เพราะ | (adj) melodious, See also: tuneful, Syn. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, Example: ฉันชอบเพลงนี้ตรงที่มีทำนองเพราะน่าฟัง ไม่ได้ชอบที่ตัวคนร้อง |
เพราะ | (conj) because, Syn. เพราะว่า, Example: ี่รัฐบาลตัดสินใจสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยให้ยืดเยื้อย่อมกระทบต่อการลงทุนของต่างชาติ, Thai Definition: คำสำหรับนำหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ |
เพราะหู | (adj) melodious, See also: agreeable to the ear, pleasing to the ear, sweet sounding, tuneful, Thai Definition: น่าฟัง, เสนาะ |
ฟังเพราะ | (adj) melodious, See also: tuneful, harmonious, Syn. ไพเราะ, เพราะ, เสนาะ |
เพราะว่า | (conj) because, See also: because of, Syn. เพราะ, Example: ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์หลายฉบับต้องปิดกิจการลง เพราะว่าเกิดภาวะการขาดทุน, Thai Definition: คำสำหรับนำหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ |
เพราะอะไร | (ques) why, Example: เพราะอะไรเธอถึงตัดสัมพันธ์กับเขา, Thai Definition: คำถามที่ต้องการเหตุผล |
ก็เพราะว่า | (conj) because, See also: as, since, Syn. เพราะว่า, เพราะ, Example: ผู้สมัครรับเลือกตั้งยอมรับว่าหัวคะแนนเป็นสิ่งจำเป็นก็เพราะว่าหัวคะแนนเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ชิดหรือเป็นผู้นำของชุมชนท้องถิ่น |
เพราะฉะนี้ | (conj) therefore, See also: for this reason, wherefore, hence, consequently, in consequence, so, as, Syn. ด้วยเหตุนี้, เหตุดังนี้, Example: งานใหม่ได้เงินไม่ดีเท่าไหร่เพราะฉะนี้ฉันจึงต้องกลับมาทำงานที่เดิมที่ให้เงินดีกว่า, Thai Definition: คำเชื่อมสำหรับนำหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป |
เพราะพริ้ง | (adj) melodious, See also: pleasing to the ear, sweet sounding, agreeable to the ear, tuneful beautiful sound, Syn. ไพเราะ, เสนาะ, ไพเราะเพราะพริ้ง, Example: แม้วัยจะปูนนี้ แต่เขาก็ยังชอบฟังเสียงอันเพราะพริ้งของนักร้องสาวๆ อยู่เสมอ, Thai Definition: ที่น่าฟัง |
เพราะพริ้ง | (adv) melodiously, See also: tunefully, Syn. ไพเราะ, เสนาะ, ไพเราะเพราะพริ้ง, Example: เขาเป็นนักดนตรี ที่สีซอสามสายได้เพราะพริ้งอย่างยากที่จะหาคนเทียบได้, Thai Definition: อย่างน่าฟัง |
เพราะฉะนั้น | (conj) so, See also: for that reason, wherefore, hence, consequently, in consequence, therefore, as, Syn. ดังนั้น, ด้วยเหตุนั้น, Example: ลูกไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับแม่ เพราะฉะนั้นลูกต้องถูกลงโทษตามที่ตกลงกันไว้, Thai Definition: คำเชื่อมสำหรับนำหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป |
เพราะเหตุใด | (ques) why, Syn. ทำไม, ไฉน, เพราะอะไร, Example: เพราะเหตุใดพระพุทธรูปนาคปรกเหล่านี้จึงแพร่หลายมากในสกุลช่างบางสกุล, Thai Definition: คำถามที่ต้องการทราบถึงเหตุผล |
เพราะเหตุไร | (ques) why, See also: for what reason, for what cause, Syn. เพราะอะไร, ทำไม, ด้วยเหตุใด, เพราะเหตุใด, Example: เธอคิดฆ่าตัวตายจากโลกนี้ไปเพราะเหตุไร ทั้งๆ ที่เธอก็มีพร้อมทุกอย่าง, Thai Definition: คำถามที่ต้องการความที่อธิบายสาเหตุ |
ทั้งนี้เพราะ | (conj) because of, See also: owing to, as a result of, due to, Syn. เพราะ, เนื่องจาก, Example: เขาเลือกที่จะเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้เพราะต้องการตามใจผู้ปกครอง |
เพราะเหตุนี้ | (conj) for this reason, See also: therefore, wherefore, hence, consequently, in consequence, so, as, Syn. ด้วยเหตุนี้, เพราะฉะนี้, Example: ตำรวจปล่อยให้คดีคาราคาซังอยู่ เพราะเหตุนี้จึงมีข้อสรุปว่าคดีนี้หนีไม่พ้นเป็นเรื่องการเมือง, Thai Definition: คำเชื่อมสำหรับนำหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป |
เพราะเช่นนั้น | (conj) therefore, See also: so, thus, for that reason, Syn. ดังนั้น, เพราะฉะนั้น, Example: เขาไม่อยากจะเผชิญหน้ากับผม เพราะเช่นนั้นเขาจึงหลีกเลี่ยงผมทุกวิถีทาง, Thai Definition: คำเชื่อมแสดงเหตุและผลของความ |
เพราะเหตุอะไร | (ques) why, See also: wherefore, for what reason, Syn. เพราะอะไร, เพราะเหตุใด, Example: เพราะเหตุอะไรพวกเราจึงพากันภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของตำนานปัญญาประดิษฐ์กันนัก |
เป็นกษัตริย์ต่อเนื่องแทน | |
แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน | ว. มีอายุมากแต่ไม่มีประโยชน์. |
ปลาหมอตายเพราะปาก | น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย. |
เพราะ ๑ | ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ. |
เพราะ ๒ | สัน. ด้วย, เหตุ, เพื่อ. |
เพราะฉะนั้น | สัน. คำสำหรับนำหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป. |
เพราะว่า | สัน. คำสำหรับนำหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ. |
หมองูตายเพราะงู | น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
ก้นกระดก | ว. ลืมตัวเพราะถูกเยินยอ. |
ก้นขบ | น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Cylindrophis ruffus (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กรรมขัย | (กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ). |
กรรมเวร | คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. |
กร่อย | (กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย. |
กระฉอก | ก. อาการที่ของเหลวเช่นนํ้าเป็นต้นกระเพื่อมอย่างแรงหรือล้นหกเพราะความสั่นสะเทือน, (ปาก) กระดอนหรือกระเด้ง เช่น ลูกบอลกระฉอกออกจากมือผู้รักษาประตู. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระดาก ๑ | ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าทำเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย. |
