60 ผลลัพธ์ สำหรับ *ปักษ์ใต้*
หรือค้นหา: ปักษ์ใต้, -ปักษ์ใต้-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ปักษ์ใต้(n) southern part, Syn. ภาคใต้, Example: ตัวผมนั้นซาบซึ้งในนาฎศิลปของปักษ์ใต้มากเป็นพิเศษ อาหารชาวใต้ผมก็ชอบ, Thai Definition: ภูมิภาคที่อยู่ตรงข้ามกับภาคเหนือ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระ ๒น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Elateriospermum tapos</i> Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
กระเชาน. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด<i> Holoptelea integrifolia</i> (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบนบางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา หรือ กระจาว, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา.
กระซิก ๒น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด <i> Dalbergia</i><i> parviflora</i> Roxb. ในวงศ์ Leguminosae มีทางปักษ์ใต้ เนื้อไม้สีแดงคลํ้าคล้ายไม้ชิงชัน, ครี้ หรือ สรี้ ก็เรียก.
กระถินน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด<i> Leucaena leucocephala</i> (Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินยักษ์ หรือ สะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา.
กระทาน. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่และไก่ฟ้า ลำตัวกลม ขนลายเป็นกระ ปีกและหางสั้น บินได้ในระยะทางสั้น ๆ คุ้ยเขี่ยหาอาหารบนพื้นดิน กินเมล็ดพืชและแมลง เช่น กระทาทุ่ง [ <i> Francolinus pintadeanus</i> (Scopoli) ] กระทาดงคอสีแสด [ <i> Arborophila rufoyularis</i> (Blyth) ] กระทาป่าไผ่ (<i> Bambusicola fytchii</i> Anderson) กระทาดงปักษ์ใต้ [ <i> A. chaltionii</i> (Eyton) ].
กระทุน. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Rhodomyrtus tomentosa</i> (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก.
กระเทียมน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Allium sativum</i> L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
กระบอกหัวน. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า (ม. คำหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.
กระบอก ๒น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล<i> Liza, Valamugil, Oedalechilus</i> และ<i> Mugil</i> วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ <i> L. vaigiensi</i> (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ <i> L</i>.<i> parsia</i> (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ <i> V. seheli</i> (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก.
กระพี้เขาควายน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด <i> Dalbergia cultrata</i> Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
กระสุนพระอินทร์น. ชื่อกิ้งกือในสกุล <i> Sphaerotherium</i> วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด.
กระหว่าว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่ากระหว่าคนหรือนนทรี (มโนห์รา), ปักษ์ใต้ว่า หวา.
กระแห, กระแหทองน. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด <i> Barbonymus</i> <i> schwanefeldi</i> (Bleeker) หรือ <i> Puntius schwanefeldi</i> (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ.
กริงกริว(กฺริงกฺริว) ว. เล็ก, ผอม, เช่น มนุษย์น้อยกริงกริวผิวเนื้อเหลือง, ปักษ์ใต้ว่า กริ้งกริ้ว.
กล้วยหมูสังน. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด <i> Uvaria</i><i> grandiflora</i> Roxb. ex Hornem. ในวงศ์ Annonaceae มีแถบปักษ์ใต้ ดอกสีแดงเลือดนก, ย่านนมควาย ก็เรียก.
ก่อ ๒น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมีเนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ.
กอบนางน. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Chilocarpus costatus</i>Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก.
กะทังน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Litsea monopetala</i> (Roxb.) Pers. ในวงศ์ Lauraceae มีมากทางปักษ์ใต้ ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนได้.
กะพ้อ ๒น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล <i> Licuala</i> วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด <i> L. spinosa</i> Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด <i> L</i>. <i> peltata</i> Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ).
กะลา ๒น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Etlingera elatior</i> (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา.
กะลุมพีน. ชื่อปาล์มชนิด <i> Eleiodoxa conferta</i> (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี.
กังน. ชื่อลิงชนิด <i> Macaca nemestrina</i> (Linn.) ในวงศ์ Cercopithecidae ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นงอโค้งขึ้นไปทางด้านหลัง ทางปักษ์ใต้ใช้เก็บมะพร้าว, กะบุด ก็เรียก.
กางเขนน. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ <i> Copsychus saularis</i> (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ <i> C. malabaricus</i> (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า.
แก้มช้ำน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Puntius orphoides</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
แกระ ๑(แกฺระ) น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับตัดรวงข้าว ใช้ทางปักษ์ใต้.
ขมิ้น ๑(ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma longa</i> L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
ขมิ้นอ้อยน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma zedoaria</i> (Berg.) Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทำยา, ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู.
ข่อยน้ำน. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด <i> Streblus taxoides</i> (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
ข่อยหนามน. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i> Streblus ilicifolius</i> (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลำต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
ข้าวยำน. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
ขี้ยอกน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล <i> Mystacoleucus</i>วงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด <i> Mystacoleucus marginatus</i> (Valenciennes), <i> M. atridorsalis</i> Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
คูน ๑น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Colocasia gigantea</i> Hook. f. ในวงศ์ Araceae คล้ายบอน ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบทำให้สุกกินได้, ปักษ์ใต้เรียก อ้อดิบ.
เงาะ ๒น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Nephelium</i><i> lappaceum</i> L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน.
จระเข้(จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม (<i> Crocodylus</i> <i> siamensis</i>Schneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง (<i> C</i>. <i> porosus</i> Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ <i> Tomistoma</i> <i> schlegelii</i> (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้
จันทน์กะพ้อน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Vatica</i> <i> diospyroides</i> Symington ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นตามป่าดิบทางปักษ์ใต้และปลูกกันตามบ้าน ดอกขาว หอมคล้ายนํ้ามันจันทน์.
จำปูนน. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Anaxagorea</i> <i> javanica</i> Blume ในวงศ์ Annonaceae มีตามป่าดิบทางปักษ์ใต้ กลีบดอกแหลมหนาแข็ง ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาวนวล กลิ่นหอมมาก.
ชันโรง(ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล <i> Trigona</i> ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด <i> T. terminata</i> Smith, <i> T. apicalis</i> Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน.
ชาวนอกน. เรียกไทยทางปักษ์ใต้
โชงโลงน. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับวิดน้ำ ลักษณะคล้ายลูกฟักผ่าซีกและตัดครึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีคันยาวต่อออกไปทางท้ายสำหรับจับ ผูกโยงแขวนไว้กับขาหยั่ง แล้วจับคันจ้วงน้ำสาดออกไปยังที่ที่ต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, อีสานเรียก กะโซ้, พายัพเรียก กระโจ้, ปักษ์ใต้เรียก โพง.
ดาโป้งเป้งน. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล <i> Laccotrephes</i>เช่น ชนิด<i> L. ruber</i>Linn. และ <i> L. robustus</i> Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย.
ตด ๒น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นมีเสียงดัง ร้อนและมีควัน ที่สำคัญ เช่น ชนิด <i> Pheropsophus occipitalis</i> (MacLeay), <i> P. javanus</i> (Dejean), ปักษ์ใต้เรียก ขี้ตด.
ต้นตายใบเป็นน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Kalanchoe pinnata</i> (Lam.) Pers. ในวงศ์ Crassulaceae, คว่ำตายหงายเป็น โคนตายปลายเป็น หรือ ส้มเช้า ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะเร.
ตะพาบ ๑, ตะพาบน้ำน. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Trionychidae กระดองไม่มีเกล็ดเป็นแผ่นหนังอ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว บางชนิดจมูกสั้น ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย ชนิดที่พบมาก ได้แก่ ตะพาบสวน [ <i> Amyda cartilageneus</i> (Boddaert) ] ชนิดที่พบน้อย ได้แก่ ม่านลาย (<i> Chitra chitra</i> Nutphand), กริว กราว หรือ ปลาฝา ก็เรียก, ปักษ์ใต้ เรียก จมูกหลอด.
ตีนตุ๊กแกชื่อเห็ดชนิด <i> Schizophyllum commune</i>Fr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือกไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง.
ทับ ๔น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
บัวบกน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i>Centella asiatica</i> (L.) Urb. ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวกลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทำยาได้, พายัพและอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น.
บูดูน. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุงรส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดูแบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
ปักษ-, ปักษ์(ปักสะ-) น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์.
ปากใต้น. ปักษ์ใต้, ฝ่ายใต้.
เปียะน. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล <i> Freycinetia</i> วงศ์ Pandanaceae, ปักษ์ใต้เรียก เตยเลื้อย.

