วรรณะ | (n) complexion, See also: skin, Syn. ผิว, Example: วรรณะของนางเปล่งปลั่งเพราะนางกำลังมีครรภ์ |
วรรณะ | (n) caste, See also: grade, level, degree, caste, row, rank, class, Syn. ชั้น, ชาติชั้น, ชนชั้น, ชนชั้นวรรณะ, Example: วรรณะของอินเดียนั้น คนอยู่ในวรรณใดจะต้องอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป |
ชั้นวรรณะ | (n) castes and classes, Syn. ชนชั้น, ชั้นทางสังคม, Example: มีผู้กล่าวไว้ว่าในสังคมไทยแบ่งชั้นวรรณะออกเป็น 4 ชั้นคือ ชั้นเจ้านาย ชั้นผู้ดี ชั้นไพร่ และชั้นทาส |
วรรณ-, วรรณะ | (วันนะ-) น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ |
วรรณ-, วรรณะ | ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ |
วรรณ-, วรรณะ | ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร |
วรรณ-, วรรณะ | หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. |
กษัตริย-, กษัตริย์ | คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. |
กสิณ | (กะสิน) น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งที่กำหนดอารมณ์โดยอาศัยธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), วรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียวคราม) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), อากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในการกำหนดอารมณ์ให้เหมาะกับจริตของผู้ที่จะเจริญกรรมฐาน. |
เกียรติยศ | (เกียดติยด) น. เกียรติโดยฐานะตำแหน่งหน้าที่หรือชาติชั้นวรรณะ. |
จตุรพิธพร | (-พิดทะพอน) น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกำลังแข็งแรง. |
จัณฑาล | (จันทาน) น. ลูกคนต่างวรรณะ. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ธุรำ | น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากไหล่ซ้ายเฉียงลงไปทางขวา เรียกว่า สายธุรำ, สายธุหรํ่า, ยัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก. |
ผึ้ง ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ปล้องท้องที่อยู่ติดกับส่วนอกเล็กมาก มีขนปกคลุมตามลำตัว เป็นแมลงสังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะเป็นผึ้งนางพญา ผึ้งผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงานมีถุงสำหรับเก็บเกสรดอกไม้ที่ขาหลัง และมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษ ทำให้เจ็บปวด ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย มี ๕ ชนิด เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ๔ ชนิด คือ ผึ้งหลวง ( Apis dorsataFabricius) ผึ้งโพรง ( A. cerana Fabricius) ผึ้งมิ้ม ( A. florea Fabricius) และผึ้งม้าน ( A. andrenitormis Smith) ส่วนผึ้งที่เลี้ยงกันทั่วไปนำมาจากต่างประเทศ คือผึ้งพันธุ์ (A. mellifera Linn. ), เผิ้ง ก็เรียก. |
พราหมณ-, พราหมณ์ ๑ | (พฺรามมะนะ-, พฺราม) น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. |
แพศย์ | (แพด) น. คนในวรรณะที่ ๓ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร. |
ภินวรรณ | ต่างพวก, ต่างวรรณะ. |
มด ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ที่ติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังส่วนที่คอดมีโหนกนูน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก มีรูปร่าง ลักษณะ สี และกลิ่นแตกต่างกันตามชนิด เดินกันเป็นทางเพื่อขนอาหาร หรือย้ายรัง เป็นแมลงสังคม ทำรังอยู่เป็นกลุ่ม แบ่งชั้นวรรณะเป็นมดนางพญา มดผู้ และมดงาน มดงานเป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน และหาอาหาร บางชนิดเมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยใช้อวัยวะต่อยปล่อยกรดหรือกัดให้เกิดแผลและปล่อยกรดออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือทำให้เจ็บปวดได้. |
มหาศาล | น. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก, ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอำนาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่า มีทรัพย์มาก. |
ยัชโญปวีต | (ยัดโยปะวีด) น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากไหล่ซ้ายเฉียงลงไปทางขวา, สายมงคล สายธุรำ หรือ สายธุหรํ่า ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. |
วาชเปยะ | ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดียโบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์. |
เววัณ | ว. ต่างวรรณะกัน. |
เววัณณิยะ | น. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิตต่างกับเพศคฤหัสถ์. |
เวศย์ | น. แพศย์, คนในวรรณะที่ ๓ แห่งอินเดีย คือพ่อค้า. |
ศูทร | (สูด) น. คนในวรรณะที่ ๔ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. |
สายธุรำ, สายธุหร่ำ | น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากไหล่ซ้ายเฉียงลงไปทางขวา, ยัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก. |
สายมงคล | น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากไหล่ซ้ายเฉียงลงไปทางขวา, สายธุรำ สายธุหร่ำ หรือ ยัชโญปวีต ก็เรียก. |
สีสัน | น. สีต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าร้านนี้มีสีสันสดใสดี, เดิมใช้เข้าคู่กับ วรรณะ เป็น สีสันวรรณะ, โดยปริยายหมายความว่า มีชีวิตชีวา มีจุดเด่น หรือมีลักษณะเด่น เช่น เขาจัดงานเลี้ยงได้อย่างมีสีสัน นวนิยายเรื่องนี้เขียนได้อย่างมีสีสัน. |
caste | (คาสทฺ) n. วรรณะ, ชั้น, วงศ์ตระกูล, กลุ่มของสังคม, ฐานะในสังคม adj. เกี่ยวกับชั้นวรรณะ, Syn. class, status |
class | (คลาส) { classed, classing, classes } n. ชั้น, ชนชั้น, วรรณะ, ประเภท, ชนิด, จำพวก, ระดับ, ยอดเยี่ยม, ชั้นหนึ่ง, พวกชนชั้นสูง, ท่าทาง vt. จัดแบ่งออกเป็นชั้น ๆ vi. อยู่ในชั้นหนึ่งชั้นใด |
outcaste | (เอาทฺ'คาสทฺ) n. จัณฑาล, ผู้ไม่มีวรรณะ, ผู้ถูกถอนวรรณะ |
racial | (เร'เชิล) adj. เกี่ยวกับเชื้อชาติ (ชนชาติ, มนุษยชาติ, เผ่าพันธุ์, วรรณะ, เชื้อสาย) |
untouchable | (อันทัช'ชะเบิล) adj. แตะต้องไม่ได้, แตะไม่ถึง, ห้ามแตะ, ห้ามยุ่ง, ห้ามสัมผัส. n. วรรณะจัณฑาล, สมาชิกวรรณะจัณฑาล. |