กระเด็น | ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็วเพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง. |
กระโดก | ว. อาการที่ของลอยในน้ำเช่นเรือโอนไปโอนมาหรือยกขึ้นยกลง เนื่องจากแรงกระเพื่อมของน้ำ เช่น เรือกระโดกเพราะถูกคลื่นซัด. |
กระโดดโลดเต้น | ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลาย ๆ ครั้งเพราะความดีใจเป็นต้น. |
กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. |
กระเทือนใจ | ก. ไม่สบายใจเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ, สะเทือนใจ ก็ว่า. |
กระเทือนซาง | ก. เป็นทุกข์กังวลเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบความรู้สึกอย่างรุนแรง เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง. |
กระแทกแดกดัน | ว. อาการที่กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ. |
กระปรอก ๑, กระปอก ๑ | น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สำหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ. |
กระปรี้กระเปร่า | ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกำลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ. |
กระเป๋าฉีก | ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย. |
กระแสง ๑ | น. เสียงเพราะมีกังวาน เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส (ประถม ก กา). |
กระเหม็ดกระแหม่ | (-แหฺม่) ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้. |
กระเหว่า | (-เหฺว่า) น. นกดุเหว่า เช่น กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว (โลกนิติ), กาเหว่า ก็ว่า. (ดู ดุเหว่า). |
กระอึกกระอัก | ว. อึกอัก, อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่าเป็นต้น, อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า. |
กลัว | (กฺลัว) ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้. |
กล่าวเกลี้ยง | ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก (เสือโค). |
กลืนเลือด | ก. กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น แม้จะแค้นหัวหน้าพวกเขาก็ยอมกลืนเลือด เพราะยังต้องพึ่งพาหัวหน้าคนนี้อยู่. |
ก๊วน | น. กลุ่มคนที่สนิทสนมและร่วมทำกิจกรรมเดียวกันเป็นประจำ เช่น เขาสนิทกับรัฐมนตรีคนนี้เพราะเล่นกอล์ฟก๊วนเดียวกัน |
กะซวก | กินอย่างรวดเร็วเพราะหิว เช่น กะซวกก๋วยเตี๋ยวไป ๓ ชาม. |
กะโล่ยาชัน | ว. อาการที่หน้าบานเพราะถูกใจหรือบวมมากเพราะถูกตบเป็นต้น เรียกว่า หน้าบานเป็นกะโล่ยาชัน หรือ หน้าบวมเป็นกะโล่ยาชัน. |
กางเกงชาวเขา | น. กางเกงแบบชาวเขานุ่ง เป็นกางเกงที่มีเป้ายานลงมา ทำให้ทรงกางเกงดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เช่น ฉันชอบกางเกงชาวเขาเพราะนุ่งสบายดี. |
การเวก ๑ | (การะ-) น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป. |
กาลสมุตถาน | (กาละสะหฺมุด-) น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. |
กำปั้นทุบดิน | น. ลักษณะการตอบที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ผู้ถามต้องการรู้ เช่น ฉันถามว่า “ทำไมนาฬิกาไม่เดิน” เขาตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันตายน่ะซิ”. |
กำแพงเขย่ง | (-ขะเหฺย่ง) น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก. |
กินข้าวลิง | ก. กินสิ่งที่พอจะหาได้ เพราะไปตกอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหารจะกิน เช่น ไปเที่ยวป่าคราวก่อน หลงทางอยู่นาน เกือบจะต้องกินข้าวลิงเสียแล้ว. |
เกย ๒ | นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. |
เกราะ ๔ | (เกฺราะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑), เขียนเป็น เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา). |
เกลาะ | (เกฺลาะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา), เขียนเป็น เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
เก้อ | ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทำอะไรผิดพลาดไป เช่น ทำหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ |
เก้อ | ขัดเขินหรือค้างอยู่เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รำเก้อ เรือนหลังนี้ทำไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน. |
เกาต์ | น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไปเป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทำให้มีอาการบวมและปวด. |
เกินกิน | ว. กินไม่ดีเพราะแก่เกินไป เช่น อ้อยท่อนนี้แก่เกินกิน. |
Instructional Media | สื่อการเรียนการสอน, คำนี้นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่า "สื่อการเรียน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ ที่เรานำมาใช้นั้นเพื่อการศึกษา หรือเพื่อช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนนักการศึกษาบางท่านจะใช้คำ "สื่อการสอน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ นั้น เป็นตัวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน<br />สื่อการเรียนการสอนนี้ ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้หลายท่านด้วยกัน แต่พอจะสรุปความได้คือ "สื่อการเรียนการสอน" หมายถึง วัสดุ เครื่องมือ ตลอดจนถึงวิธีการต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยถ่ายทอดความรู้ จากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Eclampsia | การชักเพราะครรภ์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Contamination | การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ [นิวเคลียร์] |
Radioactive contamination | การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้, Example: [นิวเคลียร์] |
system | ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback) [คอมพิวเตอร์] |
Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] |
