กฎ | (กด) น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ (พงศ. ๑๑๓๖) |
กฎกระทรวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี. |
กฎข้อบังคับ | น. ข้อกำหนดที่กำหนดไว้เป็นแนวทางหรือระเบียบในการปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย. |
กฎทบวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎทบวง. |
กฎหมายแพ่ง | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. |
กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. |
กระบวนการยุติธรรม | น. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล. |
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ เรียกชื่อย่อว่า กบข. |
กองทุนฟื้นฟู | น. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย. |
กองทุนหมู่บ้าน | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน กองทุนดังกล่าวถ้าจัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนเมือง เรียกว่า กองทุนชุมชนเมือง. |
กองมรดก | น. ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้. |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
การประกอบโรคศิลปะ | น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ. |
แก้ฟ้อง | ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย |
ข้อกำหนดพินัยกรรม | น. ข้อความที่ระบุไว้ในพินัยกรรมในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดก หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว เช่น สิทธิในการรับมรดก การจัดการทรัพย์มรดก การโอนทรัพย์มรดก. |
ค่าธรรมเนียม | น. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่เรียกเก็บตามกฎหมาย เนื่องจากการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมการส่งออกตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน. |
คำสนอง | น. การแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งตกลงรับคำเสนอของบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นผลให้เกิดมีความผูกพันเป็นสัญญาขึ้นตามกฎหมาย. (ดู คำเสนอ ประกอบ). |
คำสั่งทางปกครอง | น. การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ. |
เงิน | วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก |
เงินตรา | น. เงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, (โบ) เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินพดด้วง ก็เรียก. |
จับ | เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า |
จับกุม | ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า. |
เจ้าพนักงาน | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายหรือแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้ปฏิบัติราชการหรือให้ใช้อำนาจรัฐ. |
ดำเนินคดี | ร้องทุกข์ กล่าวโทษ สอบสวน ฟ้องคดี หรือพิจารณาพิพากษาคดี ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ. |
ตราสาร | น. หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงฐานะหรือสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น ตราสารจัดตั้ง โฉนดที่ดิน ตั๋วเงิน. |
ตัวแทน | บุคคลผู้มีอำนาจทำการแทนบุคคลอื่นตามกฎหมาย. |
ตั๋วเงิน | น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. |
ตาม | ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. |
เถื่อน | ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน |
ทัณฑกรรม | โทษทางวินัยสถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขา งานสาธารณประโยชน์ หรือให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว. |
ทายาท | บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. |
ทายาทโดยธรรม | น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับและส่วนแบ่งที่กฎหมายกำหนดไว้. |
ทำ | ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย |
ทำ | คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ |
ทุนจดทะเบียน | น. จำนวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย และได้กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจำนวนสูงสุดของหุ้นที่จะออกจำหน่ายได้. |
โทษทางวินัย | น. โทษที่ลงแก่บุคลากรขององค์กรซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางวินัยขององค์กรที่กำหนดไว้ เช่น โทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดไว้ ๕ สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก. |
ธนบัตร | (ทะนะบัด, ทนนะบัด) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จำกัดจำนวน. |
