ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*นายก*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: นายก, -นายก-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ญี่ปุ่น (JP) - ญี่ปุ่น (JP) (UNAPPROVED version -- use with care )
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
三位一体改革(n) ปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ(เป็นนโยบายหลักนโยบายหนึ่งของอดีตนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ ซึ่งเป็นแนวนโยบายเพื่อการปฏิรูปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานะทางการคลังขององค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดของนโยบายนี้เสนอให้มีการปฏิรูปทั้งสามด้านพร้อมกันเป็นหนึ่งแพคเกจ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ จึงเรียกการปฏิรูปนี้ว่า"การปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ สามด้านที่ต้องปฏิรูปก็คือ การปฏิรูปเรื่องภาษีของท้องถิ่น การปฏิรูปเรื่องเงินอุดหนุนแบบให้เปล่าเพื่อประกันรายได้ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่เพียงพอ และการปฏิรูปด้านการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
นายก(n) president, See also: chairman, Syn. ผู้นำ, Example: ท่านนายกได้กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดประชุมได้อย่างกินใจ, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ผู้เป็นหัวหน้าคณะบริหารบ้านเมือง
นายก(n) prime minister, See also: PM, chancellor, Syn. นายกรัฐมนตรี, Example: นายกฯ เดินทางไปเชื่อมสัมพันธ์ทางการค้าที่ประเทศมาเลเซีย, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: หัวหน้ารัฐบาล, ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี
นครนายก(n) Nakhon Nayok, Syn. จังหวัดนครนายก, Count Unit: จังหวัด, Thai Definition: ชื่อจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยอยู่ทางภาคกลาง
มัคนายก(n) liaison, See also: spiritual guide, Syn. มรรคนายก, Example: คุณตาทองย้อยเป็นมัคนายกประจำวัดนี้, Thai Definition: ผู้จัดการทางกุศล, ผู้ชี้แจงทางบุญ, Notes: (บาลี)
สภานายก(n) president, See also: chairman, Syn. สภาบดี, Thai Definition: ผู้เป็นประธานในที่ประชุม, Notes: (สันสกฤต)
อุปนายก(n) vice president, See also: vice chairman, Example: เขาเคยเป็นอุปนายกสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย, Count Unit: คน
สังฆนายก(n) Chairman of the Ecclesiastical
นายกรัฐมนตรี(n) prime minister, See also: PM, chancellor, Syn. นายกฯ, Example: วันนี้นายกรัฐมนตรีไปเปิดอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกอย่างเป็นทางการ, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี, หัวหน้ารัฐบาล
นายกเทศมนตรี(n) mayor, See also: Lord Mayor, Example: ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งปลดนายกเทศมนตรี เนื่องจากพัวพันการค้าของเถื่อน, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารงานเทศบาล
รองนายกรัฐมนตรี(n) Deputy Prime Minister, See also: vice-premier, Syn. รองนายกฯ, Ant. นายกรัฐมนตรี, Example: ฯพณฯ มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีผู้แตกฉานในด้านกฎหมาย, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้มีอำนาจหน้าที่รองมาจากนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี(n) Office of the Prime Minister, Syn. นร
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(n) Secretariat of the Prime Minister, Syn. สลน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(n) Office of the Permanent Secretary; Prime Minister Office, Example: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางในการเร่งรัดติดตามส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจกรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตในทางการเงิน
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(n) Secretariat of the Prime Minister, Syn. สลน., Example: สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานราชการที่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมในโครงการนำร่อง IT Model Office

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จตุรงคนายก(จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน).
นรเทพ, นรนาถ, นรนายก, นรบดี, นรบาล, นรราช(นอระ-) น. พระราชา.
นายก(นา-ยก) น. ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคม นายกสโมสร.
นายกเทศมนตรีน. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล.
นายกเมืองพัทยาน. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา.
นายกรัฐมนตรีน. ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด.
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล.
ภูธเรศ, ภูธเรศวร, ภูนาถ, ภูนายก, ภูเนตุ, ภูบดินทร์, ภูบดี, ภูบาล, ภูเบนทร์, ภูเบศ, ภูเบศวร์, ภูป, ภูน. พระเจ้าแผ่นดิน.
มรรคนายก(มักคะนายก) น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
มัคนายกน. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
วินายกน. ผู้ขจัดสิ่งขัดข้อง, พระวิฆเนศวร
วินายกพระพุทธเจ้า.
สภานายก, สภาบดีน. ผู้เป็นประธานในที่ประชุม.
สมุหนายกน. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ.
สังฆนายกน. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
กฎกระทรวงน. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี.
การเปิดอภิปรายทั่วไปน. กลไกที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้มีขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากสมาชิกสภา.
กุนซือน. ที่ปรึกษา เช่น พรรคนี้มีกุนซือเก่ง ๆ หลายคน ใครนะเป็นกุนซือให้นายกยุบสภา.
คณะรัฐมนตรีน. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
จังหวะน. ระยะที่สม่ำเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ.
เจ้าสังกัดน. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าสังกัดของกรมราชทัณฑ์ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ไตรโลกย์น. ไตรโลก เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก (ม. คำหลวง สักบรรพ).
ทบวง(ทะ-) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สูงกว่ากรม โดยมีทบวง ๒ ประเภท คือ ทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวง และทบวงที่มีฐานะต่ำกว่ากระทรวงซึ่งต้องอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง.
ทหารผ่านศึกทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด.
ท่าว ๒ว. เท่า, ราวกับ, เช่น กูเปนใหญ่บังคับ ให้เขาจับทำโพย โดยพลการเขาหลาย ผิดเชิงนายกับบ่าว ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่ (นิทราชาคริต).
ทิศ ๖น. ทิศที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล มี ทิศเบื้องหน้าหรือบูรพทิศ ได้แก่ บิดามารดากับบุตร ทิศเบื้องขวาหรือทักษิณทิศ ได้แก่ ครูอาจารย์กับศิษย์ ทิศเบื้องหลังหรือปัจฉิมทิศ ได้แก่ สามีกับภรรยา ทิศเบื้องซ้ายหรืออุตรทิศ ได้แก่ มิตร ทิศเบื้องบนหรือปุริมทิศ ได้แก่ สมณพราหมณ์กับศาสนิกชน และทิศเบื้องล่างหรือเหฏฐิมทิศ ได้แก่ นายกับบ่าวหรือผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา.
เทศบาลน. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล.
ธงน. ผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม โดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง. (๖) ใช้ถือเข้ากระบวนแห่
นายประเพณีน. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบำรุงวัดได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทำนองมรรคนายก).
บริณายก(บอรินายก) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่.
ประกาศข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี.
ผู้น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองน. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี.
ผู้บริหารท้องถิ่นน.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี.
ภาษาแบบแผนน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
มหาดไทยน. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
แม่กองน. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก.
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดน. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง.
รับก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร
ราชการบริหารส่วนกลาง, ราชการส่วนกลางน. การปกครอง ดูแล และการปฏิบัติภารกิจของรัฐในฐานะเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดแบ่งองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน.
รายทางว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง.
รุมล้อมก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อมนายกรัฐมนตรี.
สกลมหาสังฆปริณายก(สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง.
สัมภาษณ์ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน.
สาร ๑, สาร- ๑ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน.
สำนักน. ที่อยู่อาศัย เช่น อยู่สำนักวัดมหาธาตุ, ที่ทำการ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี
สุนทรพจน์(สุนทอนระ-, สุนทอระ-) น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.
เสนอตัวก. แสดงความจำนงมอบตัวให้พิจารณาเพื่อแต่งตั้งหรือรับไว้ทำงานเป็นต้น เช่น เขาเสนอตัวรับใช้ประชาชน เขาเสนอตัวเป็นนายกสมาคม.
หมาไล่เนื้อน. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็นนายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดูอีกต่อไป.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
president๑. ประธาน, ประธานที่ประชุม, นายก๒. อธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
president, vice๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Premier; Prime Minister; Prime Ministerนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Premier; Prime Ministerนายกรัฐมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Premier, Deputy; Prime Minister, Deputyรองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Prime Minister; Premierนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Prime Minister; Premierนายกรัฐมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
plan, strong-mayorเทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
plan, weak-mayorเทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Lord Mayorนายกเทศมนตรี (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
strong-mayor planเทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
mayorนายกเทศมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
mayorนายกเทศมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Chancellorนายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสาธารณรัฐออสเตรีย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
chancellorนายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Deputy Premier; Deputy Prime Ministerรองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Deputy Prime Minister; Deputy Premierรองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
vice president๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
weak-mayor planเทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Women prime ministersนายกรัฐมนตรีสตรี [TU Subject Heading]
Mayorsนายกเทศมนตรี [TU Subject Heading]
Prime ministersนายกรัฐมนตรี [TU Subject Heading]
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategyยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
ASEAN-JAPAN SUMMITการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในหลักการจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต]
courtesy callการเยี่ยมคารวะ เป็นการเข้าพบเพื่อทำความรู้จักกันของบุคคลสำคัญหรือนักการทูต เช่น การเข้าพบระหว่างนักการทูตด้วยกัน หรือนักการทูตเข้าพบรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีของประเทศอื่นเข้าพบนายกรัฐมนตรี ฯลฯ [การทูต]
Foreign Policyนโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Heads of Stateผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต]
High Level Panel on Threats, Challenges and Changeคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต]
International Conferencesคือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต]
Iron Curtainม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต]
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fundกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต]
Personal Inviolability of Diplomatic Agentsหมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
_นายก็ตอบตกลง Entanglement (2012)
Anyway, it's nice to see you back.แต่ก็ดีใจที่นายกลับมา The Great Dictator (1940)
While she was undressing, she'd tell me about the party she'd been to.ระหว่างที่ถอดเสื้อผ้า คุณนายก็จะเล่าให้ฟังถึงปาร์ตี้ที่เคยไป Rebecca (1940)
You know what I mean. You want to own the car yourself.นายก็รู้ว่าฉันหมายความว่ายังไง นายก็อยากมีรถเป็นของตัวเอง Rebecca (1940)
He was not an old man then, but he was in his prime.เขาไม่ได้เป็นคนเก่าแล้ว แต่เขาอยู่ในนายก The Old Man and the Sea (1958)
- Monstrous. - Ahme.อามี เจ้านายการเตรียมการที่จำคือ Help! (1965)
Maybe Baker would like to know Just what you and Jackson had to say about the cash box.บางทีเบเกอร์อาจจะอยากรู้ ที่นายกับแจ๊คสันพูด ...เกี่ยวกับเงินนั่น The Good, the Bad and the Ugly (1966)
I'll keep the money and you can have the rope.ฉันจะเก็บเงินไว้ ส่วนนายก็เอาเชือกไป The Good, the Bad and the Ugly (1966)
Canby's men are coming here but no one will set foot in this hell except you and me.ทหารของแคนบีมาทางนี้... ...แต่ไม่มีใครเหยียบเข้ามาในนรกนี่... ...นอกจากนายกับฉัน The Good, the Bad and the Ugly (1966)
After you please. Start walking.เชิญนายก่อน เดินไป The Good, the Bad and the Ugly (1966)
In my place you would do the same thing.ถ้าเป็นฉัน นายก็จะทำแบบเดียวกัน The Good, the Bad and the Ugly (1966)
But you know how many graves there are there?แต่นายก็รู้ว่าที่นั่นมี หลุมศพมากแค่ไหน The Good, the Bad and the Ugly (1966)
A bit thin perhaps but you always were thin eh Pablito?อาจผอมไปนิด แต่... ...นายก็ผอมตลอดใช่ไหมล่ะ พาบลิโต้? The Good, the Bad and the Ugly (1966)
My own way. I'm here with your old friend Angel Eyes.ฉันก็มีวิธีของฉัน แองเจิลอายส์เพื่อนเก่านายก็อยู่นี่ The Good, the Bad and the Ugly (1966)
What're you doing?นายกำลังจะทำอะไรน่ะ The Good, the Bad and the Ugly (1966)
You realize we might be risking our lives?สำนึกบ้างไหมว่านายกำลัง ทำให้ชีวิตเราต้องเสี่ยง The Good, the Bad and the Ugly (1966)
You see in this world there's two kinds of people my friend those with loaded guns and those who dig.นายก็รู้นี่ว่าในโลกนี้มีคนอยู่ 2 จำพวก เพื่อนเอ๋ย ...พวกที่เหนี่ยวไก และพวกที่มีหน้าที่ขุด The Good, the Bad and the Ugly (1966)
Full speed ahead, Mr. Boatswain.ความเร็วเต็มไปข้างหน้านายกะลาสี ความเร็วเต็มไปข้างหน้า Yellow Submarine (1968)
Lord Mayor, sir... I've made it, I'm back.นายกเทศมนตรีครับ ฉันได้ทำมันฉัน กลับ Yellow Submarine (1968)
- Our Lord Mayor.พระเจ้าของเรา นายกเทศมนตรี Yellow Submarine (1968)
Lord Mayor, sir... unbonk yourself.นายกเทศมนตรีครับ ไม่เคาะ ตัวเอง Yellow Submarine (1968)
Young Fred? - You do, Lord Mayor.คุณทำ นายกเทศมนตรี Yellow Submarine (1968)
We'll get other instruments, Lord Mayor.เราจะได้รับเครื่องมืออื่น ๆ นายกเทศมนตรี Yellow Submarine (1968)
Not until I've talked some sense to that headstrong wife of yours.นั่นต้องหลังจากฉันอบรม ภรรยาหัวเเข็งของนายก่อน Beneath the Planet of the Apes (1970)
Now when I say, "go," you try to grab it first.พอบอกว่าเอาเลย นายก็รีบคว้าให้ได้ก่อน Blazing Saddles (1974)
I want you to round up every vicious criminal and gunslinger in the West.ฉันอยากให้นายกวาดต้อนอาชญากร และมือปืนตัวร้ายในภาคตะวันตกนี้ Blazing Saddles (1974)
It's not until the Fourth of July. Till then, it's you and me.นั่นมันวันที่ 4 กรกฎาฯ ตอนนี่ มืเเต่นายกับฉัน Jaws (1975)
I want you to meet Matt. This is Larry Vaughn, our mayor.ผมอยากให้คุณรู้จักเเม็ท นี่เเลร์รี่ วอห์น นายกเทศมนตรีของเรา Jaws (1975)
Harve, you and Carl take it out tomorrow and dump it in the drink.ฮาร์ฟ พรุ่งนี่นายกับคาร์ล เอามันไปโยนทิ้งทะเล Jaws (1975)
Summer's over. You're the mayor of Shark City.ฤดูร้อนไม่มีเเล้ว คุณเป็นนายกเทศมนตรีเมืองฉลาม Jaws (1975)
Where are you going?พวกนายกำลังจะไปไหน Salò, or the 120 Days of Sodom (1975)
You go on home.นายกลับไปก่อน Phantasm (1979)
Then hustle on back.เสร็จแล้วนายก็กลับมา Phantasm (1979)