Diabetic nephropathies | ไตเปลี่ยนแปลงเพราะเบาหวาน [TU Subject Heading] |
Diabetic retinopathy | จอตาเปลี่ยนแปลงเพราะเบาหวาน [TU Subject Heading] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Certificate of Identity (C.I.) | หนังสือสำคัญประจำตัว จะออกให้แก่คนไทยในต่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดย รีบด่วน หากแต่ไม่มีหนังสือเดินทาง เพราะสูญหายหรือปล่อยให้ขาดอายุนาน แต่ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต่ออายุหรือออกหนังสือเดินทางให้ใหม่ [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Freedom of Movement of Member of Consular Post | เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล? [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Placement | หมายถึง วิธีจัดที่นั่งโต๊ะในการเลี้ยงอาหารสำหรับนักการทูต โดยคำนึงถึงลำดับอาวุโส เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกขุ่นเคืองหรือหัวเสีย เรื่องการจัดที่นั่งในการเลี้ยงอาหารโดยคำนึงถึงลำดับอาวุโสนี้ นักการทูตส่วนใหญ่ไม่ว่าที่ไหน มักจะถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ ฝ่ายที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดที่นั่งเช่นนี้ได้แก่ กรมพิธีการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนลำดับของอาวุโสก็ถือตามวันเวลาที่นักการทูตแต่ละคนได้เข้าประจำตำแหน่ง ที่ในประเทศผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่เข้าประจำตำแหน่งก่อนก็คือผู้ทีมีอาวุโสกว่าผู้ที่มาประจำตำแหน่ง หน้าที่ทีหลัง [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
จุดวาบไฟ | จุดวาบไฟ, อุณหภูมิต่ำสุดน้ำมันที่ทำให้เกิดไอน้ำมันเป็นปริมาณมากพอ เมื่อสัมผัสเปลวไปก็จะทำให้ลุกไหม้ทันที จุดวาบไฟไม่มีผลต่อคุณภาพหรือการใช้งานโดยตรง หากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อความปลอดภัยจากการเกิดอัคคีภัย การเก็บรักษาและขนถ่าย เพราะถ้าเกินอุณหภูมิจุดนี้ไปแล้วจะเป็นจุดติดไฟ [ปิโตรเลี่ยม] |
Compression moulding | การขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอัดเป็นวิธีการขึ้นรูปที่ใช้กันมากที่สุด ในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอื่น ๆ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนทางด้านเครื่องจักรสูง เพราะแม่พิมพ์และเครื่องอัดมีราคาไม่สูงมากนัก เครื่องอัดที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องอัดระบบไฮดรอลิค การผลิตเริ่มจากการนำยางคอมพาวด์มาวางในแม่พิมพ์ที่ร้อน ปิดแบบแม่พิมพ์ อัดด้วยความร้อนและความดันภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ยางจะเกิดการวัลคาไนซ์และคงรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นถอดออกจากแม่พิมพ์ จะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ [เทคโนโลยียาง] |
Internal mixer | เครื่องผสมยางระบบปิดเป็นเครื่องผสมยางที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เครื่องผสมยางระบบปิดมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนได้แก่ ห้องผสม (chamber) ตัวบดผสม (rotor) แท่งกด (ram) และระบบหล่อเย็น (cooling system) เครื่องผสมระบบปิดให้ประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการผสมมากกว่าการใช้ Two-roll mill เพราะสารเคมีไม่ฟุ้งกระจายระหว่างการผสม ลดการสูญเสียสารเคมีขณะผสม และลดการผิดพลาดเนื่องจากการใช้แรงงานคนในการผสมสามารถผสมยางกับสารเคมีได้ ในปริมาณสูง เช่น 50-100 กิโลกรัม [เทคโนโลยียาง] |
Oscillating disc rheometer | เครื่องมือที่ใช้ในการหาเวลาที่ยางเกิดการคงรูป (หรือหาอัตราเร็วของการเกิด ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน) โดยวัดค่าความแข็งที่เพิ่มขึ้นของยางคอมพาวด์เมื่อเกิดการวัลคาไนซ์จากการ สั่นของตัววัด (Disc) ภายในช่องวัด (Chamber) เครื่องมือชนิดนี้มีความสำคัญมากต่อโรงงานอุตสาหกรรมยาง เพราะนอกจากเครื่อง ODR จะช่วยบอกระยะเวลาที่ทำให้เกิดยางตายหรือที่เรียกในภาษาเทคนิคว่า “scorch time” แล้ว เครื่องมือนี้ยังบอกระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบยางให้คงรูป (optimum cure time)อีกด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Abortion, Therapeutic | แท้งที่กระทำเพื่อการรักษา, การทำแท้งเพื่อรักษา, การทำแท้งเพราะมารดามีความเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะจะตั้งครรภ์, การแท้งที่ต้องทำเพื่อรักษา, การทำแท้งเมื่อมีข้อบ่งทางแพทย์, การทำแท้งเพื่อการรักษา, ทำแท้งเพื่อการรักษา, การทำแท้งเมื่อมีข้อบ่งทางการแพทย์, การทำให้แท้งเพื่อการรักษา [การแพทย์] |
Acidosis, Diabetic | อะซิโดซิสเพราะเบาหวาน; กรดมากจากเบาหวาน, ภาวะ [การแพทย์] |
Alkalosis, Metabolic | การเกิดด่างจากเมตาบอลิสม, ด่างจากเมตาบอลิสม, ภาวะด่างจากเมตาโบลิสม, เมตาบอลิกอัลคาโลสิส, เมตาบอลิคแอลคาโลสิส, เลือดเป็นด่างเกินเพราะไบคาร์บอเนตลด [การแพทย์] |
Amenorrhea, Prolactin Induced | ขาดระดูเพราะโปรแลคตินสูงในเลือด [การแพทย์] |
Anemia, Hemolytic | โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแตก; โรคโลหิตจางเพราะมีการทำลายเม็ดเลือด; เลือดจาง, เฮโมลัยติค; โลหิตจาง; เลือดจางเฮโมลิติก; เลือดจางฮีโมลัยติก; โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก; โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกทำลาย; โลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก; โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก; เลือดจางจากเม็ดเลือดแตก; โลหิตจางจากการทำลายเม็ดเลือดแดง; โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก; โลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงแตก; โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก; โรคซีด [การแพทย์] |
Anemia, Iron Deficiency | โลหิตจางเนื่องจากการขาดเหล็ก, โลหิตจางเนื่องจากขาดเหล็ก, โลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก, โลหิตจางจากการขาดสารเหล็ก, โลหิตจางขาดสารเหล็ก, เลือดจางเพราะขาดเหล็ก, โรคซีดที่มีการขาดเหล็ก, โรคเลือดจางจากการขาดเหล็ก, โรคโลหิตจางขาดสารเหล็ก, โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, โลหิตจางชนิดขาดเหล็ก, อาการแสดงของโลหิตจาง, ซีดจากการขาดเหล็ก, โลหิตจางจากการขาดเหล็ก, โลหิตจางที่เกิดจากการขาดเหล็ก [การแพทย์] |
Anoxia, Ischemic | การขาดออกซิเจนเพราะขาดเลือด [การแพทย์] |
Anxiety Attacks, Acute | ความกระวนกระวายใจอย่างมากเพราะประสาทเครียด [การแพทย์] |
as | (conj) เนื่องจาก, See also: เพราะว่า, Syn. because, since, inasmuc as |
balls up | (vt) ทำให้ล้มเหลวเพราะทำพลาดหรือผิดกฎ |
balls-up | (n) ความล้มเหลวเพราะทำพลาดหรือผิดกฎ, Syn. foul-up, cock-up |
bathed | (adj) ซึ่งเปียกชุ่มเพราะเหงื่อหรือน้ำตา |
becalmed | (adj) (เรือที่มีใบเรือ) แล่นไม่ได้เพราะไม่มีลม |
because | (conj) เพราะว่า, See also: ด้วยเหตุที่, Syn. since |
because of | (conj) เนื่องจาก, See also: เพราะ, Syn. since |
biting | (adj) เจ็บปวดเพราะหนาวมาก, Syn. piercing |
bleary | (adj) มองเห็นไม่ชัดเจนเพราะง่วง |
blench | (vi) ถอยหนีเพราะความกลัว, See also: ถอยหลังเพราะความกลัว, Syn. recoil |
bloated | (adj) ซึ่งขยายตัวเพราะเต็มไปด้วยก๊าซหรือของเหลว |
bloodshot | (adj) ตาแดงก่ำเพราะเส้นเลือดฝอยแตก |
blush | (n) การหน้าแดงเพราะเขินอาย, Syn. redden, flush |
blush | (vi) อาการหน้าแดงเพราะเขินอาย, See also: เขินอาย, ละอาย, Syn. flush |
boggle | (vi) รีรอที่จะทำสิ่งหนึ่งเพราะกลัวหรือกังวล |
boulder | (n) หินขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นรูปร่างต่างๆ เพราะน้ำ/อากาศ |
bracing | (adj) ทำให้มีพลังงานหรือสดชื่น (เพราะความเย็น) |
bronzed | (adj) ซึ่งมีผิวสีน้ำตาลเพราะโดนแสงอาทิตย์ (ผิวสีแทน) |
be beside oneself | (phrv) ตื่นเต้นมาก (เพราะโกรธหรือมีความสุข), See also: ตื่นเต้น |
be out | (phrv) หยุดทำงาน (เพราะขัดแย้ง), See also: หยุดงานประท้วง, Syn. bring out |
be rained out | (idm) เลื่อนเพราะฝนตก |
black out | (phrv) ปิดข่าว (เพราะเหตุผลทางการเมือง), Syn. blacken out |
blacken out | (phrv) ปิดข่าว (เพราะเหตุผลทางการเมือง), Syn. black out |
blunder away | (phrv) สูญเสียเพราะทำผิดพลาด |
bounce out | (phrv) โยนออก (เพราะทำความผิด), See also: เตะออกไป, ถีบออกไป, Syn. throw out |
burn out | (phrv) ทำให้ไร้ที่อยู่อาศัยเพราะไฟไหม้ |
by dint of | (idm) เนื่องจาก, See also: เป็นเพราะว่า |
by virtue of | (idm) เนื่องจาก, See also: เพราะว่า |
careworn | (adj) ที่ดูเหนื่อยเพราะมีเรื่องกังวลมาก, Syn. drawn, haggard, worn, Ant. rested |
color | (n) ใบหน้าที่มีสีแดงเพราะสุขภาพดี, See also: ใบหน้ามีเลือดฝาด, Syn. blush, flush |
colour | (n) ใบหน้าที่มีสีแดงเพราะสุขภาพดี, See also: ใบหน้ามีเลือดฝาด, Syn. blush, flush |
compulsive | (adj) ที่ต้องทำเพราะถูกบังคับ |
cook | (vi) อึดอัดเพราะอากาศร้อน, See also: รู้สึกร้อนระอุ |
creep | (vi) แสดงถึงการยอมหรือกลัว, See also: งุ้มตัวเพราะยอมหรือกลัว, Syn. cringe, fawn |
catch off | (phrv) ทำให้แปลกใจ (เพราะคาดไม่ถึง), Syn. throw off |
chicken out | (phrv) กลัว, See also: ตัดสินใจไม่ทำบางสิ่งเพราะว่ากลัว |
chuck out | (phrv) หลบหนี (เพราะมีความผิด) (คำไม่เป็นทางการ) |
complain of | (phrv) เป็นทุกข์เพราะ, See also: ทุกข์ทรทานจาก, Syn. suffer from |
count out | (phrv) ออกจากการเลือกตั้งเพราะเสียงสนับสนุนไม่ถูกต้อง |
cow someone into submission | (idm) บังคับให้เห็นด้วย, See also: เห็นพ้องด้วยเพราะว่ากลัว |
cry out | (phrv) ร้องเสียงดัง (เพราะเจ็บปวด, ประหลาดใจฯลฯ), Syn. call out, roar out, shout out |
cry over | (phrv) ร้องไห้เพราะ, Syn. cry for |
deaden with | (phrv) ทำให้ชาเพราะ (ปกติใช้รูป passive voice), See also: ทำให้ไร้ความรู้สึกเพราะ |
die by | (phrv) ตายเพราะ, See also: ตายจาก, Syn. die from, die of |
die by one's own hand | (idm) ฆ่าตัวเอง, See also: ตายเพราะตัวเอง, ฆ่าตัวตาย |
die from | (phrv) ตายเพราะ, See also: ตายเนื่องจาก, Syn. die by, die of |
die of | (phrv) ตายเนื่องจาก, See also: ตายเพราะ, Syn. die by, die from |
die of a broken heart | (idm) ตายด้วยความตรอมใจ, See also: ตายเพราะความเศร้าใจ |
dismiss for | (phrv) ไล่ออกจาก (งาน, สถานที่) เพราะ, See also: ขับออกเพราะ |
do something to death | (idm) ไม่มีผลเพราะทำบ่อยเกินไป |
abasia | (อะเบ' เชีย) การที่ไม่สามารถจะเดินได้เพราะขาดการประสานกันของกล้ามเนื้อ |
abc | (เอบีซี) ย่อมาจาก Atanasoff-Berry Computer ว่ากันว่า เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก (หนังสือบางเล่มว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC) ศาสตราจารย์ John Atanasoff แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา และ Clifford Berry เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเอบีซีนี้เมื่อราวทศวรรษ 1940 ABEND การหยุดงานผิดปกติ <คำแปล>ย่อมาจาก abnormal end of task หมายถึงการหยุดงานที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุดในโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักจะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสั่งให้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใด แล้วไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะเป็นเพราะเครื่องเสีย หรือโปรแกรมผิดพลาด |
agnostic | (แอกนอส' ทิค) n., adj. ผู้ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพราะไม่มีใครที่รู้จริง, ผู้ไม่เชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งแน่นอนที่สุดในบาง อย่าง (ทฤษฎีอวิชชา) |
