ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ทำปฏิกิริยา*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ทำปฏิกิริยา, -ทำปฏิกิริยา-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ทำปฏิกิริยา(v) react

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ก๊าซน. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับนํ้า ว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า.
แก๊สน. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า.
แคลเซียมคาร์ไบด์น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC<sub>2</sub> ลักษณะเป็นของแข็งสีเทา เมื่อทำปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้.
ตะเกียงแก๊สน. ตะเกียงที่ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับนํ้าได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง.
ไทเทรต(-เทฺรด) ก. หยดสารละลายหนึ่งจากหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตรซึ่งเรียกว่าบิวเรตต์ลงในสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแล้ว เพื่อให้ทำปฏิกิริยาเคมีกันจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด.
เบสน. สารเคมีซึ่งทำปฏิกิริยากับกรด แล้วให้ผลเป็นเกลือหรือเกลือกับนํ้าเท่านั้น, สารเคมีที่มีสมบัติรับโปรตอนมาจากสารอื่นได้, สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายอิเล็กตรอนคู่หนึ่งให้แก่สารอื่นได้, สารเคมีซึ่งเมื่อละลายนํ้าแล้วให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-), สารละลายที่เปลี่ยนสีลิตมัสสีแดงเป็นสีนํ้าเงินได้.
มอลโทสน. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐ °-๑๖๕ °ซ. องค์ประกอบเป็นกลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่งมีในข้าวมอลต์ ทำปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย.
สมมูลเคมีน. จำนวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทำปฏิกิริยาโดยทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุออกซิเจน.
หิ่งห้อยน. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ด้านปลายของส่วนท้องมีปล้องทำแสง ๒ ปล้องในเพศผู้ และ ๑ ปล้องในเพศเมีย โดยแสงเกิดจากสารลูซิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดตัวเมียไม่มีปีก ที่พบมากตามแหล่งน้ำจืด เช่น ชนิด <i>Luciola aquatilis</i> Thaneharoen ที่พบตามป่าชายเลน เช่น ชนิด <i>Pteroptyx malaccae</i> (Gorham), ทิ้งถ่วง แมลงแสง หรือ แมลงไฟ ก็เรียก.
อนุมูลน. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทำปฏิกิริยาด้วยกัน โดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูลไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO<sub>3</sub>).
อะตอมน. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู.
อัญรูป(อันยะ-) น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบอันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนำอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
reactโต้, แสดงปฏิกิริยา, ร่วมปฏิกิริยา, ทำปฏิกิริยา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
reactantตัวโต้, สารร่วมปฏิกิริยา, ตัวทำปฏิกิริยา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Breeder reactorเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตเชื้อเพลิง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตวัสดุฟิสไซล์ขึ้นในแบล็งเคต โดยนิวตรอนเข้าไปทำปฏิกิริยากับวัสดุเฟอร์ไทล์บางส่วนทำให้กลายเป็นวัสดุฟิสไซล์, Example: [นิวเคลียร์]
Radiolytic productผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง [นิวเคลียร์]
Free radicalอนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์]
Indirect actionการกระทำโดยอ้อม, การที่รังสีถ่ายเทพลังงานให้กับโมเลกุนของน้ำ มีผลให้เกิดอนุมูลเสรี ซึ่งมีความไวในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชีวโมเลกุล แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลนั้น [นิวเคลียร์]
Positron Emission Tomographyเป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน]
radiolytic productsเรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี [พลังงาน]
