ขี้ตู่ | ก. กล่าวอ้างหรือทึกทักว่าของผู้อื่นเป็นของตัว เช่น นี่ปากกาของฉันนะอย่ามาขี้ตู่. |
เข้าตู้ | ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตำราที่เก็บไว้ในตู้. |
ตุ๊ดตู่ ๑ | น. เหล็กสำหรับเจาะรูหรือตอกกระดาษเป็นต้นให้เป็นลูกปลารูปต่าง ๆ เช่น กลม ดอกจิก. |
ตุ๊ดตู่ ๒ | น. ชื่อกกชนิด <i> Schoenoplectus mucronatus</i> (L.) Palla ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นเป็นกอ สีนํ้าตาลอ่อน ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม, กกกลม ก็เรียก. |
ตุ๊ดตู่ ๓ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด <i> Varanus dumerilii</i> (Schlegel) ในวงศ์ Varanidae ลำตัวยาวสีนวลมีลายสีน้ำตาลเข้ม หัวสีน้ำตาล เมื่อยังเล็กหัวสีแดง ลำตัวสีดำสนิท อาศัยตามซอกหิน พบทางภาคใต้ของประเทศไทย. |
ตุ๊ดตู่ ๔ | น. ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง เช่น ในบทดอกสร้อยสุภาษิตว่า “ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้...”. |
ตุ๊ดตู่ ๕ | <i>ดู แมลงช้าง ที่ แมลง</i>. |
ตู่ | ก. กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง. |
ตู่ตัว | ว. เพี้ยนตัว, ไม่ตรง, (ใช้ในการอ่านหนังสือ) เช่น อ่านตู่ตัว ด เป็นตัว ค. |
ตู่พุทธพจน์ | ก. อ้างพุทธพจน์ผิด ๆ ถูก ๆ. |
ตู้ ๑ | น. เครื่องเรือนสำหรับเก็บหรือใส่สิ่งของ มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีฝาด้านข้าง ด้านหลัง และด้านบน ด้านล่างมีพื้น ทางด้านหน้ามีบานปิดเปิดได้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตู้ยาม รถตู้. |
ตู้เกม | น. เครื่องเล่นเกมอย่างเกมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ด้านหน้ามีจออย่างจอคอมพิวเตอร์ มีปุ่มและแกนควบคุมให้ผู้เล่นควบคุมคำสั่งการเล่น ผู้เล่นต้องหยอดเหรียญจึงจะเริ่มเล่นเกมได้. |
ตู้ทองเคลื่อนที่ | น. ผู้หญิงที่แต่งเครื่องประดับจำพวกทองคำมากเกินพอดี. |
ตู้นิรภัย | (-นิระ-) น. ตู้ที่ทำขึ้นให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันทรัพย์สินภายในจากการโจรกรรมหรืออัคคีภัย. |
ตู้ไปรษณีย์ | น. ตู้ที่ตั้งในที่สาธารณะเพื่อรับจดหมายและไปรษณียบัตร แล้วไขออกตามกำหนดเวลาเพื่อนำไปส่งผู้รับ. |
ตู้พระไตรปิฎก | น. ตู้เก็บพระไตรปิฎก. |
ตู้เพลง | น. เครื่องเล่นแผ่นเสียงอัตโนมัติสำหรับหยอดเหรียญเลือกเพลงตามต้องการ. |
ตู้เย็น | น. เครื่องใช้ไฟฟ้า มีลักษณะเป็นตู้ ภายในมีอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้ความเย็นรักษาอาหารหรือของอย่างอื่นไม่ให้เสื่อมสภาพ. |
ตู้เสบียง | น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะเดินทาง, รถเสบียง ก็ว่า. |
ตู้ ๒ | ว. ทู่, เรียกควายเขาสั้นหงิกเข้ามาหาหู ว่า ควายเขาตู้. |
ตู๊ | ก. ประทัง, พอถูไถ, ชดเชย, เช่น ขายขวดได้เงินมาพอตู๊เป็นค่ากับข้าว. |
ตู๊เรือ | ก. ชะลอเรือ, ชะลอเรือด้วยถ่อ, ทำให้เรือมีความเร็วลดลง. |
ปลาตู้ | น. ปลาที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ. |
รถตู้ | น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน |
รถตู้ | รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียว บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒-๑๕ คน. |
อั้นตู้, อั้นอ้น | ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก. |