algol | (แอล' กอล) n. Algo (rithmic) L (anguge) เป็นภาษาหนึ่งในการทำ programming ของระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมาจากคำว่า ALGOrithmic Language เป็นภาษาที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันนี้ ภาษานี้เกือบจะไม่มีใช้แล้ว เพราะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็ถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของ ภาษาปาสกาล (Pascal) |
alias | (เอ' ลิแอส) 1. n., (pl. -ases) นามแฝง, สมญานาม. -adv. มีนามแฝงว่า, Syn. pseudonym 2. สมนาม คอมพิวเตอร์แมคอินทอชที่ใช้ System 7 มีคำสั่ง Make Alias ใต้เมนู File คำสั่งนี้ใช้สำหรับสร้างสัญรูป icon อีกอันหนึ่งของแฟ้มข้อมูลที่เลือกไว้ แฟ้มใหม่นี้จะมีคำ alias ต่อท้ายชื่อเดิม หากเมื่อใดมีการแก้ไขแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง โดยเรียกมาทำในจอภาพ แล้วสั่งบันทึกเก็บลงในจานบันทึก การแก้ไขนั้นก็จะมีผลต่อแฟ้มสมนามนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะอันที่จริงแล้ว สัญรูปสมนามนั้นไม่ว่าจะมีสักกี่อัน จะโยงถึงแฟ้มข้อมูลอันเดียวกันทั้งสิ้น ดู duplicate เปรียบเทียบ |
apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ |
apple iii | (แอปเปิลทรี) เป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชุดแอปเปิลที่ผลิตตามหลังชุดทู แต่แล้วก็ต้องยกเลิก เพราะไม่ติดตลาด ปัจจุบันแทบจะไม่มีใครใช้คอมพิวเตอร์ชื่อนี้อีกแล้ว (ดู Apple II ประกอบ) |
arc | (อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง, ความโค้ง, สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง, สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve, arch, bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress) |
ashamed | (อะเชมดฺ') adj. อับอาย, กระดากใจ, ไม่เต็มใจเพราะกลัวถูกหัวเราะหรือต่อว่า, Syn. embarrassed, shamefaced, Ant. proud |
atm. | abbr. 1. atmosphere, atmospheric 2. (เอทีเอ็ม) ย่อมาจาก automatic teller machine แปลว่า เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงิน ได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
autoexec.bat | ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis : |
automatic teller machine | เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ <คำแปล>นิยมใช้ตัวย่อว่า ATM หมายถึง เครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงินได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
backup | (แบค'อัพ) n. ผู้สนับสนุน, สิ่งค้ำจุน, การท่วมหรือสะสมเพราะอุดตัน, ตัวสำรอง, ตัวแทน |
bad sectors | ส่วนวงเสียหมายถึงส่วนวงในร่องที่ใช้บันทึกข้อมูลบนแผ่นจานบันทึกเสีย ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงไปเก็บได้ คอมพิวเตอร์จะแสดงข้อความนี้บนจอภาพเมื่อสั่งให้อ่านหรือบันทึกข้อมูล แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดกรณีนี้ขึ้น |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
beachball pointer | ลูกบอลล์ชายหาด <คำแปล>หมายถึง สัญลักษณ์ที่ปรากฏบนจอภาพของเครื่องแมคอินทอช ที่จะทำให้ผู้ใช้รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ทั้ง ๆ ที่เรามองไม่เห็นการทำงานใด ๆ เลย ที่เรียกว่า ลูกบอลล์ชายหาด ก็คงเพราะว่า รูปร่างหน้าตาของสัญลักษณ์นี้มีรูปลักษณะอย่างนั้นจริง ๆ กล่าวคือเป็นรูปลูกบอลล์ |
because | (บิคอซ') conj., adv. เพราะ, เป็น, เพราะ, เพราะเหตุว่า -Conf. because of, that |
boilerplate | ต้นแบบหมายถึง เอกสารประเภทหนึ่งที่ทำเอาไว้เป็นแบบ เรียกว่า boilerplate document นิยมนำมาใช้ในเวลาที่รีบร้อน ไม่มีเวลาคิดหาถ้อยคำเพราะ ๆ เช่น บัตรเชิญ จดหมายขอบคุณ จดหมายแสดงความยินดี แสดงความเสียใจ หรือ สัญญาต่าง ๆ เมื่อนำมาใช้ ก็เพียงแต่เปลี่ยนข้อความให้เหมาะกับสถานการณ์เท่านั้นมีความหมายเหมือน template |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
burnout | n. การไหม้เกลี้ยง, การดับเพราะเชื้อเพลิงหมด, การสูญสิ้น |
cache | (แค?) { cached, caching, caches } n. ที่ซ่อน, ที่เก็บ, สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน, เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
cam | (แคม) 1. n. ลูกเบี้ยว, ล้อนูน 2. ย่อมาจาก computer-aided manufacturing (การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตในโรงงาน เช่นการควบคุมจำนวนสินค้าที่ผลิต หรือ ควบคุมการทำงานแต่ละส่วน เช่น การนับและการบรรจุ เป็นต้นดู CAD ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
carbon ribbon | ผ้าหมึกพิมพ์หมายถึง แถบผ้าหมึกที่ใช้ในเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) ผ้าหมึกนี้จะเป็นตัวทำให้ตัวหนังสือชัดหรือจาง ถ้าเมื่อใด ตัวหนังสือที่พิมพ์จาง ลองตรวจสอบดูผ้าหมึกพิมพ์ เพราะผ้าหมึกพิมพ์อาจจะเก่า ให้จัดการเปลี่ยนใหม่ |
card code | รหัสบัตรหมายถึง รหัสที่ใช้กับบัตร มีลักษณะเป็นรูสี่เหลี่ยมที่เจาะในแต่ละคอลัมน์ของบัตร เช่น ถ้าเจาะตำแหน่งคอลัมน์ที่ 12 และ 1 หมายถึงอักษร A ถ้าเจาะที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 0 และ 9 หมายถึงอักษร Z เป็นต้น รหัสนี้บางทีเรียกรหัสฮอลเลอริท (Hollerith code) เพราะดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Dr. Hermann Hollerith) เป็นผู้กำหนดไว้ ดู card ประกอบ |
card jam | บัตรติดขัดหมายถึง การที่บัตรเกิดสับสนขึ้นภายในเครื่องอ่านบัตร (card reader) ซึ่งอาจเกิดจากการเจาะไม่ตรงรู บัตรยับหรือขาด เมื่อเครื่องอ่านบัตรอ่านมาถึงบัตรนั้นก็จะหยุด เพราะอ่านต่อไปไม่ได้ ดู card reader ประกอบ |
casette tape | ตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
chicken | (ชิค'เคิน) n. ลูกไก่, ลูกนก, ลูกเป็ด, เด็ก, ผู้ที่อายุน้อย, ผู้ที่ด้อยประสบการณ์, เนื้อไก่, เนื้อนก, เนื้อเป็ด. -adj. ทำด้วยเนื้อไก่ -vi. chicken out หดหนีหรือไม่ทำเพราะความกลัว, Syn. sissy |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