Acrylic rubber or Polyacrylate rubber (ACM)ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Chlorinated polyethylene rubberยางคลอริเนตพอลิเอทิลีนเป็นยางที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิ ลีนและคลอรีน ยางชนิดนี้มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับปริมาณของคลอรีน สมบัติโดยทั่วไปทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ โอโซน ความร้อน และสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ได้ดี มีการติดไฟต่ำ มีความเสถียรของสีสูงมาก ทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้วปานกลาง แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี นิยมใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิล ท่อยางและชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Chlorosulfonated polyethlene rubberยาง CSM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิลีนและ ของผสมของก๊าซคลอรีน (Cl2) กับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) มีหลายเกรดขึ้นกับปริมาณคลอรีนในโมเลกุล สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้ค่อนข้างดี ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซนและสภาพอากาศได้อย่างดีเยี่ยม ทนต่อการเปลี่ยนสี (discoloration) อันเนื่องมาจากแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ดีอีกด้วย แต่สามารถทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี ทนต่อกรดและสารเคมีต่างๆ ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้ดีเยี่ยม และยังทนต่อน้ำร้อนได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือ มีค่า compression set ที่ต่ำ และการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำขึ้นกับปริมาณของคลอรีน ถ้าปริมาณของคลอรีนสูงสมบัติการหักงอของยางที่อุณหภูมิต่ำจะด้อยลง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางชนิดนี้ ได้แก่ ปลอกหุ้มสายเคเบิล ท่อยาง ยางหุ้มลูกกลิ้ง ยงบุผนัง ท่อที่ต้องทนต่อกรด แผ่นยางมุงหลังคา แผ่นยางรองสระน้ำ เรือยาง เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Constant viscosity rubberยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา [เทคโนโลยียาง]
Coupling agentสารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มอันตรกิริยา (เกิดการเชื่อมโยง) ระหว่างยางกับสารเสริมแรงประเภทซิลิกาให้มีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยหมู่อัลคอกซีบนสารคู่ควบจะทำปฏิกิริยาเคมีกับหมู่ไซลานอลที่อยู่บนพื้น ผิวของซิลิกาเกิดเป็นพันธะไซลอกเซนที่เสถียร ทำให้หมู่ไซลานอลลดลง อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคของซิลิกาจึงลดลงด้วย ตัวอย่างของสารคู่ควบ ได้แก่ ไทรเอทอกซีไซลีลโพรพีลเททระซัลไฟด์ (Si-69) เมอร์แคปโตโพรพีลไทรเมทอกซีไซเลน (A-189) ไทโอไซยาเนโตโพรพีลไทเอทอกซีไซเลน (Si-264) เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Epichlorohydrinยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Ethylene propylene rubberยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Halobutyl rubberยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Polyurethane rubberยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Reinforcementความสามารถของสารตัวเติมในการเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกลเช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น โดยสารตัวเติมที่เติมลงไปนี้ไม่มีส่วนเข้าไปทำปฏิกิริยาในกระบวนการวัลคาไน ซ์ [เทคโนโลยียาง]
Storage hardeningปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น [เทคโนโลยียาง]
Antigens, Solubleทำปฏิกิริยากับแอนติเจน, แอนติเจนที่เป็นสารละลาย, แอนติเจนที่อยู่ในสารละลาย [การแพทย์]
Atoms, Bondedอะตอมที่มายึดเหนี่ยว, สองอะตอมที่มาทำปฏิกิริยากัน [การแพทย์]
Bilirubin, Directบิลิรูบินชนิดที่ทำปฏิกิริยาโดยตรง, บิลิรูบินชนิดที่ละลายน้ำ [การแพทย์]
Catalysts, Positiveตัวเร่งที่ช่วยให้สารทำปฏิกิริยา [การแพทย์]
Electron Transfer Reactionการถ่ายเทอิเล็กตรอน, ปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายอิเลกตรอนของสารที่ทำปฏิกิริยา [การแพทย์]
law of combining volumes of gasesกฎการรวมปริมาตรของแก๊ส, กฎที่กล่าวว่า เมื่อแก๊สต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากันพอดี ปริมาตรของแก๊สเหล่านั้นกับปริมาตรของแก๊สที่เกิดจากปฏิกิริยา จะเป็นอัตราส่วนของเลขจำนวนเต็มอย่างง่าย บางครั้งเรียกกฎนี้ว่า กฎของเกย์ลุสแซก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
digestionการย่อยอาหาร, การแปรสภาพสารอาหารโดยใช้เอนไซม์เข้าทำปฏิกิริยาทำให้สารอาหารโมเลกุลใหญ่มีโมเลกุลเล็กลง จนกระทั่งสามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
aerobic respirationการหายใจแบบใช้ออกซิเจน, การสลายโมเลกุลของอาหารในสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ได้พลังงานในการดำรงชีวิต โดยใช้ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
anaerobic respirationการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน, การหายใจของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและเนื้อเยื่อบางอย่างของร่างกายโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาแยกสลายโมเลกุลของอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
titrationการไทเทรต, กระบวนการหาปริมาตรของสารละลายชนิดหนึ่งที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอีกชนิดหนึ่งซึ่งทราบปริมาตรแล้ว และทราบความเข้มข้นของสารละลายชนิดใดชนิดหนึ่งที่ทำปฏิกิริยากันนี้ด้วย โดยถือว่าการเปลี่ยนแปลงของอินดิเคเตอร์ ณ จุดยุติเป็นเกณฑ์ที่บอกให้ทราบว่าสารละลายทั้งสอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
addition polymerization reactionปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม, ปฏิกิริยาเคมีที่มอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทำปฏิกิริยาการเติมซ้ำ ๆ กัน แล้วได้สารใหม่ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า  พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
synthesisการสังเคราะห์, กระบวนการในการทำให้เกิดสารประกอบที่ต้องการโดยการนำสารประกอบย่อย ๆ มาทำปฏิกิริยากันให้ได้สารประกอบโมเลกุลใหญ่หรือมีความซับซ้อนมากขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
saltเกลือ, สารประกอบที่เกิดจากกรดทำปฏิกิริยากับเบสหรือโลหะแทนที่ไฮโดรเจนในกรด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
inert gas [ noble gas ]แก๊สเฉื่อย, แก๊สมีตระกูล, ธาตุที่อยู่ในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่มีความไวในการเข้าทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุอื่นเพราะการจัดตัวของอิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อยอยู่ในสภาพเสถียร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
calcium hydroxide [ slaked lime ]แคลเซียมไฮดรอกไซด์, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมี คือ Ca(OH)2 เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีชื่อสามัญว่าปูนขาว ได้จากแคลเซียมออกไซด์หรือปูนดิบทำปฏิกิริยากับน้ำ ใช้ในการทำปูนซีเมนต์ ใช้แก้ดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
fuel cellเซลล์เชื้อเพลิง, อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใส่สารเคมีเข้าไปทำปฏิกิริยากันแล้วได้กระแสไฟฟ้าออกมา เซลล์เชื้อเพลิงแบบง่ายได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจนโดยมีแผ่นนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
transition elementธาตุแทรนซิชัน, กลุ่มธาตุในตารางธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยาโดยใช้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดมาจากระดับพลังงานนอกสุดเข้าไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
homogeneous reactionปฏิกิริยาเนื้อเดียว,   ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคเดียวกัน เช่น HCl(aq) + NaOH(aq)  ______>  NaCl(aq) + H2O(aq)   [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
heterogeneous reactionปฏิกิริยาเนื้อผสม, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคต่าง ๆ กัน อาจมี 2 หรือ 3 วัฎภาครวมกันอยู่ในระบบ เช่น  C(s) +O2(g) _______>CO2(g)    [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
reverse reactionปฏิกิริยาผันกลับได้, ปฏิกิริยาที่เกิดจากสารที่เป็นผลิตภัณฑ์ทำปฏิกิริยากันแล้วเปลี่ยนกลับไปเป็นสารตั้งต้นได้ ปฏิกิริยานี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาผันกลับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
noble metalโลหะมีตระกูล, ธาตุหรือโลหะผสมที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือทำปฏิกิริยาได้ยาก เช่น ทองคำ แพลทินัม เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
base metalโลหะไร้สกุล, ธาตุหรือโลหะผสมที่ทำปฏิกิริยาได้ง่าย เช่น เหล็กจะเกิดเป็นสนิมได้ง่าย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
initial substanceสารตั้งต้น, ตัวทำปฏิกิริยา, ดู  reactant [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
reactant [ initial substance ]สารตั้งต้น, ตัวทำปฏิกิริยา, อะตอม โมเลกุลหรือไอออนที่ทำปฏิกิริยากันแล้วได้ผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น  เช่น   HCl + NaOH ------>  NaCl +  H2O      ในปฏิกิริยานี้ HCl และ NaOH คือสารเริ่มต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
