ตวาด | (ตะหฺวาด) ก. แผดเสียงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจ. |
กระโชกกระชาก | ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง. |
ขี้ขึ้นขมอง, ขี้ขึ้นสมอง | น. ความรู้สึกตกใจกลัวจนไม่คิดหน้าคิดหลัง เช่น พอได้ยินเสียงตวาดก็ขี้ขึ้นสมองแล้ว, มักใช้ประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจนขี้ขึ้นขมอง หรือ กลัวจนขี้ขึ้นสมอง. |
ซั้ว ๑ | ว. คำร้องตวาดเสียงดังอย่างนั้น เป็นเสียงสำหรับไล่ไก่เป็นต้น. |
ตะคอก | ก. ตวาด, ขู่เสียงดัง. |
ตะเพิด | ก. ตวาดให้หนีไป, ไล่ส่งไป, โบราณเขียนเป็น กระเพิด ก็มี. |
แว้ด | ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. |
สิงหนาท | น. พระราชดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท ก็ว่า. |
สุรสีหนาท | น. พระดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวงเหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก. |
เสียงเกรี้ยว | ว. อาการที่เปล่งเสียงอย่างโกรธจัด เช่น เขาคงกำลังโกรธอยู่ เราพูดด้วยดี ๆ กลับตวาดเสียงเกรี้ยว, เสียงเขียว ก็ว่า. |
เสียงเขียว | ว. อาการที่เปล่งเสียงอย่างโกรธจัด เช่น เขาเข้าไปผิดจังหวะ หัวหน้ากำลังโกรธอยู่ เลยถูกตวาดเสียงเขียว, เสียงเกรี้ยว ก็ว่า. |
เหม่, เหม่ ๆ | (เหฺม่) อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. |
อุเหม่ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, เหม่ หรือ เหม่ ๆ ก็ว่า. |