cis- | 1. Pref. อยู่ทางด้านใกล้ 2. (สิส) ย่อมาจาก CompuServe Information Services หมายถึง งานบริการข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) การใช้บริการดังกล่าว กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก รวดเร็วกว่าการหาข้อมูลด้วยตนเอง (ว่ากันว่า การที่ใช้เครื่องหมาย $ แทนตัว s ธรรมดา อาจจะเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า รายการนี้ขอฟรี ๆ กันไม่ได้ จะต้องมีการจ่ายค่าบริการ) ดู CompuServe ประกอบ |
computer aided manufactur | การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAM (อ่านว่า แคม) มักใช้คู่กับแคด หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตในโรงงาน เช่นการควบคุมจำนวนสินค้าที่ผลิต หรือ ควบคุมการทำงาน แต่ละส่วน เช่น การนับ และการบรรจุ เป็นต้นดู CAD ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |
computerize | (-พิว'ทะไรซ) vt. คำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์, See also: computerization n. ทำให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์หมายถึง งานต่าง ๆ ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วย แทนที่จะทำด้วยมือ Manual ซึ่งจะให้ผลที่รวดเร็ว แน่นอน และมีความผิดพลาดน้อย ตัวอย่างเช่นการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด ย่อมจะสู้การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะเร็วกว่า แก้ไขง่ายกว่า เก็บบันทึกไว้ใช้ใหม่ก็ได้ เป็นต้น |
conscience | (คอน'เชินซฺ) n. สติรู้ผิดรู้ชอบ, สติสัมปชัญญะ, หิริโอตตัปปะ, ความกลัวบาป -Phr. (for conscience's sake เพราะมีความบริสุทธิ์ใจ) -Phr. (in all conscience แน่นอน อย่างไม่ต้องสงสัย โดยเหตุผล) -Conf. conscious -Conf. conscientous, conscious |
consequently | (คอน'ซะเควินทฺลี) adv. ผลที่สุดก็คือ, เพราะฉะนั้น, Syn. hence, therefore -Conf. subsequently |
control card | บัตรควบคุมหมายถึง บัตรซึ่งบรรจุข้อความที่เป็นภาษาควบคุมงานซึ่งได้มีการกำหนดไว้เป็นรหัสเป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ กัน หรือใช้กับงานชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรควบคุม อาจจะเป็นตัวบอกว่า โปรแกรมหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปจะเป็นภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล หรือภาษาอื่น ๅ บัตรควบคุมอาจทำให้รู้ได้ว่างานนี้เป็นงานของนิสิต หรือเป็นงานของนักวิจัยทั่วไป เพราะบางทีอาจมีการกำหนดข้อห้ามบางอย่างสำหรับงานของนิสิตไว้ในระบบ ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้บัตรแล้ว คำนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปด้วยดู card (บัตร) |
ctrl+alt+del | (เริ่มเครื่องใหม่) <ความหมาย>แป้น CTRL, ALT, DEL ล้วนเป็นแป้นพิมพ์พิเศษของเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม หรือ เครื่องที่ทำเลียนแบบไอบีเอ็ม เมื่อกดทั้งสามแป้นนี้พร้อมกันแล้ว จะเท่ากับสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้น การทำเช่นนี้เรียกว่า "warm boot" จะเหมือนกับการปิดแล้วเปิดสวิตซ์ที่เครื่องใหม่ (cold boot) ในกรณีเช่นที่ว่านี้ ถ้ามีแฟ้มข้อมูลที่กำลังทำอยู่ ข้อมูลจะหายไปหมด เพราะไม่ได้สั่งเก็บหรือบันทึก |
ddt | (ดีดีที) ในความหมายทั่วไป คำนี้หมายถึง "ยาฆ่าแมลง" นำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ เป็นคำแสลงหมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในโปรแกรมในกรณีที่มีมาก ๆ (ทั้งนี้เพราะในการเขียนโปรแกรมนั้น เราเรียกจุดบกพร่องในโปรแกรมว่า แมลง หรือ bug โดยปกติแล้ว การแก้ไขธรรมดา ๆ จะใช้คำว่า debug) |
debug | แก้จุดบกพร่องหมายถึง การขจัดปัญหาและจุดบกพร่องต่าง ๆ ในโปรแกรมให้หมดไป ก่อนที่จะนำโปรแกรมนั้นไปใช้ ที่ใช้ศัพท์คำนี้เพราะนักเขียนโปรแกรมจะเรียก จุดบกพร่องของโปรแกรมว่า bug ดู bug ประกอบ |
decrepit | (ดิเครพ'พิท) adj. อ่อนกำลังด้วยวัยชรา, ชรา, แก่ตัว, เก่าแก่, เสื่อมเพราะการใช้มาก, Syn. feeble |
default | (ดิฟอลทฺ') v., n. (การ) ไม่ยอมชำระหนี้, ไม่เข้าร่วมแข่ง, แพ้การแข่งขันเนื่องจากไม่มาแข่ง, ไม่ปฏิบัติตามสัญญา, แพ้คดีเพราะไม่ยอมมาศาล, ทางเลือกก่อนเมื่อไร้ทางเลือก, Syn. failure ค่าโดยปริยายค่าเริ่มต้นหมายถึง ค่าค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมสำเร็จ ทุกโปรแกรม ให้เป็นค่าที่ใช้ในตอนเริ่มต้นโปรแกรม ทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมนี้ใช้ คอมพิวเตอร์ก็จะใช้ค่าที่ตั้งไว้นี้ เช่น ในโปรแกรม Page Maker กำหนดค่าเริ่มต้นไว้ว่า ให้ขนาดของหน้าเป็น A4 ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ก็จะกำหนดขนาดของหน้ามาเป็น A4 ก่อนเสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ย่อมทำได้ |
dimmed | จางซีดในระบบวินโดว์ที่มีรายการคำสั่งให้เลือก หากรายการคำสั่งใดปรากฏบนจอภาพด้วยสีจาง แสดงว่าเป็นคำสั่งที่จะยังเลือกใช้ไม่ได้ สาเหตุที่ยังเลือก ใช้ไม่ได้ อาจเป็นเพราะผิดขั้นตอน เช่นสั่งให้คัดลอก แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้คัดลอกข้อความหรือภาพใด |
disk | (ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น |
distrait | (ดิสเทร') adj. ซึ่งมีจิตทีไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (เพราะความกังวล ความกลัวใจลอย) |
distraite | (ดิสเทร') adj. ซึ่งมีจิตทีไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (เพราะความกังวล ความกลัวใจลอย) |
dittograph | n. คำที่ซ้ำ (เพราะเขียนหรือพิมพ์ผิด) ., See also: dittography n. ดูdittograph |
accordingly | (adv) ตาม, สอดคล้อง, ดังนั้น, เพราะฉะนั้น |
as | (con) เพราะ, เนื่องจาก, ราวกับ, ดังที่, ในขณะที่ |
because | (con) เพราะ, เพราะว่า, เป็นเพราะ, เหตุเพราะ, เพราะเหตุว่า |
