Search result for

กลองทัด

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -กลองทัด-, *กลองทัด*
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กลองทัดน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีรูปทรงกระบอก ตรงกลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนัง ๒ หน้า มีหูเรียกว่า หูระวิง สำหรับร้อยไม้ขาหยั่ง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ ชุดหนึ่งอาจมี ๒-๓ ใบ, ถ้าใช้ใบเดียวแขวนที่หอกลองในวัด เรียกว่า กลองเพล.
กลอง(กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
กลองชาตรีน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มี ๒ หน้า รูปร่างลักษณะคล้ายกลองทัดแต่เล็กกว่ามาก ตีด้วยไม้ ๒ อัน เช่นเดียวกับกลองทัด แต่วิธีการตี ลักษณะของไม้ตี และเสียงจะแตกต่างจากกลองทัด ใช้ร่วมในวงปี่พาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า ปี่พาทย์ชาตรี ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดออกภาษาหรือสิบสองภาษา และใช้ประกอบการบรรเลงในเพลงทำนองตะลุง กลองชาตรีมักใช้บรรเลงคู่กับโทน เรียกว่า โทนชาตรี มีชื่อเรียกตามเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตุ๊ก.
กลองตะโพนน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ใช้ตะโพนไทย ๒ ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออกแล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีอย่างกลองทัด นิยมใช้ตีแทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หรือเพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวลเมื่อบรรเลงภายในห้องหรืออาคาร.
กลองติ๋งน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างและการตีเหมือนกับกลองทัด แต่มีขนาดเล็กกว่าและเสียงสูงกว่า ใช้บรรเลงผสมวงปี่พาทย์รวมกับกลองทัดในการแสดงหนังใหญ่เท่านั้น.
กลองเพล(-เพน) น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
กลองโมงครุ่มน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนัง ๒ หน้า ตีทั้งสองหน้าโดยใช้ไม้กำพดตี ใช้ตีในการละเล่นสมัยโบราณ.
เครื่องห้า ๒น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง.
ทัด ๓น. ชื่อกลองชนิดหนึ่งที่ขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
เบญจดุริยางค์น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑.
ปี่พาทย์เครื่องคู่น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว).
ปี่พาทย์เครื่องห้าน. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง.
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน).
ปี่พาทย์นางหงส์น. วงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคล เรียกชื่อตามเพลงซึ่งใช้เป็นหลักในการบรรเลง คือ เพลงเรื่องนางหงส์ อัตรา ๒ ชั้น การประสมเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ธรรมดาประสมกับวงบัวลอย แต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนหรือกลองทัด.
พิณพาทย์น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์.

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
กลองทัด[kløng that] (n, exp) EN: double-headed drum

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top