esterเอสเทอร์, สารประกอบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ทำปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ สูตรโครงสร้างทั่วไปคือ     เช่น ไขมันเป็นเอสเทอร์ชนิดหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ozoneโอโซน, ออกซิเจนรูปหนึ่ง ในแต่ละโมเลกุลจะมี 3 อะตอม เป็นแก๊สไม่มีสี มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จุดเดือด -112.4°C  จุดหลอมเหลว  - 249.7°C  มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
bile saltเกลือน้ำดี, สารที่ตับสร้างขึ้นมีอยู่ในน้ำดี สารนี้จะทำให้ก้อนไขมันมีอนุภาคเล็กลงเพื่อทำปฏิกิริยากับลิเพสได้ง่ายขึ้น ปฏิกิริยานี้จะได้กรดไขมัน และกลีเซอรอลที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
acid dissociation constantค่าคงที่การแตกตัวของกรด, ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาที่โมเลกุลหรือไออนที่เป็นกรดทำปฏิกิริยากับน้ำให้ไฮโดรเนียมไอออน นิยมใช้อักษรย่อ Ka เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่ากรดใดจะแตกตัวให้ H+ หรือ  H3O+ ได้มากน้อยเพียงใด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
chemical oxygen demand (COD)ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ  ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
viscose rayonวิสคอสเรยอง, เส้นใยสังเคราะห์ที่ได้จากการนำเซลลูโลสมาทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดซัลไฟด์  แล้วนำไปอัดผ่านรูเล็ก ๆ เป็นเส้นลงไปในสารละลายเบสอ่อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Inert, Chemicallyไม่ทำปฏิกิริยากับกรดหรือด่าง [การแพทย์]
Interactทำปฏิกิริยา [การแพทย์]
Ions, Reactiveไอออนที่พร้อมจะทำปฏิกิริยา [การแพทย์]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
It's the toxins in the river, they do strange things to your brain!ในน้ำต้องมีสารพิษแน่ๆเลย มันจะทำปฏิกิริยากับสมองของเรา Mannequin: On the Move (1991)
It reacts to everything.มันทำปฏิกิริยากับทุกสิ่ง Peaceful Warrior (2006)
If she's had Beta HCG injections, they can cross-react with...ถ้าเธอฉีดฮอร์โมน Hcg มันอาจทำปฏิกิริยากับ... Dying Changes Everything (2008)
The chemicals, they Don't react so good with leather.สารเคมีมันไม่ทำปฏิกิริยากับหนังครับ Safe and Sound (2008)
This all happened when it reacted with the saline solution.ทั้งหมดเนี่ยมันเกิดขึ้นเมื่อมันทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ Episode #3.5 (2009)
It's inert.ส่วนนี้ไม่ทำปฏิกิริยา The Bishop Revival (2010)
See, the frets are made out of nickel, and nickel reacts like this when exposed to chlorine.ลายสลักทำมาจากนิกเกิลและ นิกเกิลทำปฏิกิริยาแบบนี้เมื่อเจอกับคลอรีน The Rocker in the Rinse Cycle (2010)
Look at the size of this reaction vessel.ดูที่ขนาด ของการแยกการทำปฏิกิริยานี่สิ Más (2010)
Last time we dialed the gate, did you see how it reacted?ครั้งสุดท้ายที่เราเชื่อมต่อเ้กต เห็นมั้ยว่ามันทำปฏิกิริยายังไง? Cloverdale (2010)
The hydrogen peroxide and sodium hydroxide react with the iron present in hemoglobin and exhibit A...ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยา กับธาตุเหล็ก ในเลือด Everything Is Illumenated (2010)
It destroyed bone matter but was non-reactive with everything else.มันได้ทำลายเนื้อกระดูก แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งอื่นๆ Concentrate and Ask Again (2011)
You're working on a grant proposal for a new fusion reactor.นายกำลังจะเสนอโครงร่างเพื่อขอ เครื่องทำปฏิกิริยาฟิวชันเครื่องใหม่ The Cooper/Kripke Inversion (2013)
I'm working on a grant proposal for a new fusion reactor.ฉันก็กำลังเสนอโครงร่างเพื่อขอเครื่องทำปฏิกิริยาฟิวชันเครื่องใหม่ The Cooper/Kripke Inversion (2013)
The compass needle that people wondered at for a thousand years was not reacting to some far away magnetic North Pole.เข็มทิศที่ผู้คนสงสัยที่ มานานนับพันปีก็ ไม่ได้ทำปฏิกิริยา บางส่วนแม่เหล็กห่าง ไกลขั้วโลกเหนือ The Electric Boy (2014)
A toxic metal. And that's leeched directly into the cerebral spinal fluid.โลหะพิษ ทำปฏิกิริยาตรง กับของเหลวในสมอง Doctor Strange (2016)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
reagent(n) สารที่ใช้เป็นตัวกระทำปฏิกิริยา

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
interact(อินเทอแรคทฺ') vi. ทำปฏิกิริยากับ, มีปฏิกิริยาต่อ. n. ละครสลับฉาก, การหยุดพักระหว่างฉาก, See also: interactive adj.

German-Thai: Longdo Dictionary
reagieren(vi) |reagierte, hat reagiert| ทำปฏิกิริยา เช่น Wasser reagiert nicht mit Sauerstoff. น้ำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top