I know you're scared... but you're not alone.ฉันรู้ว่านายกลัว แต่นายไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวนี่ Phantasm (1979)
You and me, we're partners!นายกับฉัน คู่หูกัน The Road Warrior (1981)
You're making a serious mistake splitting a great team.นายกำลังพลาดครั้งใหญ่... ...ที่แยกตัวออกไป The Road Warrior (1981)
You and me together, think of the possibilities.นายกับฉันร่วมมือกัน น่าจะเป็นไปได้ The Road Warrior (1981)
The prime minister said the talks were both constructive and frank.ท่านนายกฯกล่าวว่าการพูดคุย เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และจริงใจ Gandhi (1982)
I want you to be the first prime minister of India to name your entire cabinet to make the head of every government department a Muslim.ผมอยากให้คุณเป็นนายกรัฐมนตรี คนแรกของอินเดีย และแต่งตั้งคณะรมต.ของคุณเอง ให้รมต.ของทุกกระทรวงเป็นมุสลิม Gandhi (1982)
Prime Minister.ท่านนายก Gandhi (1982)
If it takes us over, then it has no more enemies, nobody left to kill it.We're gonna find out who's who. เอาละหมอ แยกแกรี่ และ คลาร์ก ออกจากคนอื่น ๆ นอริส , นายกับไชลส์ ยิงเขาด้วยมอร์ฟีน ให้พวกเขาอยู่ในห้องอัด แล้วคอยดูพวกเขาด้วย The Thing (1982)
Who's that ?พาล์มเมอร์ นายกับวินโดวส์ คอยเชคข้างในนี้ละกัน The Thing (1982)
I'm Chattar Lal, Prime Minister to His Highness, the Maharaja of Pankot.ฉัน Chattar ลาลนายกรัฐมนตรี ที่จะเสด็จ, มหาราชาแห่ง Pankot ของเขา Indiana Jones and the Temple of Doom (1984)
I'm not worried, Mr. Prime Minister, just, uh... just, um, interested.ฉันไม่กังวลนายนายกรัฐมนตรีเพียงแค่เอ่อ ... เพียงแค่เอ่อสนใจ Indiana Jones and the Temple of Doom (1984)
you know what they say about this type of operation... da!- นายก็รู้ว่า นี่เป็นภารกิจแบบ... Spies Like Us (1985)
you just want to follow her. no.- นายก็แค่ อยากตามเธอไป Spies Like Us (1985)
maybe your dick's not so dumb. got me through high school.- บางทีนายก็ฉลาดกว่าที่เห็นแฮะ Spies Like Us (1985)
You go running off, you'll get seriously lost.ฟังนะ ถ้านายวิ่งเร็วอย่างนั้น นายก็จะหลง An American Tail (1986)
Aw, I didn't mean to scare you.อ๊ะ ฉันไม่ได้ตั้งใจ จะทำให้นายกลัวนะ An American Tail (1986)
You too, too? Hmm.นายก็ชอบเหมือนกันเหรอ หืม An American Tail (1986)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อดีตนายกรัฐมนตรี[adīt nāyok ratthamontrī] (n, exp) EN: former prime minister  FR: ancien Premier ministre [ m ]
จังหวัดนครนายก[Jangwat Nakhøn Nāyok] (n, prop) EN: Nakhon Nayok province  FR: province de Nakhon Nayok [ f ]
มรรคนายก[makkhanāyok] (n) EN: lay temple officiator
นครนายก[Nakhøn Nāyok] (n, prop) EN: Nakhon Nayok (Central)  FR: Nakhon Nayok (Centre)
นายก[nāyok] (n) EN: president ; chief ; chairman  FR: président [ m ]
นายก[nāyok] (n) EN: Prime Minister ; Premier  FR: Premier ministre [ m ]
นายก เล็ก[nāyok lek] (n) EN: mayor  FR: maire [ m, f ] ; bourgmestre (Belg.) [ m, f ]
นายกรัฐมนตรี[nāyokratthamontrī] (n, exp) EN: Prime Minister ; Premier  FR: Premier ministre [ m ]
นายกรัฐมนตรีคนใหม่[nāyokratthamontrī khon mai] (n, exp) FR: le nouveau Premier ministre
นายกเทศมนตรี[nāyok thēsamontrī] (n) EN: mayor  FR: maire [ m, f ] ; bourgmestre (Belg.) [ m, f ] ; maïeur = mayeur (Belg.) [ m ]
รองนายกรัฐมนตรี[røng-nāyokratthamontrī] (n) EN: Deputy Prime Minister ; vice-premier
รองนายก[røng-nāyok] (n) EN: Deputy Prime Minister
รองนายกรัฐมนตรี[røng-nāyokratthamontrī] (n) EN: Deputy Prime Minister
รองนายกเทศมนตรี[røng nāyok thēsamontrī] (n, exp) EN: deputy mayor  FR: adjoint au maire [ m ] ; échevin [ m ] (Belg.)
