ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-institutional repository-

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -institutional repository-, *institutional repository*
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา มีน้อย ระบบได้ทดลองค้นหาคำนี้ให้โดยอัตโนมัติ: รืหะระีะรนืฟส พำยนหระนพั กรุณาตรวจสอบภาษาบนแป้นพิมพ์ให้ถูกต้องก่อนพิมพ์)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Institutional repositoryคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน, Example: Institutional Repository หรือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน นั้น หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อันเป็นภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงาน องค์กร ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ [ 1 ] หรือกล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัย/องค์กร ในการจัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้นๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้ [ 2, 3 ] ซึ่งผลงานเหล่านั้น นอกจากจะเป็นรายงานที่กำลังดำเนินงาน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังหมายรวมถึงงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (grey literature) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในวัฒนธรรมของการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์ที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบ [ 4 ] <p> คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p>จอห์นสัน [ 3 ] กล่าวว่า การจัดทำคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ <p> 1. เนื้อหาที่เป็นดิจิทัล (Digital content) ในระบบของคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้นเก็บผลงานที่เป็นดิจิทัลเท่านั้น <p> 2. การเน้นงานที่สร้างโดยสมาชิกของสถาบัน (Institutionally-defined) การจัดทำคลังเก็บระดับสถาบันเน้นการจัดเก็บผลงานของสมาชิกในประชาคมนั้นๆ เท่านั้น <p> 3. เนื้อหาทางวิชาการ (Scholarly content) เนื้อหา ที่นำมาจัดเก็บในคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้น เน้นเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันในการรวบรวม การสงวนรักษา และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งผลงานเหล่านี้อาจหมายรวมถึง ผลงานก่อนตีพิมพ์ และผลงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน บทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา หนังสือ สื่อการสอน ชุดข้อมูล บทความเสนอการประชุม วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ และวรรณกรรมไม่ตีพิมพ์ เป็นต้น การควบคุมและการจัดการการเข้าถึงเนื้อหาทางวิชาการเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและกลไกที่เหมาะสม รวมทั้งการบริหารจัดการด้านเนื้อหาและระบบการควบคุมเอกสาร (document version control systems) กรอบนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคของคลังเก็บต้องเอื้ออำนวยให้ผู้ จัดการคลังเก็บมีความยืดหยุ่นต่อการควบคุมระบบ ใครเป็นผู้ที่สามารถรับรอง (approve) เข้าถึง (access) แก้ไข (update) ผลงานดิจิทัลเหล่านั้นที่มาจากต่างแหล่งกันในชุมชนนั้นๆ <p> 4. การสะสมเพิ่มพูน และความยั่งยืน (Cumulative and perpetual) ในส่วนของการเป็นคลังเก็บจะต้องมีการสะสมผลงาน ผลงานเมื่อมีการนำเข้าคลังเก็บแล้ว ไม่ควรมีการถอดถอนออกจากคลัง ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น งานนั้นมีการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น การเป็นคลังเก็บจึงต้องพัฒนาเกณฑ์และนโยบาย รวมทั้งนำระบบการจัดการสิทธิ์ (right management) มาประยุกต์ใช้ ในการอนุญาตให้เข้าถึงเนื้อหาในคลังเก็บทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภาย นอก รวมทั้งต้องมีระบบการสงวนรักษาผลงาน และสามารถให้เข้าถึงได้ในระยะยาวได้ <p> 5. การทำงานร่วมกันได้และการเข้าถึงแบบเปิด/แบบเสรี (Interoperable and open access) คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน คือ การสามารถให้มีการเข้าถึงได้แบบเปิด / แบบเสรี หรือมีปัญหาในการเข้าถึงให้น้อยที่สุด (เช่น การต้องลงทะเบียนในการเข้าใช้) ในส่วนของการเป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้นั้น เป็นเรื่องทางเทคนิคที่มีการนำการเก็บถาวรแบบเปิด หรือ Open Archives Initiative (OAI) มาใช้เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานสำหรับการเก็บรักษาในเชิงบันทึกถาวร และสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเมทาดาทาทำให้สามารถสืบค้น และเรียกใช้ข้อมูลข้ามระบบกันได้ <p>ประโยชน์ของการมีคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p> 1. ทำให้เกิดระบบการรวบรวม สงวนรักษา