นิติกรณ์ | น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย. |
นิติกรรมอำพราง | น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น. |
นิติการณ์ | น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย, ปัจจุบันใช้ว่า นิติเหตุ. |
นิติบุคคล | น. บุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา โดยมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ. |
นิติภาวะ | น. ความมีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสมบูรณ์ได้ด้วยตนเอง. (ดู บรรลุนิติภาวะ ประกอบ). |
โนตารีปับลิก | น. ผู้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ เอกสาร วัตถุ หรือบุคคล ในบางประเทศโนตารีปับลิก หรือแมยิสเตร็ดมีหน้าที่จัดทำเอกสารสำคัญบางชนิดให้แก่ประชาชนด้วย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทย กำหนดให้ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลไทย ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าไม่มีกงสุลไทย ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด เป็นพยาน.(อ. notary public).(ดู แมยิสเตร็ด ประกอบ). |
บรรลุนิติภาวะ | ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย. |
บังคับ | ทำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษา เช่น บังคับให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเมื่ออ้างถึงคำพูดของผู้อื่น ภาษาไทยไม่บังคับการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเคร่งครัดนัก |
บัตรธนาคาร | น. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารออกให้แก่ลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า แต่ตามกฎหมายปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่มีอำนาจออกบัตรธนาคารได้ โดยกฎหมายให้ถือว่าบัตรธนาคารที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นธนบัตรและเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย. |
บุคคลผู้ไร้ความสามารถ | น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมายหรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ. |
บุญธรรม | น. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัว ว่า ลูกบุญธรรม, ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตรบุญธรรม. |
ใบสำคัญประจำตัว | น. หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าวซึ่งนายทะเบียนได้ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว. |
ใบอนุญาตขับขี่ | น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ใบอนุญาตสำหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่. |
possession, civil | การมีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
preter legal | ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย, นอกเหนือกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
proceedings, legal | กระบวนพิจารณาตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
per legem terrae (L.) | ๑. ตามกฎหมายแห่งถิ่น๒. ตามวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย [ ดู due process of law ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal proceedings | กระบวนพิจารณาตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legality | ความถูกต้องตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legalization | การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal holiday | วันหยุดงานตามกฎหมาย, วันหยุดราชการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legal disability | ความไม่สามารถตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal discretion | ดุลยพินิจตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal division | เขตตามกฎหมาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
legal duty | หน้าที่ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal entity | สิ่งที่มีภาวะอยู่ตามกฎหมาย, องคภาวะตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal estate | ที่ดินที่บุคคลมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lawful authority | เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lawful damages | ค่าเสียหายที่เรียกร้องได้ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lawful excuse | ข้อแก้ตัวตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lawful | ถูกต้องตามกฎหมาย, ชอบด้วยกฎหมาย, ไม่ผิดกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal tender | เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legal tender | เงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal title | กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal willfulness | การจงใจละเลยหน้าที่ตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal year | ปีตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal capital | ทุนตามกฎหมาย, ทุนจดทะเบียน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal custody | การอารักขาตามกฎหมาย, การควบคุมตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal custody of child | การอารักขาเด็กตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal reserve | เงินสำรองตามกฎหมาย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal residence | ถิ่นที่อยู่ตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legal residence | ถิ่นที่อยู่ตามกฎหมาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
legal responsibility | ความรับผิดชอบตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legal responsibility | ความรับผิดชอบตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal right | สิทธิตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legal right | สิทธิตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal separation | การแยกกันอยู่ตามกฎหมาย (สามีและภรรยา) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
limitation in law | การจำกัดสิทธิตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lawless | ไม่มีกฎหมาย, ไม่เป็นไปตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
right, legal | สิทธิตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
rational efficiency; energetic efficiency; exergetic efficiency; second law efficiency | ประสิทธิภาพตามกฎข้อที่สอง [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
responsibility, legal | ความรับผิดชอบตามกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
renvoi (Fr.) | การย้อนส่ง (ตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
right ex lege | สิทธิตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
rule application | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
second law efficiency; energetic efficiency; exergetic efficiency; rational efficiency | ประสิทธิภาพตามกฎข้อที่สอง [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
statute-barred debt | หนี้ที่พ้นกำหนดฟ้องร้องตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
statutory meeting | ๑. การประชุมตั้งบริษัท (ก. พาณิชย์)๒. การประชุมตามกฎหมาย (ก. ทั่วไป) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
statutory owner | เจ้าของตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stated capital | ทุนเรือนหุ้น, ทุนตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
open contract | สัญญาเปิด (ให้รายละเอียดเป็นไปตามกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
application, rule | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
act of law | กรณีย์ที่เป็นไปตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Clearance | การปล่อยผ่าน, 1. การให้สารกัมมันตรังสีหรือวัสดุกัมมันตรังสีพ้นจากการดำเนินการภายใต้การควบคุมทางด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย 2. กระบวนการทางชีววิทยาในการขจัดสารกัมมันตรังสีออกจากอวัยวะหรือร่างกาย [นิวเคลียร์] |
Routine monitoring | การเฝ้าสังเกตประจำ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงว่า สภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งระดับของปริมาณรังสีรายบุคคล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การเฝ้าสังเกตประจำ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือการเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation protection | การป้องกันรังสี, การดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ และวิธีปฏิบัติ ซึ่งกำหนดขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีและประชาชนทั่วไปได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ALARA: as low as reasonably achievable) [นิวเคลียร์] |
