกหาข้อมูลได้เร็วมาก โดยปกติจะมีขนาด 1/20 ตารางนิ้ว มีความหนาไม่ ถึง 1 ไมครอน ใช้แทนทรานซิสเตอร์ได้เป็นพัน ๆ ตัว
(แทรนซิส'เทอะ) n. ทรานซิสเตอร์