และเผยแพร่เนื้อหาทางวิชาการ <p> 2. เป็นเสมือนตัวชี้วัดของคุณภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย โดยมุ่งที่รวมเอางานทางปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย มาไว้ในที่เดียวกัน และสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก <p> 3. เป็นการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาในรูปดิจิทัล <p> 4. เป็นเสมือนพื้นฐานของกระบวนทัศน์ใหม่ในการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ <p> 5. เป็นการสื่อสารทางวิชาการ (scholarly communication) <p> 6. เป็นการจัดการความรู้ <p> 7. เป็นการสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงโดยเสรี <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] “What is an Institutional Repository”. [ On-line ]. Available: http://library.ucalgary.ca/libraryinformation/dspace/whatisaninstitutionalrepository.php. Visited: 12/08/2007 10.30. <p>[ 2 ] Lynch, Clifford A. “Institutional repository : essential infrastructure for scholarship in the digital age.” ARL 226 (February 2003): 1-7 [ On-line ]. Available: http://www.arl.org/resources/pubs/br/br226/br226ir.shtml. Visited: 12/08/2007 10.34. <p>[ 3 ] Johnson, Richard K. “Institutional repositories : partnering with faculty to enhance scholarly communication.” D-Lib Magazine V.8 No.11 (November 2002) [ On-line ]. Available: http://www.dlib.org/dlib/november02/johnson/11johnson.html. Visited: 12/08/10.52. <p>[ 4 ]Tennant, Roy. “Institutional Repositories”. Library Journal 9, 15 (2002). [ On-line ]. Available: http://www.libraryjournal.com/index.asp?layout=article&articleid=CA242297&publication=libraryjournal. Visited: 13/08/2007. 10.51. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Institutional repositoryคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน, Example: Institutional Repository หรือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน นั้น หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อันเป็นภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงาน องค์กร ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ [ 1 ] หรือกล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัย/องค์กร ในการจัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้นๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้ [ 2, 3 ] ซึ่งผลงานเหล่านั้น นอกจากจะเป็นรายงานที่กำลังดำเนินงาน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังหมายรวมถึงงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (grey literature) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในวัฒนธรรมของการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์ที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบ [ 4 ] <p> คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p>จอห์นสัน [ 3 ] กล่าวว่า การจัดทำคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ <p> 1. เนื้อหาที่เป็นดิจิทัล (Digital content) ในระบบของคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้นเก็บผลงานที่เป็นดิจิทัลเท่านั้น <p> 2. การเน้นงานที่สร้างโดยสมาชิกของสถาบัน (Institutionally-defined) การจัดทำคลังเก็บระดับสถาบันเน้นการจัดเก็บผลงานของสมาชิกในประชาคมนั้นๆ เท่านั้น <p> 3. เนื้อหาทางวิชาการ (Scholarly content) เนื้อหา ที่นำมาจัดเก็บในคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้น เน้นเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันในการรวบรวม การสงวนรักษา และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งผลงานเหล่านี้อาจหมายรวมถึง ผลงานก่อนตีพิมพ์ และผลงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน บทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา หนังสือ สื่อการสอน ชุดข้อมูล บทความเสนอการประชุม วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ และวรรณกรรมไม่ตีพิมพ์ เป็นต้น การควบคุมและการจัดการการเข้าถึงเนื้อหาทางวิชาการเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและกลไกที่เหมาะสม รวมทั้งการบริหารจัดการด้านเนื้อหาและระบบการควบคุมเอกสาร (document version control systems) กรอบนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคของคลังเก็บต้องเอื้ออำนวยให้ผู้ จัดการคลังเก็บมีความยืดหยุ่นต่อการควบคุมระบบ ใครเป็นผู้ที่สามารถรับรอง (approve) เข้าถึง (access) แก้ไข (update) ผลงานดิจิทัลเหล่านั้นที่มาจากต่างแหล่งกันในชุมชนนั้นๆ <p> 4. การสะสมเพิ่มพูน และความยั่งยืน (Cumulative and perpetual) ในส่วนของการเป็นคลังเก็บจะต้องมีการสะสมผลงาน