Search result for

*กฎบัตร*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: กฎบัตร, -กฎบัตร-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
กฎบัตร(n) charter, See also: license, Example: ใน ค.ศ.1600 บริษัทอังกฤษอินเดียตะวันออกได้รับพระราชทานกฎบัตร จากพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ
กฎบัตรสหประชาชาติ(n) United Nations Charter, See also: Charter of the United Nations, Example: ในวันที่ 24 ตุลาคม 2488 มีการประกาศกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งลงนามรับรองโดย 5 ประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์การสหประชาชาติ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กฎบัตรน. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ.
กฎบัตรกฎหมายน. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย.
กฎบัตรสหประชาชาติน. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การสหประชาชาติ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
referendum, mandatoryการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Social Charterกฎบัตรทางสังคม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
municipal charterกฎบัตรจัดตั้งเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
mandatory referendumการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Magna Carta (L.)แมกนาคาร์ตา, มหากฎบัตร (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Magna Cartaมหากฎบัตร, แมกนาคาร์ตา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
charterกฎบัตร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
charter๑. กฎบัตร (ก. ระหว่างประเทศ) [ ดู carta ]๒. พระบรมราชานุญาต (ก. อังกฤษ)๓. สัญญาเช่าเหมาเรือ (หรือเครื่องบิน) (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Charter of the United Nationsกฎบัตรสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
charter, municipalกฎบัตรจัดตั้งเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Charta; Magna Cartaมหากฎบัตร (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
carta (L.)กฎบัตร [ ดู charter ความหมายที่ ๑ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Chartersกฎบัตร , กฎบัตร [TU Subject Heading]
Charters, grants, priviledgesกฎบัตร, การให้สิทธิ, เอกสิทธิ์ , กฎบัตร, การให้สิทธิ, เอกสิทธิ์ [TU Subject Heading]
Municipal chartersกฎบัตรการจัดตั้งเทศบาล , กฎบัตรการจัดตั้งเทศบาล [TU Subject Heading]
Chartersกฎบัตร [TU Subject Heading]
Charters, grants, priviledgesกฎบัตร, การให้สิทธิ, เอกสิทธิ์ [TU Subject Heading]
United Nations. Chartersสหประชาชาติ. กฎบัตร [TU Subject Heading]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
African Unionสหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต]
Amendments to the Charter of the United Nationsการแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต]
ASEAN Charterกฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต]
charterกฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตร สหประชาชาติ [การทูต]
Humanitarian Interventionการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต]
International Court of Justiceศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต]
Judicial Settlementการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต]
North Atlanitc Treaty Organizationองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต]
Organization of American Statesคือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต]
Open Diplomacyคือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต]
Pacific Charterคือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต]
Pacific Settlement of International Disputesหมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต]
Regional Organizationsคือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต]
sanctionการคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต]
Sanctionsการบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต]
United Nations Emergency Forceกองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต]
United Nations Security Councilคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ " ประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ 15 ประเทศ แบ่งออกเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งจากสมัชชาฯ อีก 10 ประเทศ มีกำหนดคราวละ 2 ปี คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยกระทำในนามของสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจ- ฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงฯ " [การทูต]
War Crimesอาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต]
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoplesงานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต]
Work of the United Nations on Human Rightsงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Charter fishing.กฎบัตรการประมง The Shawshank Redemption (1994)
You're talking about a federal offense.คุณกำลังพูดถึงละเมิด กฎบัตรของสหพันธ์ Black Swan (2009)
Are we using Mark's Red Panda plan? No.นั่นฝ่ากฎบัตรระหว่าง ประเทศนับสิบๆ ข้อเลย Blowback (2010)
Tell them we're aid workers with Red Panda resources, a relief organization, protected under articles 59 through 63 of the Geneva convention.บอกพวกเขา เราทำงานให้กับ ขององค์การแพนด้าแดง ที่เป็นองค์การ บรรเทาทุกข์ ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎบัตรข้อที่ 59 ถึง 63 Better Angels (2010)
Quite shocking how few people study the town charter.น่าตกใจ ที่มีคนน้อยมากที่ศึกษาเรื่องกฎบัตรของเมือง Desperate Souls (2012)
Following the death of Constantine, Katherine's bone were unearthed, sold and distributed between the seven wealthiest churches in Europe, until a charter of protection was placed upon the rest of her remains, to this day the which lie within her monastery on Mount Sinai.หลังจากการตายของคอนสแตนติกระดูกแคทเธอรีถูกขุด ขายและจัดจำหน่ายระหว่างเจ็ดคริสตจักรที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรป จนกว่าจะมีกฎบัตรของการป้องกันที่ถูกวางอยู่บนส่วนที่เหลือของเธอยังคงที่ Decline of an Empire (2014)
Unauthorized use of firearms will be punishable as a felony under the Exodus Charter.ใช้อาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะโทษว่าเป็นความผิดทางอาญา ภายใต้กฎบัตรอพยพ Inclement Weather (2014)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
กฎบัตร[kotbat] (n) EN: charter  FR: charte [ f ]
กฎบัตรกฎหมาย[kotbat kotmāi] (n, exp) EN: the laws ; legal matters
กฎบัตรสหประชาชาติ[Kotbat Sahaprachāchāt] (n, prop) EN: United Nations Charter  FR: Charte des Nations unies [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
charter(n) กฎบัตร, See also: เอกสารทางการ, รัฐธรรมนูญ
United Nations Charter(n) กฎบัตรสหประชาชาติ

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
charter(ชาร์'เทอะ) { chartered, chartering, charters } n. ตราตั้ง, กฎบัตร, กฎหมาย, สัญญาเช่าเรือ, สัญญาเช่า, สิทธิพิเศษ, สิทธิยกเว้น, หนังสือรับรอง, ประกาศนียบัตร -vt. อนุญาตด้วยตราตั้ง, ให้สิทธิพิเศษ. -adj. เช่ามา, เหมา, See also: charterer n. -Conf. chartered กริยาช

English-Thai: Nontri Dictionary
charter(n) ใบอนุญาตกรรมสิทธิ์, กฎบัตร, กฎหมาย, สัญญาเช่า, สิทธิพิเศษ

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top