consequently | (adv) เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, ผลที่สุดก็คือ |
dulcet | (adj) เพราะ, เสนาะหู, ไพเราะเพราะพริ้ง, ชื่นใจ |
euphony | (n) เสียงเพราะ, ความเพราะพริ้ง, ความรื่นหู, ความไพเราะ |
for | (con) เพราะว่า, เพราะเหตุว่า, เนื่องจาก, เนื่องจากว่า |
forasmuch | (con) เพราะว่า, เนื่องจาก, สาเหตุเพราะ, เนื่องด้วย |
hence | (adv) จากนี้, ดังนี้, ด้วยเหตุนี้, เพราะฉะนั้น |
OWING owing to | (pre) เนื่องจาก, เพราะ |
since | (con) เพราะว่า, นับตั้งแต่, เนื่องจาก, เนื่องด้วย |
so | (adv) มาก, ดังนั้น, เช่นนั้น, เช่นเดียวกัน, อย่างนั้น, เพราะฉะนั้น |
that | (con) ว่า, ที่, ซึ่ง, เพราะ, กระนั้น |
thence | (adv) จากที่นั้น, ตั้งแต่นั้นมา, เพราะฉะนั้น |
thereat | (adv ณ) ที่นั้น, ดังนั้น, ในเวลานั้น, เพราะเหตุนั้น |
therefore | (adv) เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, เช่นนั้น, เนื่องจากนั้น, โดยเหตุนั้น |
through | (pre) ตลอด, โดย, ด้วย, เพราะ, เนื่องจาก, รวมทั้ง |
tuneful | (adj) เหมือนเสียงดนตรี, ไพเราะ, เพราะ |
whereby | (adv, con) ด้วยเหตุนั้น, เพราะอะไร, อย่างไร, ด้วยเรื่องใด |
why | (adv) ทำไม, เพราะเหตุใด, เหตุไฉน |
with | (pre) ด้วย, กับ, ต่อ, ตาม, โดย, เพราะ, อย่าง, แม้, เกี่ยวกับ, พร้อมกับ |
be grudge | กรุณาเอาคำนี้ออกจากเพจเพราะมันเขียนผิดครับ ในภาษาอังกฤษมี to bear/hold a grudge และ to begrudge ด้วย แต่ไม่มีคำว่า to be grudge หรอกครับ |
calzera | [คัล-ซี-ร่า] (name, uniq) ชื่อนามแฝงของ เด็กไทย ที่ในยุคปัจจุบัน การใช้นามแฝงในลักษณะ คำที่สั้นๆไม่จำเป็นต้องมีความหมาย แต่พิมพ์ง่ายจำง่ายและดูดี เพราะในการสมัครไม่ต้องพิมพ์ _(underscore)หรือใช้ตัวเลขแปลกๆมาต่อท้ายเพื่อให้ unique ถิ่นฐาน:codename นี้มีถิ่นฐานอยู่ใน cp32 บริเวณที่พบบ่อย: เว็ปบอร์ดการ์ตูน และในเกมออนไลน์ รวมถึงบอร์ดรุ่น cp32 |
Clostridium difficile | [คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล] แบคทีเรียหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อของลำไส้ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกามีผลต่อผู้คนนับล้านต่อปี ผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในความเสี่ยงของการกลายเป็นติดเชื้อกับการรักษาได้ยาก. ยาปฏิชีวนะจะรบกวนแบคทีเรียปกติของลำไส้, ช่วยให้ดื้อยาแบคทีเรียที่จะกลายเป็นตัวต้านที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่. หลายคนติดเชื้อแบคทีเรียรักษาลำบากเพราะไม่มีอาการ. คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ให้บริการของเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อผู้อื่น ในคนอื่นๆ, สารพิษที่มีผลก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง, อาการปวดท้อง, การอักเสบอย่างรุนแรงของลำไส้ใหญ่ (ไส้ใหญ่), ไข้, การตรวจนับเม็ดเลือดขาว, อาเจียนและการคายน้ำ. ในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง, เยื่อบุภายในของลำไส้ใหญ่จะกลายเป็นที่รุนแรงอักเสบ (สภาพที่เรียกว่าเยื่อแผ่นบาง ๆ รอบเซลล์ผิดปกติ). ไม่ค่อยมีผนังและหลุมพัฒนา (ลำไส้ใหญ่จะไม่ค่อยมีผนังกั้นแต่จะเป็นรูพรุน) ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่คุกคามชีวิตของช่องท้อง |
four-leaf clover | (n) พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากใบโครเวอร์โดยปกติที่มีสามแฉก โดยชนิดนี้จะมีใบสี่แฉก ซึ่งเชื่อกันว่ามันจะนำโชคดีมาให้แก่ผู้ที่หามันพบเพราะความบังเอิญ, See also: clover |
Free Carrier ( FCA ) | การเสนอราคา ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดสินค้าส่งมอบให้กับผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง(เช่น บรรดาบริษัท shipping ต่างๆ) ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้เพราะฉะนั้นในการเสนอราคา ผู้ขายก็จะเสนอราคาขาย ที่บวกค่าส่งมอบสินค้าในเบื้องต้นลงไปด้วย |
Hedge | (n, vi) [ Linguistics: Pragmatics ] n. คำบ่งชี้ความไม่แน่ใจ คำบ่งชี้การพูดออกตัว การพูดออกตัว โดยใช้ คำ วลี หรือประพจน์เพื่อป้องกันตัวของผู้พูดในกรณีที่พูดผิด ไม่มั่นใจ เช่น วันนี้ฝนอาจจะตก คำว่า อาจจะ คือ hedge ชนิดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าผู้พูดมีความไม่มั่นใจ มีความกำกวม ซึ่งฝนจะตกหรือไม่ตกผู้พูดก็ไม่ได้พูดผิด เพราะคำว่า อาจจะ มีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิด 50/50 v. พูดออกตัว พูดกำกวม พูดป้องกันตัว, See also: softener, downtoner, understatement, weakener, tentativeness, stance m, Syn. mitigator |
interbeing | (n, adj) เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้, เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี |
Otitis externa | เป็นสภาพที่ทําให้เกิดการอักเสบ (แดงและบวม) ของช่องหูภายนอกซึ่งเป็นหลอดระหว่างหูด้านนอกและหู หูน้ําหนวกอักเสบมักจะเรียกว่า "หูของนักว่ายน้ํา" เพราะการสัมผัสน้ําซ้ําๆ สามารถทําให้ช่องหูเสี่ยงต่อการอักเสบ |
peace out | (slang) เป็นแสลง หมายถึง ลาก่อน, ไว้เจอกัน แต่ก่อนมักใช้ในพวกแก๊งสเตอร์ ให้ความหมายในเชิงเยาะเย้ย โดนเฉาะเมื่อ มีใครจะตาย หรือจะไปฆ่าใครตาย ต่อมาก็ใช้กันโดยทั่วไป เพราะเห็นว่า เท่ห์ดี, See also: See you later, Syn. Goodbye |
satiated | (n, vt) อิ่มอกอิ่มใจอย่างเต็มที่, ทำให้เสพย์สุขอย่างเต็มที่, ทำให้เกิดความอาเจียน, อิ่มหนำสำราญ, เสพสุขอย่างเต็มที่, เอียนเพราะมากเกินไป n. การพอใจอย่างเต็มที่, การเกิดความเบื่อหน่าย, การเสพสุขอย่างเต็มที่ slang. อิ่มที่ได้ killing, See also: repletion, Syn. filled to |
sine qua non | (n) ถ้าไม่ใช่เพราะ, Syn. but for |
thank to | (idiom) เนื่องจาก, เพราะว่า, เนื่องด้วย, เนื่องมาจาก, ด้วยเหตุว่า, เหตุเพราะ, See also: since, as, due to the face that, Syn. because |