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Oh ? The South is in such an unfortunate place these days, and Savannah most of all. ขณะนี้ปักษ์ใต้เรา เคราะห์หามยามร้าย... The Legend of Bagger Vance (2000)

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Oh ? The South is in such an unfortunate place these days, and Savannah most of all. ขณะนี้ปักษ์ใต้เรา เคราะห์หามยามร้าย... The Legend of Bagger Vance (2000)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้[nok īeng dam pak tāi] (n, exp) EN: Asian Glossy Starling ; Philippine Glossy Starling  FR: Stourne bronzé [ m ] ; Stourne métallique [ m ] ; Étourneau malais [ m ] ; Étourneau luisant [ m ]
นกกระทาดงปักษ์ใต้[nok krathā dong pak tāi] (n, exp) EN: Chestnut-necklaced Partridge  FR: Torquéole à poitrine châtaine ; Perdrix de Charlton [ f ]
นกปากกบปักษ์ใต้[nok pākkop pak tāi] (n, exp) EN: Gould's Frogmouth  FR: Podarge étoilé [ m ]
ปักษ์ใต้[paktāi] (n, exp) EN: South ; southern part  FR: Sud [ m ] ; partie sud [ f ]

Hope Dictionary
southern(เซา'เธิร์น) adj. ไปยังทิศใต้ n. ชาวใต้, ชาวปักษ์ใต้, ภาษาปักษ์ใต้
southernern. ชาวปักษ์ใต้, ประชาชนที่อยู่ในภาคใต้,

Nontri Dictionary
south(n) ภาคใต้, ทิศใต้, ปักษ์ใต้, ทักษิณ

Time: 0.0227 seconds, cache age: 4.491 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/