สำนักนายกรัฐมนตรี[samnak nāyokratthamontrī] (n, exp) EN: Prime Minister's office  FR: services du Premier ministre [ mpl ]
สังฆนายก[sangkhanāyok] (n) EN: Chairman of the Ecclesiastical
สภานายก[saphānāyok] (n) EN: president ; chairman  FR: président [ m ]

English-Thai: Longdo Dictionary
Chancellor(n) นายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และของสาธารณรัฐออสเตรีย)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
encyclical(n) หนังสือที่พระสันตะปาปาในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคทอลิกมีถึงเหล่าสังฆนายกซึ่งมักเกี่ยวกับหลักคำสอน
enthrone(vt) ให้ (กษัตริย์, สังฆนายก) ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ (คำทางการ), Syn. crown
episcopacy(n) การปกครองคณะสงฆ์โดยสังฆนายก เช่น ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, Syn. bishopric
episcopal(adj) เกี่ยวกับสังฆนายก
episcopate(n) เขตปกครองหรือเขตรับผิดชอบของสังฆนายก, Syn. episcopacy
episcopate(n) คณะสังฆนายก, Syn. episcopacy
episcopate(n) ตำแหน่งของสังฆนายก, See also: สำนักงานของสังฆนายก
Lord Mayor(n) นายกเทศมนตรี (ในประเทศอังกฤษ)
mayor(n) นายกเทศมนตรี, Syn. alderman, governor, councilor
mayoral(adj) เกี่ยวกับนายกเทศมนตรี
mayoress(n) นายกเทศมนตรีหญิง
Nakhon Nayok(n) นครนายก
Nakhon Nayok(n) จังหวัดนครนายก
premier(n) นายกรัฐมนตรี
prime minister(n) นายกรัฐมนตรี, Syn. PM, leader
vice-premier(n) รองนายกรัฐมนตรี

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
alcalde(แอลแคล' ดี) n., (pl. -des) นายกเทศมนตรีที่มีอำนาจพิจารณาคดี., Syn. alcade
bishop(บิช'เชิพ) n. หัวหน้าบาทหลวง, สังฆนายก, ตัวหมากรุกฝรั่งที่เทียบเท่ากับโคนของหมากรุกไทย, See also: bishopric adj. ดูbishop
chancellery(ชาน'ชะเลอรี) n. ตำแหน่งเสนาบดี, สำนักงานเสนาบดี, รัฐมนตรี, ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของบางประเทศ, สถานเอกอัครราชฑูต, สถานกงสุลใหญ่, เจ้าหน้าที่ทั้งหมดของสถานเอกอัครราชฑูต (หรือกงสุล) , เลขานุการเอกอัครราชทูต (หรือกงสุล) , นายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ) , ตุลาการใหญ่ของบางประเ
chancellor(ชาน'ซะเลอ) n. เสนาบดี, อัครมหาเสนาบดี, นายกรัฐมนตรี, เอกอัครราชทูต, ตุลาการใหญ่, See also: chancellorship n.
commissary(คอม'มิเซอรี) n. ร้านขายอาหารและเสบียง, ที่จ่ายเสบียง, รองหัวหน้า, commissar, รองอธิบดีตำรวจ, รองนายกเทศมนตรี
lenin(เลน'นิน) n. Vladimir Ilyich นายกรัฐมนตรีโซเวียต (ค.ศ.1918-1924)
lord mayorn. นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่
mayor(เม'เออะ, แม'เออะ) n. นายกเทศมนตรี -mayoral adj., See also: mayorship n.
