กินนร | (-นอน) น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป. |
กินนรเก็บบัว | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวังสวาทปลิดสวาทบำราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว. |
กินนรฟ้อนโอ่ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างใดข้างหนึ่งตั้งหงาย หักข้อมือระดับแง่ศีรษะ อีกมือหนึ่งตั้งวงกลางข้างลำตัว แขนตึง. |
กินนรรำ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึงเฉียงไปด้านหน้าเล็กน้อย เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง |
กินนรรำ | ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับสองไม้ |
กินนรรำ | ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย. |
กินนรเลียบถ้ำ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึง ระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงายระดับชายพก เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่แขนตึง, กินรินเลียบถ้ำ ก็ว่า. |
กิงบุรุษ | น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
กินริน, กินรี | (กินนะริน, กินนะรี) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
กินรินเลียบถ้ำ | ดู กินนรเลียบถ้ำ. |
สัตว์หิมพานต์ | (-หิมมะ-) น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ. |