ผลงานเมื่อมีการนำเข้าคลังเก็บแล้ว ไม่ควรมีการถอดถอนออกจากคลัง ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น งานนั้นมีการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น การเป็นคลังเก็บจึงต้องพัฒนาเกณฑ์และนโยบาย รวมทั้งนำระบบการจัดการสิทธิ์ (right management) มาประยุกต์ใช้ ในการอนุญาตให้เข้าถึงเนื้อหาในคลังเก็บทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภาย นอก รวมทั้งต้องมีระบบการสงวนรักษาผลงาน และสามารถให้เข้าถึงได้ในระยะยาวได้ <p> 5. การทำงานร่วมกันได้และการเข้าถึงแบบเปิด/แบบเสรี (Interoperable and open access) คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน คือ การสามารถให้มีการเข้าถึงได้แบบเปิด / แบบเสรี หรือมีปัญหาในการเข้าถึงให้น้อยที่สุด (เช่น การต้องลงทะเบียนในการเข้าใช้) ในส่วนของการเป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้นั้น เป็นเรื่องทางเทคนิคที่มีการนำการเก็บถาวรแบบเปิด หรือ Open Archives Initiative (OAI) มาใช้เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานสำหรับการเก็บรักษาในเชิงบันทึกถาวร และสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเมทาดาทาทำให้สามารถสืบค้น และเรียกใช้ข้อมูลข้ามระบบกันได้ <p>ประโยชน์ของการมีคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p> 1. ทำให้เกิดระบบการรวบรวม สงวนรักษา และเผยแพร่เนื้อหาทางวิชาการ <p> 2. เป็นเสมือนตัวชี้วัดของคุณภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย โดยมุ่งที่รวมเอางานทางปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย มาไว้ในที่เดียวกัน และสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก <p> 3. เป็นการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาในรูปดิจิทัล <p> 4. เป็นเสมือนพื้นฐานของกระบวนทัศน์ใหม่ในการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ <p> 5. เป็นการสื่อสารทางวิชาการ (scholarly communication) <p> 6. เป็นการจัดการความรู้ <p> 7. เป็นการสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงโดยเสรี <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] “What is an Institutional Repository”. [ On-line ]. Available: http://library.ucalgary.ca/libraryinformation/dspace/whatisaninstitutionalrepository.php. Visited: 12/08/2007 10.30. <p>[ 2 ] Lynch, Clifford A. “Institutional repository : essential infrastructure for scholarship in the digital age.” ARL 226 (February 2003): 1-7 [ On-line ]. Available: http://www.arl.org/resources/pubs/br/br226/br226ir.shtml. Visited: 12/08/2007 10.34. <p>[ 3 ] Johnson, Richard K. “Institutional repositories : partnering with faculty to enhance scholarly communication.” D-Lib Magazine V.8 No.11 (November 2002) [ On-line ]. Available: http://www.dlib.org/dlib/november02/johnson/11johnson.html. Visited: 12/08/10.52. <p>[ 4 ]Tennant, Roy. “Institutional Repositories”. Library Journal 9, 15 (2002). [ On-line ]. Available: http://www.libraryjournal.com/index.asp?layout=article&articleid=CA242297&publication=libraryjournal. Visited: 13/08/2007. 10.51. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Institutional repositoryคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน, Example: Institutional Repository หรือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน นั้น หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อันเป็นภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงาน องค์กร ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ [ 1 ] หรือกล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัย/องค์กร ในการจัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้นๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้ [ 2, 3 ] ซึ่งผลงานเหล่านั้น นอกจากจะเป็นรายงานที่กำลังดำเนินงาน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังหมายรวมถึงงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (grey literature) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในวัฒนธรรมของการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์ที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบ [ 4 ] <p> คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p>จอห์นสัน [ 3 ] กล่าวว่า การจัดทำคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ <p> 1. เนื้อหาที่เป็นดิจิทัล (Digital content) ในระบบของคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้นเก็บผลงานที่เป็นดิจิทัลเท่านั้น <p> 2. การเน้นงานที่สร้างโดยสมาชิกของสถาบัน (Institutionally-defined) การจัดทำคลังเก็บระดับสถาบันเน้นการจัดเก็บผลงานของสมาชิกในประชาคมนั้นๆ เท่านั้น <p> 3. เนื้อหาทางวิชาการ (Scholarly content) เนื้อหา ที่นำมาจัดเก็บในคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันนั้น เน้นเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันในการรวบรวม การสงวนรักษา และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งผลงานเหล่านี้อาจหมายรวมถึง ผลงานก่อนตีพิมพ์ และผลงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน บทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา หนังสือ สื่อการสอน ชุดข้อมูล บทความเสนอการประชุม วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ และวรรณกรรมไม่ตีพิมพ์ เป็นต้น การควบคุมและการจัดการการเข้าถึงเนื้อหาทางวิชาการเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและกลไกที่เหมาะสม รวมทั้งการบริหารจัดการด้านเนื้อหาและระบบการควบคุมเอกสาร (document version control systems) กรอบนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคของคลังเก็บต้องเอื้ออำนวยให้ผู้ จัดการคลังเก็บมีความยืดหยุ่นต่อการควบคุมระบบ ใครเป็นผู้ที่สามารถรับรอง (approve) เข้าถึง (access) แก้ไข (update) ผลงานดิจิทัลเหล่านั้นที่มาจากต่างแหล่งกันในชุมชนนั้นๆ <p> 4. การสะสมเพิ่มพูน และความยั่งยืน (Cumulative and perpetual) ในส่วนของการเป็นคลังเก็บจะต้องมีการสะสมผลงาน ผลงานเมื่อมีการนำเข้าคลังเก็บแล้ว ไม่ควรมีการถอดถอนออกจากคลัง ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น งานนั้นมีการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น การเป็นคลังเก็บจึงต้องพัฒนาเกณฑ์และนโยบาย รวมทั้งนำระบบการจัดการสิทธิ์ (right management) มาประยุกต์ใช้ ในการอนุญาตให้เข้าถึงเนื้อหาในคลังเก็บทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภาย นอก รวมทั้งต้องมีระบบการสงวนรักษาผลงาน และสามารถให้เข้าถึงได้ในระยะยาวได้ <p> 5. การทำงานร่วมกันได้และการเข้าถึงแบบเปิด/แบบเสรี (Interoperable and open access) คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน คือ การสามารถให้มีการเข้าถึงได้แบบเปิด / แบบเสรี หรือมีปัญหาในการเข้าถึงให้น้อยที่สุด (เช่น การต้องลงทะเบียนในการเข้าใช้) ในส่วนของการเป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้นั้น เป็นเรื่องทางเทคนิคที่มีการนำการเก็บถาวรแบบเปิด หรือ Open Archives Initiative (OAI) มาใช้เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานสำหรับการเก็บรักษาในเชิงบันทึกถาวร และสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเมทาดาทาทำให้สามารถสืบค้น และเรียกใช้ข้อมูลข้ามระบบกันได้ <p>ประโยชน์ของการมีคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน <p> 1. ทำให้เกิดระบบการรวบรวม สงวนรักษา และเผยแพร่เนื้อหาทางวิชาการ <p> 2. เป็นเสมือนตัวชี้วัดของคุณภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย โดยมุ่งที่รวมเอางานทางปัญญาของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย มาไว้ในที่เดียวกัน และสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก <p> 3. เป็นการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาในรูปดิจิทัล <p> 4. เป็นเสมือนพื้นฐานของกระบวนทัศน์ใหม่ในการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ <p> 5. เป็นการสื่อสารทางวิชาการ (scholarly communication) <p> 6. เป็นการจัดการความรู้ <p> 7. เป็นการสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงโดยเสรี <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] “What is an Institutional Repository”. [ On-line ]. Available: http://library.ucalgary.ca/libraryinformation/dspace/whatisaninstitutionalrepository.php. Visited: 12/08/2007 10.30. <p>[ 2 ] Lynch, Clifford A. “Institutional repository : essential infrastructure for scholarship in the digital age.” ARL 226 (February 2003): 1-7 [ On-line ]. Available: http://www.arl.org/resources/pubs/br/br226/br226ir.shtml. Visited: 12/08/2007 10.34. <p>[ 3 ] Johnson, Richard K. “Institutional repositories : partnering with faculty to enhance scholarly communication.” D-Lib Magazine V.8 No.11 (November 2002) [ On-line ]. Available: http://www.dlib.org/dlib/november02/johnson/11johnson.html. Visited: 12/08/10.52. <p>[ 4 ]Tennant, Roy. “Institutional Repositories”. Library Journal 9, 15 (2002). [ On-line ]. Available: http://www.libraryjournal.com/index.asp?layout=article&articleid=CA242297&publication=libraryjournal. Visited: 13/08/2007. 10.51. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ




ติดโพย (PopThai)
 วางเมาส์ที่คำศัพท์เพื่อแสดงป๊อปอัป

 

-institutional ( IH2 N S T IH0 T UW1 SH AH0 N AH0 L) repository ( R IY0 P AA1 Z AH0 T AO2 R IY0)-

 


 
institutional
  • เกี่ยวกับสถาบัน: เกี่ยวกับระบบ, เกี่ยวกับองค์กรสำคัญๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร [Lex2]
  • (adj) เกี่ยวกับสถาบัน,เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม,เกี่ยวกับหลักฐาน [Nontri]
  • /IH2 N S T IH0 T UW1 SH AH0 N AH0 L/ [CMU]
  • (j) /ˌɪnstɪtj'uːʃənəl/ [OALD]
repository
  • ที่เก็บ: ที่รองรับ, ที่บรรจุ [Lex2]
  • ผู้มีความรู้กว้างขวาง[Lex2]
  • ผู้ได้รับความไว้วางใจ[Lex2]
  • โกดัง: คลังสินค้า, ที่เก็บสินค้า [Lex2]
  • สุสาน: ที่ฝังศพ, สถานที่เก็บศพ, ฮวงซุ้ย [Lex2]
  • (รีทอส'ซิทอรี) n. ที่รับ,ที่รองรับ,ที่ใส่,ที่เก็บ,สุสาน,ผู้เป็นที่ไว้วางใจ,คลังสินค้า,โกดัง ###S. burial place,sepulcher [Hope]
  • (n) โกดัง,คลัง [Nontri]
  • /R IY0 P AA1 Z AH0 T AO2 R IY0/ [CMU]
  • (n) /r'ɪp'ɒzɪtriː/ [OALD]
 


Search other online dictionaries

English/Thai Dictionary
Thai Dictionary and related
English/Thai Dictionary Software Application
English/English Dictionary
 

Japanese Dictionary
German and German/English Dictionaries
Other translation and dictionary websites
Other interesting resources

Do you know the meaning of this word?

You can Suggest your own translation to Longdo

Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top