ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*คำวิเศษณ์*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: คำวิเศษณ์, -คำวิเศษณ์-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
คำวิเศษณ์(n) adverb, Syn. วิเศษณ์, Example: คำว่า สะใจ เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบอารมณ์โกรธ เช่น ด่าให้สะใจ, Thai Definition: คำในภาษาหมวดหนึ่ง เกิดร่วมกับคำกริยาหรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกลักษณะของคำวิเศษณ์

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กริยาวิเศษณ์น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.
กริยาวิเศษณานุประโยค(-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก) น. อนุประโยคที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.
เกินไปว. คำประกอบท้ายคำวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกำหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
ไปก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
ผู้คำใช้ประกอบคำกริยาหรือประกอบคำวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี.
ยังคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย.
ยังอีกใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย
วิเศษณ-, วิเศษณ์(วิเสสะนะ-, วิเสด) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คน<u>ดี</u> นํ้า<u>มาก</u> ทำ<u>ดี</u> ดี<u>มาก</u>.
อย่าง(หฺย่าง) ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคำวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
อรหันต-, อรหันต์(อะระหันตะ-, ออระหันตะ-, อะระหัน, ออระหัน) น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคำวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต).
อาการนาม(อาการะนาม) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Adverbคำวิเศษณ์ [TU Subject Heading]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Nouns, adverbs adjective here and there.ปกติ คำนาม, คำวิเศษณ์ Contact (1997)
A noun is a naming word, a pronoun is used instead of a noun, an adjective describes a noun, a verb describes the action of a noun, an adverb describes the action of a verb.คำนามคือคำขนานนาม คำสรรพนามใช้แทนคำนาม คำคุณศัพท์นั้นใช้ขยายคำนาม คำกิริยาแสดงอาการของคำนาม คำวิเศษณ์นั้นช่วยขยายคำกิริยา Like Stars on Earth (2007)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
adverb(n) คำวิเศษณ์, See also: คำกริยาวิเศษณ์, คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา คุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง
adverbial(n) คำวิเศษณ์, See also: คำกริยาวิเศษณ์, คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top