Radiation area | บริเวณรังสี, บริเวณที่มีรังสีในปริมาณที่กำหนดไม่ว่ารังสีนั้นจะมาจากวัสดุกัมมันตรังสี หรือ เครื่องกำเนิดรังสี <br>ปริมาณรังสีที่กำหนดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 เท่ากับหรือมากกว่า 25 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี</br> [นิวเคลียร์] |
Conscientious objection | การปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่ขัดต่อมโนธรรม [TU Subject Heading] |
agreement (accord) | ความตกลง ความตกลงระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ ความตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย และความตกลงที่ไม่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
double criminality | ความผิดตามกฎหมายของทั้ง 2 ประเทศ ใช้ในกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Inviolability | หมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
No Objection Certificate | เป็นเอกสารรับรองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กระทรวงการต่างประเทศไทยไม่มีข้อขัดข้องสำหรับบุคคลที่จะนำเอกสารนี้ไปใช้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศตามคำร้องขอของรัฐบาล ปากีสถาน หรือใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่าจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งตาม ที่ต่างประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด กรณีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาโดยวีซ่านักเรียน แต่ภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
null and void | เป็นโมฆะ ยกเลิกตามกฎหมาย [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
punishable offence | การกระทำผิดที่มีโทษตามกฎหมาย [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
valid | ที่มีผลตามกฎหมาย [การทูต] |
War Crimes | อาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ | คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ , คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ [พลังงาน] |
ผู้ค้าน้ำมัน | ผู้ค้าน้ำมัน, ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม [พลังงาน] |
พลังงานสิ้นเปลือง | พลังงานสิ้นเปลือง, ตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานหมายความรวมถึงพลังงานที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ เป็นต้น [พลังงาน] |
สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] |
Abortion, Legal | การทำแท้งถูกกฎหมาย, การทำแท้งโดยถูกต้องตามกฎหมาย [การแพทย์] |
Birth, Legitimate | การเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย [การแพทย์] |
lone pair electrons | อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว, เวเลนซ์อิเล็กตรอนคู่ใดคู่หนึ่งของอะตอมซึ่งไม่ได้มีส่วนในการสร้างพันธะ แต่มีความสำคัญในการทำให้อะตอมนั้น ๆ มีจำนวนอิเล็กตรอนครบตามกฎออกเทต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Maxwell's distribution of speeds | กฎการแจกแจงอัตราเร็วของแมกซ์เวลล์, อัตราเร็วของโมเลกุลของแก๊ส เป็นไปตามกฎทางสถิติ คือ โมเลกุลของแก๊สส่วนใหญ่มีอัตราเร็วใกล้เคียงกับอัตราเร็วเฉลี่ย โมเลกุลที่เร็วมากและช้ามากจะมีอยู่จำนวนน้อย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ideal gas | แก๊สอุดมคติ, แก๊สที่ถือว่ามีสมบัติเป็นไปตามกฎของแก๊สทุกประการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
action-reaction pair | แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา, แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน (ดู Newton 's laws of motion ประกอบ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
age | (n) การเป็นผู้ใหญ่ตามกฎหมาย, See also: นิติภาวะ |
antipope | (n) สันตะปาปาที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อค้านกับองค์ที่ถูกเลือกขึ้นตามกฎของคาทอลิก |
authentic | (adj) มีผลตามกฎหมาย |
allow to | (phrv) ยินยอมให้ตามกฎหมาย (มักเป็นเงิน), See also: ยอมให้, อนุญาตให้ |
bohemian | (n) ผู้ดำรงชีวิตแตกต่างจากคนอื่น (แบบไม่ทำตามกฎทางสังคม) |
be in order | (phrv) ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ (โดยเฉพาะการพูดอย่างเป็นทางการ), See also: ถูกกฎข้อบังคับ, Syn. be out of |
certify | (vt) ประกาศว่าวิกลจริตตามกฎหมาย |
de jure | (adj) ตามกฎหมาย, See also: โดยกฎหมาย, Syn. legal |
de jure | (adv) ตามกฎหมาย, See also: โดยกฎหมาย, Syn. legally |
enforcement | (n) การบังคับใช้, See also: การบังคับใช้ตามกฎหมาย, การดำเนินการ |
escheat | (n) การเวนคืนทรัพย์สินของคนที่เสียชีวิตให้เป็นของรัฐ เนื่องจากไม่มีผู้รับมรดกที่ถูกต้องตามกฎหมาย |