united arab emirates | [ยูไน้ถิด อาหรับ เอีมิเร็ทสฺ] สหอาหรับเอมิเรตส์ (ไม่มีคำว่า "รัฐ" เพราะไม่เน้นที่ States แต่เน้นที่ คนอาหรับ) |
united arab emirates | [ยูไน้ถิด อาหรับ เอมิเร็ทสฺ] สหอาหรับเอมิเรตส์ (ไม่มีคำว่า "รัฐ" เพราะไม่เน้นที่ States แต่เน้นที่ คนอาหรับ) |
united arab emirates | [ยูไน้ถิด อาหรับ เอมิเร็ทสฺ] สหอาหรับเอมิเรตส์ (ไม่มีคำว่า "รัฐ" เพราะไม่เน้นที่ States แต่เน้นที่ คนอาหรับ เขาก่อร่างสร้างประเทศเขาตั้งใจมองไปที่คนเล็กคนน้อย เขาเล็งไปที่ "ชาวอาหรับ" ที่เป็นประชาชนในอาณาบริเวณของเขา เขาจึงใช้ชื่อประเทศว่า United Arab Emirates: ภาษาอาหรับก็บอกชัดเจนอ่านจากคำขวาก่อนคือ อิมิเรต หากดูตรงกลางพบคำว่า "อาระบียะห์" ซึ่งหมายถึงคนอาหรับ และคำสุดท้ายแปลว่ามารวมกัน الإمارات العربيّة المتّحدة ) |
กุศล | (n, adj) กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
เป็นแฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องไ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk |
เป็นแฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องให้ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk |
แฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องให้ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk |
Hause | (n) ความหมายเดียวกับ Haus แต่ลงท้ายด้วย e เมื่ออยู่หลังบุพบทบางตัวเพื่อให้การออกเสียงลื่นและเพราะขึ้น เช่น zu Hause ที่บ้าน, nach Hause ไปที่บ้าน แต่ im Haus ในบ้าน, See also: das Haus |
aufgrund | ด้วยเหตุจาก, ด้วยเหตุว่า, เพราะว่า |
denn | (konj) เพราะว่า เช่น Iß viel Obst, denn es ist gesund für den Darm. ทานผลไม้มากๆ นะ เพราะว่ามันดีต่อลำไส้, See also: da, Syn. weil |
wegen | ด้วยเหตุเพราะว่า, เนื่องจากว่า |
weil | เพราะว่า, เนื่องจากว่า |
Unglück | (n) |das, nur Sg.| ความโชคร้าย หรือ ไม่มีดวง, อุบัติเหตุ, โศกนาฏกรรม ตัวอย่างการใช้คำ 1° Bei diesem Unglück sind 13 Schüler aus Stuttgart gestorben. = ในโศกนาฏกรรม ครั้งนี้ ทำให้นักเรียนจากเมืองชตุ๊ดการ์ด, เยอรมนี ได้เสียชีวิตลง 13 คน 2° Busunglück = อุบัติเหตุโดยรถโดยสารประจำทาง ( ร้ายแรงกว่า Autounfall หน่อย เพราะจำนวนผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตมีจำนวนมากกว่า ) 3° Das bringt mir Unglück! = ผม ช่างโชคร้าย อะไรเช่นนี้ ( Unglück นิยมพูด โดยละ Artikel, das ) 4° Unglücklicherweise, daß ich deine Geschichte erfahren habe! = ช่างโชคร้าย อะไรเช่นนี้ ที่ผมต้องมารับรู้ เรื่องราวของคุณอย่างนี้นะ! ), See also: die Katastrophe, das Pech, Syn. der Unfall |
versoffen | (adj, adv, slang) เมา หรือ มึนเพราะดื่มแอลกอฮอล์ ตัวอย่างการใช้ คำ 1° Deine Stimme klingt irgendwie versoffen. = เวลาคุณพูด เสียงคุณเหมือนจะบอกว่า คุณเมาเลยนะ ( หรือว่า versoffene Stimme ก็ได้ ) 2° Mein Onkel ist immer versoffen. = ลุงฉันอะน่ะ เมาเป็นประจำ, See also: A. bewusst, Syn. betrunken |
Gewohnheit | (n) |die, pl. Gewohnheiten| ความเคยชิน ตัวอย่าง Es raucht aus reiner Gewohnheit. = เขาสูบบุหรี่เพราะความเคยชินโดยแท้ |
aufgrund + G | (präp) เนื่องจากว่า, ด้วยเหตุว่า, เพราะว่า เช่น Aufgrund des sehr hohen Einkommens kann er bald ein neues Haus aufbauen lassen. = เนื่องจากการมีรายได้ที่สูงมาก เขาจึงสามารถจะสร้างบ้านใหม่ได้ในไม่ช้านี้, See also: infolge, Syn. wegen |
vernachlässigbar | (adj) ที่สามารถละเลยได้ , ที่สามารถไม่นำมาคิดรวมได้ เช่น Bei der Auswertung des Messergebnisses ist der Faktor X vernachlässigbar. = ในกระบวนการประเมินผลการทดลองนั้น ค่าตัวแปร X สามารถละไว้ ไม่นำมาร่วมประเมินผลด้วยได้ (ส่วนมาก เป็นเพราะค่าตัวแปลนั้นๆ มีผลน้อยมากต่อผลการทดลอง ) |
Studiengebühr | (n) |die, pl. Studiengebühren| เงินบำรุงการศึกษา (ไม่ใช่ค่าหน่วยกิจ เพราะโดยมากแล้ว ในเยอรมนีจะละเว้นค่าหน่วยกิจเนื่องจากรัฐเป็นผู้ช่วยเหลือในส่วนนี้ หรือ เป็นการศึกษาแบบให้เปล่าจากรัฐ จนถึงระดับดิโพลม) |
Marker | (n) |der, pl. Marker| ปากกาเน้นข้อความ (ซึ่งถ้าได้ยินคนเยอรมันเรียกหา Edding ก็หมายถึงสิ่งนี้เพราะ Edding เป็นยี่ห้อปากกาเน้นข้อความที่เริ่มคิดค้นใช้ที่ประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ.1960 โดย Carl-Wilhelm Edding และ Volker Detlef Ledermann) |
denn | (konj) เพราะว่า เช่น Die Reisende mußten warten, denn der Zug hatte Verspätung. ผู้โดยสารต้องคอยเพราะว่ารถไฟมาช้ากว่ากำหนด, See also: da, Syn. weil |
weil | (konj) |กริยาอยู่ท้ายประโยค| เพราะว่า เช่น Andrea bleibt daheim, weil sie ihrer Mutter im Haushalt helfen will. อันเดรียอยู่บ้านเพราะเธออยากช่วยแม่ทำงานบ้าน, See also: Related: denn, da |
da | (konj) |กริยาอยู่ท้ายประโยค| เพราะว่า เช่น Sie braucht eine kleinere Wohnung, da sie allein ist., See also: A. darum, deswegen, Syn. weil |
verwenden | (vt) |verwandte/verwendete, hat verwendet| ใช้ (เป็นคำที่เพราะกว่า benutzen) เช่น Das Gerät darfst du immer verwenden. เธอสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้เสมอนะ, Syn. benutzen |
Ich habe den Sprung ins kalte Wasser gewagt. | กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรบางอย่าง (แปลตามตรง ฉันกล้าที่จะกระโดดลงไปในน้ำเย็น ในที่นี้ไม่ใช้น้ำร้อนเพราะว่าถ้าโดดลงไปในน้ำร้อน เราก็จะพอเดาผลได้ คือตัวเราเองจะโดนต้มสุก แต่การกระโดดลงไปในน้ำเย็นนั้น เราไม่รู้ว่าเราจะหนาวจนตาย แข็งจนตาย หรือรอดชีวิตได้ เพราะในน้ำเย็นอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่เราจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นในที่นี้จึงหมายความว่าเป็นการเสี่ยงในการทำอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่รู้ผลลัพธ์ที่ตามมา) |