8 ผลลัพธ์ สำหรับ -กวางชะมด-
หรือค้นหา: -กวางชะมด-, *กวางชะมด*
เนื่องจากผลลัพธ์มีน้อย ระบบจึงเปลี่ยนคำค้นเป็น *กวางชะมด*

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กวางชะมด<i>ดู ชะมด ๒</i>.
กวาง ๑(กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ <i> Rangifer tarandus</i> (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า (<i> Cervus unicolor</i> Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ (<i> Hydropotes inermis</i> Swinhoe).
ชะมด ๒น. ชื่อกวางในสกุล <i> Moschus</i> วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (<i> Moschus moschiferus</i> Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ <i> M</i>. <i> chrysogaster</i> (Hodgson) ] กวางชะมดดำ (<i> M. Fuscus</i> Li) และกวางชะมดป่า (<i> M. berezovskii</i> Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
ชะมดเชียงน. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. <i> (ดู กวางชะมด ประกอบ)</i>.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กวางชะมด<i>ดู ชะมด ๒</i>.
กวาง ๑(กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ <i> Rangifer tarandus</i> (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า (<i> Cervus unicolor</i> Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ (<i> Hydropotes inermis</i> Swinhoe).
ชะมด ๒น. ชื่อกวางในสกุล <i> Moschus</i> วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (<i> Moschus moschiferus</i> Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ <i> M</i>. <i> chrysogaster</i> (Hodgson) ] กวางชะมดดำ (<i> M. Fuscus</i> Li) และกวางชะมดป่า (<i> M. berezovskii</i> Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
ชะมดเชียงน. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. <i> (ดู กวางชะมด ประกอบ)</i>.

Time: 0.6516 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/