ขยับ | เลื่อนที่เล็กน้อย เช่น ขยับตู้ใบนี้เข้าไปให้ชิดฝา นั่งอยู่ห่างนักขยับเข้ามาให้ใกล้ ราคาสินค้าขยับขึ้น |
ขาสิงห์ | น. ขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้เป็นต้นที่ออกแบบให้คล้ายขาของสิงห์. |
เขยื้อน | (ขะเยื่อน) ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่, ทำให้ไหวตัวหรือให้เคลื่อนที่, (มักใช้แก่ของหนัก) เช่น ตู้ใบนี้หนักมาก ดันเท่าไรไม่เขยื้อนเลย, โดยปริยายหมายความว่า ขยับตัว เช่น เรียกใช้ให้ทำงานเท่าไร ๆ ก็นั่งนิ่งไม่ยอมเขยื้อน. |
เข้า ๑ | ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า |
ครุภัณฑ์ | (คะรุพัน) น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้. |
เครื่องเรือน | เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้. |
เครื่องสังเค็ด | น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ. |
เคลื่อน | (เคฺลื่อน) ก. ออกจากที่หรือทำให้ออกจากที่ เช่น เคลื่อนขบวน รถไฟค่อย ๆ เคลื่อนไป, เลื่อนหรือทำให้เลื่อนไปจากที่ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน เคลื่อนตู้ไป. |
ง่ามถ่อ | น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้งคล้ายเขาควายมีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลงในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ. |
ชน ๑ | ก. ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา |
ชั้น | น. ที่สำหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด |
ชั้ว ๑ | น. ที่สำหรับตั้งวางของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานทั้งแผ่นประกอบด้านข้างตลอดทั้ง ๒ ข้างลงมาเป็นขาด้วย ด้านหลังกรุกระดานทึบทั้งแผ่นยาวลงมาถึงพื้น มีหูช้างติดตรงมุมขา ๒ ข้าง. |
แช่ | ก. ใส่ลงในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น เอาเท้าแช่น้ำอุ่น แช่ข้าว กุ้งแช่น้ำปลา, ใส่ไว้ในน้ำแข็ง หรือตู้ทำความเย็นเป็นต้น เช่น เอาปลาแช่น้ำแข็ง เอาผักแช่ตู้เย็น, โดยปริยายใช้หมายถึง อาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จำเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้. |
ซอก | น. ช่องทางหรือช่องแคบ ๆ ระหว่าง ๒ ข้าง เช่น ซอกเขา ซอกประตู ซอกฟัน ซอกคอ, ช่องแคบ ๆ ที่ทางด้านหนึ่งตัน เช่น ซอกตู้ ซอกลิ้นชัก. |
ต่อ ๒ | ก. เพิ่มให้ยาวหรือขยายออกไป เช่น ต่อเชือก เอาตู้รถไฟมาต่อกัน ต่อชานบ้าน, เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา |
ตีขลุม | ก. ตู่หรือหยิบฉวยเอาของผู้อื่นโดยทึกทักเอาว่าเป็นของตน, รับสมอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตน. |
ถ้ำมอง | น. ตู้หรือหีบที่มีช่องเล็ก ๆ ซึ่งมีแว่นขยายสำหรับดูภาพยนตร์สั้น ๆ หรือรูปต่าง ๆ ให้คนดูได้ทีละคน. |
ทึกทัก | ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
ทึบ | ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ |
เท้า | น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. |
เท้าคู้ | น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า. |
เท้าสิงห์ | น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์ |
น่องสิงห์ | น. ชื่อลายชนิดหนึ่งมักประดับที่ส่วนหลังของขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้แบบขาสิงห์ หรือประดับริมหรือขอบ เช่นริมโต๊ะหรือกรอบรูป. |
ใบ | ลักษณนามสำหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ. |