ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*พระพุทธศาสนา*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: พระพุทธศาสนา, -พระพุทธศาสนา-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (ศัพท์ธรรมะ) (TH-DHAMMA) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(n) National Office of Buddhism

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
พระพุทธศาสนา(n) Buddhism, Syn. พุทธศาสนา, ศาสนาพุทธ, Example: หลวงตาจันทร์ได้ทำประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาและสังคมมาเป็นเวลานาน, Thai Definition: ศาสนาของพระพุทธ
หลักพระพุทธศาสนา(n) Buddhist principles, Example: การบูชาปูชนียบุคคลนับว่าเป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา, Thai Definition: สาระสำคัญของศาสนาพุทธ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กมัณฑลุ(กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค).
กำลังภายในน. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้.
ครบสามสิบสองว. มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ตามคติทางพระพุทธศาสนา.
คาถา ๑ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). <i> (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ)</i>.
เคยยะน. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). <i> (ดู</i><i> นวังคสัตถุศาสน์</i><i> ประกอบ)</i>.
โคมเวียนน. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ
จตุปัจจัย(-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา).
จรณะ(จะระ-) น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา.
จาตุรงคสันนิบาตน. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา.
จีวร, จีวร-(จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ].
เจตภูต(เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
ชาดก(ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). <i> (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ)</i>.
เซน, เซ็น ๑น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทำสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม.
เดียรถีย์(-ระถี) น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล.
แดนไตรน. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล.
ตรีกายน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
ตรีภพน. โลกทั้ง ๓, ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีโลก ไตรโลก ไตรภพ หรืิอ ไตรภูมิ ก็ว่า.
ตรีโลกน. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือ ภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ไตรโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า.
ตรีโลกนาถ(-โลกกะนาด) น. ที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า.
ไตรภพ, ไตรภูมิ(-พบ, -พูม) น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก หรือ ไตรโลก ก็ว่า.
ไตรโลกน. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า.
ไตรวิชชา(-วิดชา) น. ความรู้แจ้งในทางพระพุทธศาสนา ๓ อย่าง คือ ๑. ระลึกชาติหนหลังได้ ๒. รู้การตายการเกิดของคนและสัตว์ ๓. รู้วิธีทำให้สิ้นกิเลส.
ถือศีลก. ปฏิบัติตนโดยไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจาให้เป็นปรกติ.
ทุกนิบาตน. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒.
เทศน์แจงน. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก.
ธรณีสูบก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
ธรรมจักรเครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง จัดเป็นอุเทสิกเจดีย์.
ธาตุ ๑, ธาตุ-(ทาด, ทาตุ-) น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุนํ้า (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ) แต่ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสิ่งที่มีชีวิตเพิ่มอีก ๒ ธาตุ คือ อากาศธาตุ (ที่ว่าง) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้).
ธาตุ ๒ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.)
นหาดก(นะหาดก) น. ผู้อาบน้ำแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ชำระกิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์.
น้ำพระพุทธมนต์น. นํ้าที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล, น้ำมนต์ ก็เรียก.
นิตยภัตน. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น.
นิบาต(-บาด) น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ
บรรพชิต(บันพะชิด) น. นักบวชในพระพุทธศาสนา.
บริขาร(บอริขาน) น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก.
บริพาชก(บอริพาชก) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย.
บริพาชิกา(บอริ-) น. ปริพาชิกา, นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย.
บอกวัตรก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว.
บาลีน. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
บุญ, บุญ-การกระทำดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด
ปฐมเทศนา(ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถมเทดสะหฺนา) น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ปฐมโพธิกาล(ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ.
ประดิษฐาน(ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.
ปริพาชก(ปะริ-) น. นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา.
ปริพาชิกา(ปะริ-) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย.
ปิฎกหมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา.
ผลในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค
ผ้าเหลืองน. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.
พรหม, พรหม-(พฺรม, พฺรมมะ-) น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี
พรหมจารีผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
จตุปัจจัยเครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) [ศัพท์พระราชพิธี]
ประดิษฐาน[ ปฺระดิดสะถาน ] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี [ศัพท์พระราชพิธี]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Furthermore, the symbol of rebirth in Buddhism is the lotus.นอกจากนี้ สัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ ในพระพุทธศาสนา ก็คือดอกบัวเพคะ Episode #1.20 (2012)
I keep the commandments, Dr. Sweets, all ten of them.ผมรักษาข้อบัญญัติในพระพุทธศาสนา ดร. สวีทส์ ทั้ง 10 ประการเลย The Archaeologist in the Cocoon (2013)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
พระพุทธศาสนา[Phraphutthasātsanā] (n, prop) EN: Buddhism  FR: bouddhisme [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
Buddhism(n) พุทธศาสนา, See also: ศาสนาพุทธ, พระพุทธศาสนา
Hinayana(n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
仏教[ぶっきょう, bukkyou] (n) พระพุทธศาสนา

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top