execute | (vt) บังคับตามกฎหมาย, See also: บังคับใช้ตามกฎหมาย |
execution | (n) การบังคับตามกฎหมาย, See also: การบังคับใช้ตามกฎหมาย |
fair | (adv) อย่างยุติธรรม, See also: อย่างเที่ยงธรรม, ถูกต้องตามกฎ |
get within | (phrv) ปฏิบัติตามกฎหมาย, Syn. fall within |
heritor | (n) ผู้รับมรดก (ตามกฎหมาย) (คำโบราณ), Syn. inheritor |
out of keeping with | (idm) ไม่ทำตามกฎหรือสิ่งอื่น |
toe the line | (idm) แค่ทำตามที่ต้องการ, See also: แค่ทำตามกฎ |
incorporated | (adj) ที่เป็นรูปบริษัท, See also: ซึ่งก่อตั้งเป็นบริษัทตามกฎหมาย, Syn. corporate |
keep on the rails | (idm) ทำถูกต้องตามกฎหมาย |
keep on the right side of the law | (idm) ประพฤติถูกต้องตามกฎหมาย, Syn. remain on, stay on |
judiciary | (n) การพิจารณาคดีตามกฎหมาย |
just | (adj) ถูกต้องตามกฎหมาย, Syn. rightful, lawful |
justice | (n) ความถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ความชอบด้วยกฎหมาย, Syn. legitimacy |
kosher | (adj) ที่สามารถกินได้ (ตามกฎของยิว) |
law-abiding | (adj) ที่ทำตามกฎหมาย, Syn. dutiful, lawful, Ant. opposed, disobedient |
lawful | (adj) ซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ซึ่งชอบด้วยกฎหมาย, Syn. legal |
legal | (adj) ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย |
legal | (adj) ถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ถูกกฎหมาย, ชอบด้วยกฎหมาย, Syn. licit, legitimate, lawful, Ant. illicit, illegal, unlawful |
legality | (n) ความถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ความชอบด้วยกฎหมาย |
legalization | (n) การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย, See also: การให้อำนาจตามกฎหมาย, Syn. authorization, validity, legitimization, enactment, legislation, Ant. proscription, outlaw |
legalize | (vt) ทำให้ถูกกฎหมาย, See also: การให้อำนาจตามกฎหมาย, Syn. authorization, validity, legitimization, enactment, legislation |
legally | (adv) อย่างถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ทางนิตินัย, อย่างชอบด้วยกฎหมาย, อย่างถูกกฎหมาย, Syn. lawfully, de jure |
legitimate | (adj) ถูกต้องตามกฎหมาย, See also: ชอบด้วยกฎหมาย, Syn. lawful, licit, legal |
legitimate | (vt) ทำให้เป็นบุตรถูกต้องตามกฎหมาย |
legitimate | (adj) ที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งสมรสกันตามกฎหมาย, See also: ที่เป็นบุตรตามกฎหมาย |
legitimate | (vt) พิสูจน์ให้เห็นว่าถูกต้องตามกฎหมาย |
liable | (adj) ซึ่งรับผิดชอบตามกฎหมาย, See also: เป็นความรับผิดชอบ |
null and void | (idm) ไม่มีผลตามกฎหมาย, See also: เป็นโมฆะ |
opening time | (n) เวลาเปิดของร้านเหล้า (ตามกฎหมาย) |
outlaw | (vt) ทำให้คนไม่มีสิทธิตามกฎหมาย |
outlawry | (n) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย |
penal | (adj) เกี่ยวกับการลงโทษตามกฎหมาย, See also: แห่งอาญา |
posse | (n) กองกำลังติดอาวุธที่มีอำนาจตามกฎหมาย, Syn. armed band, police force, vigilantes |
power of attorney | (n) อำนาจในการกระทำแทนผู้อื่นตามกฎหมาย |
prescribe | (vt) กำหนด (ตามกฎหมาย) |
prescript | (adj) ซึ่งกำหนดตามกฎไว้ |
proceedings | (n) วิธีการทางกฎหมาย, See also: การดำเนินการตามกฎหมาย |
proscribe | (vt) เนรเทศ, See also: ห้าม ตามกฎหมาย, Syn. banish, exile, outlaw, forbid |
prosecution | (n) การฟ้องร้อง, See also: การดำเนินคดีตามกฎหมาย, Syn. pursuit, pursuance |
able | (เอ' เบิล) adj. สามารถ, เก่ง, หลักแหลม, มีคุณสมบัติตามกฎเกณฑ์, สมบูรณ์, Syn. skilled |
anomalistic | (อะนอม' มะลิสทิค) adj. ซึ่งผิดปกติวิปริต, ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์, ผิดหลัก, ผิดที่ |
anomalous | (อะนอม' มะเลิส) adj. ผิดปกติ, ผิดหลัก, ผิดที่, ผิดปกติ, วิปริต, ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์. -anamalousness n., Syn. irregular, abnormal, Ant. regular, normal |
antipope | (แอน' ทิโพพ) n. ผู้ที่อ้างเป็นสันตะปาปา, การเลือกสันตะปาปาที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ |
appanage | (แอพ'พะเนจ) n. ที่ดินหรือรายได้รับตามระบบศักดินาแก่สมาชิกราชวงศ์กษัตริย์, ทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย |
bastard | (แบส'เทิร์ด) n. ลูกไม่มีพ่อ, ลูกนอกกฎหมาย, พันทาง, สิ่งสารเลว, สิ่งปลอมแปลง, วายร้าย, อ้ายชั่ว adj. เกิดแบบไม่ถูกต้องตามกฎหมาย, ผิดปกติ, พิกล, เลว, ปลอม, เชื่อถือไม่ได้, ทำให้ผิดกฎหมาย), See also: bastardly adj. ดูbastard bastardy n. ดูbastard |
chartered accountant | n. ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้เป็นผู้สอบบัญชี' |
chartered bank | n. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย |
civilly | (ซิฟ'วิลลี) adv. เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง, สุภาพ, มีอัธยาศัย, มีใจเอื้อเฟื้อ |
contraband | (คอน'ทระแบนดฺ) n. ของต้องห้ามตามกฎหมาย, ของเถื่อน, การค้าเถื่อน, การลักลอบขนสินค้า adj. เป็นสินค้าเถื่อน, ซึ่งห้ามไม่ให้ส่งออกหรือสั่งเข้าประเทศ, Syn. excluded |
dejure | (ดีจัว'รี) ตามกฎหมาย, ตามลัทธิ |
enforce | (เอนฟอร์ส') vt. ทำให้ปฎิบัติตาม, ใช้กำลังบังคับ, บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย, See also: enforceability n. ดูenforce enforcer n. ดูenforce enforcive adj. ดูenforce enforcement n. ดูenforce |
execute | (เอค'ซะคิวทฺ) vt. ปฎิบัติ, บริหาร, ประหารชีวิต, บังคับตามกฎหมาย., See also: executable adj. executer n. กระทำการหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม หลังจากที่มีการแปลโปรแกรมนั้น compile ออกเป็นภาษาเครื่อง machine language แล้วดู compile และ machine language ประกอบ |
execution | (เอคซะคิว'เชิน) n. การปฎิบัติ, การทำให้สำเร็จ, การดำเนินการ, การกระทำ, การบริหาร, การประหารชีวิต, การแสดง (ดนตรี, ฝีมือขับร้องหรืออื่น ๆ) , การบังคับตามกฎหมาย. |
executive | (เอคเซค'คิวทิฟว) n. ผู้บริหาร, นักบริหาร adj. เกี่ยวกับการปฎิบัติให้ลุล่วงไปด้วยดี, เกี่ยวกับการบังคับตามกฎหมาย, เกี่ยวกับการบริหาร, Syn. directing |
fatherless | adj. ไม่มีพ่อ, ไม่มีพ่อตามกฎหมาย |
hacker | (แฮค' เคอร์) n. ผู้ที่ทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ, ผู้ที่สนใจเรียนรู้คอมพิวเตอร์อย่างจริงจังจนเกินไป, คำนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกพวกที่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น แอบขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือแอบแก้ตัวเลขในธนาคารเพื่อถอนเงินออกมาใช้เอง คำว่า hack อาจหมายถึงการแอบปรับแก้หรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ก็แก้แล้วยิ่งกลับทำให้แย่ลง |
heir at law | ทายาทโดยธรรม, ทายาทผู้สืบทอดมรดกตามกฎหมาย |
incompetent | (อินคอม' พิเทินทฺ) adj. ไม่มีความสามารถ, ไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย. -n. ผู้ไร้ความสามารถ, Syn. inexpert, unskilful, unable, incapable, Ant. competent |
interest | (อิน'เทอริสทฺ) n. ความสนใจ, เรื่องที่น่าสนใจ, บุคคลที่น่าสนใจ, ผลประโยชน์, สิทธิตามกฎหมาย, ลักษณะสำคัญ, ดอกเบี้ย, อาชีพ. vt. กระตุ้นความสนใจ, เกี่ยวข้อง, นำเข้ามาร่วม, Syn. share, profit, attraction, attract, arouse |
judicature | (จู'ดะเคเชอะ) n. การพิจารณาอรรถคดีตามกฎหมาย, ผู้พิพากษาทั้งหลาย, อำนาจในการพิพากศาอรรถคดี, ศาลยุติธรรม, กฎหมาย |
judicial | (จูดิช'เชิล) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีตามกฎหมาย, เกี่ยวกับศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับผู้พิพากษา, เกี่ยวกับกฎหมาย, ซึ่งเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า, Syn. legal, juridical |
judiciary | (จูดิช'ชีเออรี) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีของศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับผู้พิพากษา n. การพิจารณาคดีตามกฎหมาย, ศาลยุติธรรม, ระบบศาล, การะทรวงยุติธรรม, ผู้พิพากษาทั้ง, หลาย, Syn. legal, discerning |
law-abiding | (ลอ'อะไบ'ดิง) adj. ปฏิบัติตามกฎหมาย., See also: law-abidingness n. ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย. |
lawful | (ลอ'ฟูล) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ปฏิบัติตามกฎหมาย, เคารพกฎหมาย, See also: lawfulness n. ดูlawful |
legal | (ลี'เกิล) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ชอบด้วยกฎหมาย, ตามกฎหมาย, แห่งนิตินัย., See also: legals n. สิทธิตามกฎหมาย, พันธบัตรที่นำมาลงทุนได้ตามกฎหมาย. |
legal separation | n. การหย่าร้างกันตามกฎหมาย |
legal tender | n. ตั๋วเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย |
legalise | (ลี'กัลไลซ) vt. ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย, ให้อำนาจ., See also: legalization n. ดูlegalize legalisation n. ดูlegalize, Syn. authorize |
