ท่วงที | น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง. |
ทันท่วงที | ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กระลา ๑ | น. ท่วงที. (อนันตวิภาค) |
กระแหน่ | น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า (ลอ). |
เขบ็จขบวน | (ขะเบ็ดขะบวน) น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที. |
เข้าที | ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสำเร็จ. |
คุมเชิง | ก. คอยระวังท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
จริยวัตร, จริยาวัตร | ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท. |
เฉพาะหน้า | ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า. |
ชั้นเชิง | น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า. |
เชิง ๒ | ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง |
เชิงชั้น | น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า. |
ทันกิน | ก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน. |
ท่า ๒ | น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายในอิริยาบถหนึ่ง ๆ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน |
ท่า ๒ | ชั้นเชิง, ท่วงที, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า. |
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา | (ปะติพานะ-) น. ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที, เป็นธรรมข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรม-ปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. |
แผ่แง่ | ก. แสดงท่าทางท่วงทีเป็นชั้นเชิง. |
พระมาลัยมาโปรด | น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กำลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที. |
พริบไหว | น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ. |
ยักท่า | ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
สอบสัมภาษณ์ | ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่. |
สัมภาษณ์ | การสอบท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. |
เสียที ๑ | ก. พลาดท่วงที เช่น คนซื่อเกินไปมักเสียทีคนปลิ้นปล้อน. |
หน่วยก้าน | น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไปได้ไกล. |
หูผีจมูกมด | ว. รู้เรื่องอะไรได้เร็วทันท่วงที. |