mayoralty(เม'เออรัลที, แม'เออรัลที) n. สำนักนายกเทศมนตรี
mayoress(เม'เออริส, แม'เออริส) n. นายกเทศมนตรีหญิง
premier(พรีเมียร์', พริมเยียร์') n. นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี. adj. เป็นหัวหน้า, นำหน้า, ครั้งแรก, เก่าที่สุด., See also: premiership n., Syn. prime minister
presidency(เพรส'ซิเดินซี) n. ตำแหน่งประธาน, ตำแหน่งประธานาธิบดี, ตำแหน่งนายก
president(เพรส'ซิเดินทฺ) n. ประธาน, นายก, ประธานาธิบดี, ประมุข, ประธานบริษัท, อธิการบด' (ของมหาวิทยาลัยอเมริกา) , คณบดี (ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ), Syn. chairman
vice chancellorn. รองอัครมหาเสนาบดี, รองนายกรัฐมนตรี, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย
vice-premier(ไวสฺ'เพรม'เมียร์) n. รองนายกรัฐมนตรี
weather stationสถานีติดตั้งเครื่องมือตรวจสภาพอากาศและทำนายการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, สถานีอุตุนิยมวิทยา

English-Thai: Nontri Dictionary
chancellor(n) อธิการบดี, อัครมหาเสนาบดี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, เลขานุการสถานทูตน
churchwarden(n) พนักงานสังฆการี, มัคนายก
commodore(n) ผู้บังคับการเรือ, นายกสโมสรเรือ, นาวาเอกพิเศษ
mayor(n) นายกเทศมนตรี
mayoralty(n) ตำแหน่งนายกเทศมนตรี, สำนักนายกเทศมนตรี
mitre(n) หมวกยศของสังฆนายก
premier(n) นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี
PRIME prime minister(n) นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี
provost(n) ประธาน, หัวหน้าพระ, นายกเทศมนตรี, พระครู

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Chancellor(n) สมุหนายก
endorsement(n) officially approved ได้รับการอนุญาต ในที่นี้หมายถึง ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
Great Offices of State(n) อำมาตย์นายก เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร
hit the road(slang) หนีหัวซุกหัวซุน เช่น นายกอภิสิทธิ์ ตอกกลับนายใจล์เรื่องการหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการสัมมนา ที่ oxford ประเทศอังกฤษว่า : If you are not hit the road , why do you stand here ?
premiership(n, adj) (พรีเมียร์', พริมเยียร์') n. นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี. adj. เป็นหัวหน้า, นำหน้า, ครั้งแรก, เก่าที่สุด. คำศัพท์ย่อย: premiership n. คำที่มีความหมายเหมือนกัน: prime minister
puppet government(n) รัรัฐบาลหุ่นเชิด รัฐบาลที่ทำงานโดยมีผู้อื่นบางการอยู่ข้างหลัง เช่น คุณสมัครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีคุณทักษิณเป็นคนคอยสั่งการ แต่งตั้ง โยกย้ายตำแหน่งต่างๆและกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนและญาติพี่น้อง แม้จะพักอาศัยอยู่ไกลถึงลอนดอนก็ตาม
quartermaster(n) นายกราบ (ทหารเรือ)

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
内閣総理大臣[ないかくそうりだいじん, naikakusouridaijin] (n) นายกรัฐมนตรี, See also: 総理大臣, 首相
総理大臣[そうりだいじん, souridaijin] (n) นายกรัฐมนตรี, See also: 首相
首相[しゅしょう, shushou] (n) นายกรัฐมนตรี

German-Thai: Longdo Dictionary
Ära(n) |die, pl. Ären| ยุคสมัย เช่น Beginn der Ära Merkel การเริ่มต้นแห่งยุคของ Merkel นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี, Syn. Epoche

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top