legality | (ลิแกล'ลิที) n. ความถูกต้องตามกฎหมาย, การปฏิบัติตามกฎหมาย, หน้าที่หรือความรับผิดชอบด้วยกฎหมาย |
legalize | (ลี'กัลไลซ) vt. ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย, ให้อำนาจ., See also: legalization n. ดูlegalize legalisation n. ดูlegalize, Syn. authorize |
legitimacy | (ลิจิท'ทะมะซี) n. ความถูกต้องตามกฎหมาย, ความชอบด้วยกฎหมาย, ความถูกต้องสมควร, ความมีสิทธิตามกฎหมาย, ความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, ความถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี |
legitimate | (ลิจิท'ทะเมท) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ถูกต้องสมควร, มีสิทธิตามกฎหมาย, ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี, โดยการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย vt.ทำให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย, ทำให้ชอบด้วยกฎหมาย, มอบอำนาจ., See also: legitimateness n. ดูlegitimate legitimation n. ดูlegimate, Syn. lawful, legal, licit |
liable | (ไล'อะเบิล) adj. โน้มเอียง, โน้มน้าว, อาจจะ, ง่ายต่อ, รับผิดชอบ (ตามกฎหมาย) |
licence | (ไล'เซินซฺ) n. ใบอนุญาต, การอนุญาต, การอนุมัติ, สิทธิการดำเนินการ, สิทธิในการใช้สิทธิบัตรของคนอื่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย vt. ออกใบอนุญา, ให้อำนาจ., See also: licenser n. ดูlicence licensor n. ดูlicence, Syn. permit |
license | (ไล'เซินซฺ) n. ใบอนุญาต, การอนุญาต, การอนุมัติ, สิทธิการดำเนินการ, สิทธิในการใช้สิทธิบัตรของคนอื่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย vt. ออกใบอนุญา, ให้อำนาจ., See also: licenser n. ดูlicence licensor n. ดูlicence, Syn. permit |
normally | (นอร์'เมิลลี) adv. ตามธรรมดา, ตามกฎ, โดยทั่วไป, Syn. regulary |
observant | (อับเซอ'เวินทฺ) adj. ระวัง, เอาใจใส่เคร่งครัด, ตาไว, คอยดู, ช่างสังเกต, ซึ่งรักษาวินัย, ซึ่งปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่.n. ผู้ปฏิบัติตาม, ผู้รักษาวินัย, Syn. attentive |
observation | (ออบเซอเว'เชิน) n. การสังเกต, การปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่, ข้อสังเกต, ความเห็น, ข้อเตือนใจ, ข้อมูล, ข้อความ, ข่าว, สิ่งที่ได้จากการสังเกต, Syn. perception |
penal | (เพน'เนิล) adj. เกี่ยวกับการลงโทษตามกฎหมาย, เกี่ยวกับอาญา, เกี่ยวกับการปรับไหม., See also: penality n. |
petit larceny | n. การลักทรัพย์เล็ก ๆ น้อย ๆ (มีค่าต่ำกว่าหนึ่งชิลลิงตามกฎหมายอังกฤษ) |
petty larceny | n. การลักทรัพย์เล็ก ๆ น้อย ๆ (มีค่าต่ำกว่าหนึ่งชิลลิงตามกฎหมายอังกฤษ) |
posse | (โพส'ซี) n. กองกำลังติดอาวุธที่มีอำนาจตามกฎหมาย, |
proceeding | (พระซี'ดิง) n. การดำเนินการ, ขั้นตอน, วิธีการ, ขบวนการ, แนวทาง, , See also: proceedings กิจกรรมที่ดำเนินต่อเนื่องในระยะหนึ่ง, การปฏิบัติตามกฎหมาย, วิธีการทางกฎหมาย |
regular | (เรก'กิวละ) adj. ปกติ, ธรรมดา, สามัญ, เป็นประจำ, สม่ำเสมอ, เป็นกิจวัตร, ตามกฎ, มีกฎเกณฑ์, มีระเบียบ, ตามระเบียบ, ตามแบบแผน, ถูกต้องตามกฎเกณฑ์, เกี่ยวกับทหารประจำการ, (กาแฟ) มีปริมาณปกติของนมหรือครีม n. ลูกค้าประจำ, ทหารอาชีพ, ทหารประจำการ, สมาชิกพรรคที่ยึดถือนโยบายของพรรค |
right | (ไรทฺ) adj. ถูก, ถูกต้อง, ปกติ, เป็นธรรม, ยุติธรรม, (ด้าน) หน้า, (ด้าน) บน, (ข้าง) ขวา, ตรงไป, เป็นมุมฉาก n. ธรรม, ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, สิทธิ, สิทธิตามกฎหมาย, การหันขวา, การเลี้ยวขวา, ฝ่ายที่ถูกต้อง, สมาชิกฝ่ายขวา, สมาชิกรัฐสภาที่นั่งอยู่ทางด้านขวาของประธานสภา vt. ทำให้เรียบร้อย, ทำให่เหทาะสม, แก้แค้น, แก้ไข vi. ทรงตัว, ตั้งตรง adv .เป็นเส้นตรง, อย่างถูกต้อง, แม่นยำ, เหมาะสม |
rounding off | การปัดเศษหมายถึง การตัดตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุดออก เพื่อให้ตัวเลขกลม แม้จะมีค่าผิดพลาดบ้าง แต่ก็ควรให้น้อยมากจนสามารถยอมรับได้ เช่น 1, 048, 576 ไบต์ ปัดเศษให้เหลือเพียง 1 ล้านไบต์ เรียกว่า 1 เมกะไบต์ (รับรองตามกฎหมายของสหรัฐ) |
settlement | (เซท'เทิลเมินทฺ) n. การจัดการ, การแก้ปัญหา, การชำระหนี้, การชำระบัญชี, การตั้งถิ่นฐาน, การตั้งรกราก, การตั้งหลักฐาน, การตั้งกิจการ, นิคม, อาณานิคม, ชุมชน, การมอบทรัพย์สิน, ทรัพย์สิน, กองทุน, ถิ่นที่อยู่ตามกฎหมาย, การค่อย ๆ จมลง |
statute of limitations | n. อายุความ, กฎหมายกำหนดระยะเวลาการบังคับตามกฎหมาย |
unconventional | (อันคอนเวน'เชินเนิล) adj. ไม่เป็นไปตามกฎทั่วไป |