Telecommunication | โทรคมนาคม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Data compression (Telecommunication) | การบีบอัดข้อมูล (โทรคมนาคม) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Data compression (Telecommunication) | การบีบอัดข้อมูล (โทรคมนาคม) [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Echo suppression (Telecommunication) | การบีบอัดสัญญาณเสียงสะท้อน (โทรคมนาคม) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Communication industry | อุตสาหกรรมการสื่อสารคมนาคม [เศรษฐศาสตร์] |
Signal theory (Telecommunication) | ทฤษฏีสัญญาณ (โทรคมนาคม) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Telecommunication | โทรคมนาคม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Access to airports | การคมนาคมไปกลับท่าอากาศยาน [TU Subject Heading] |
Artificial satellites in telecommunication | ดาวเทียมในโทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Convergence (TElecommunication) | คอนเวอร์เจนซ์ (โทรคมนาคม) [TU Subject Heading] |
Military telecommunication | โทรคมนาคมทางการทหาร [TU Subject Heading] |
Telecommunication | โทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Telecommunication cables | เคเบิลโทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Telecommunication engineers | วิศวกรโทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Telecommunication equipment industry | อุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Telecommunication in education | โทรคมนาคมในการศึกษา [TU Subject Heading] |
Telecommunication in higher education | โทรคมนาคมในการศึกษาขั้นอุดมศึกษา [TU Subject Heading] |
Telecommunication in medicine | โทรคมนาคมในการแพทย์ [TU Subject Heading] |
Telecommunication policy | นโยบายโทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Telecommunication systems | ระบบโทรคมนาคม [TU Subject Heading] |
Used telecommunication equipment | อุปกรณ์โทรคมนาคมใช้แล้ว [TU Subject Heading] |
Used telecommunication equipment industry | อุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคมใช้แล้ว [TU Subject Heading] |
VSATs (Telecommunication) | วีแซด (โทรคมนาคม) [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
ASEAN Initiative on Electronic Commerce Cooperation | ความริเริ่มด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน " เป็นแผนงานหลักในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน ประกอบด้วย (1) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (2) การกำหนดนโยบายและกฎหมายที่อำนวยความสะดวกการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการ จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ " [การทูต] |
Economic Corridor | พื้นที่เศรษฐกิจซึ่งจะเน้นการพัฒนาตามแนวโครงข่ายคมนาคม ทั้งนี้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต่าง ๆ [การทูต] |
Greater Mekong Subregion Economic Cooperation | กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ กรอบความร่วมมือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ " ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑล ยูนนาน) มีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นกลไกประสานความร่วมมือ โดยริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยความร่วมมือ 8 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การค้า และการลงทุน " [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
Madagascar Action Plan | แผนปฏิบัติการมาดากัสการ์ เป็นแผนพัฒนาประเทศมาดากัสการ์ที่เป็นรูปธรรมฉบับแรก นับตั้งแต่มาดากัสการ์ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2503 รัฐบาลมาดากัสการ์ ได้รับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ (ประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เป้าหมายหลักของ MAP ได้แก่ การพัฒนาระบบคมนาคม การพัฒนาชนบท การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] |
sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Shanghai Cooperation Organization | พัฒนามาจากเวทีการประชุม Shanghai Five ซึ่งจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เดิมมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ และทาจิกิสถาน ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 อุซเบกิสถาน ได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย จึงมีการเปลี่ยนชื่อกลไกความ ร่วมมือนี้เป็น Shanghai Cooperation Organization เดิมมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนของประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุม ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา พลังงาน การคมนาคม [การทูต] |
Telecommunications and IT Ministers Meeting | การประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมอาเซียน [การทูต] |
Telecommunications and IT Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโทรคมนาคมอาเซียน [การทูต] |
Communication | การคมนาคม, เครื่องมือในการสื่อความหมาย [การแพทย์] |
Communication System | ระบบคมนาคม [การแพทย์] |
communication | การคมนาคม, การสื่อสาร, การติดต่อถึงกันและกันโดยการขนส่งหรือการส่งข่าวสารด้วยยานพาหนะหรือเครื่องสื่อสารต่าง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
storage dam | เขื่อนเก็บน้ำ, สิ่งก่อสร้างปิดกั้นลำน้ำในหุบเขาหรือหุบเนิน เพื่อเก็บและรักษาปริมาณน้ำไว้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น การเพาะปลูก การบรรเทาอุทกภัย การไฟฟ้าพลังน้ำการคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |