ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-กิริยาอาการ-

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -กิริยาอาการ-, *กิริยาอาการ*
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
กิริยาอาการ(n) conduct, See also: behaviour, behavior, act, manners, Example: เลขานุการมีกิริยาอาการไม่พอใจในคำพูดของเจ้านาย

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
mannerกิริยาอาการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กะเทยน. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน
กันท่าก. แสดงกิริยาอาการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก.
ขู่กรรโชกก. ทำให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทำร้าย.
เงอะ, เงอะงะว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชำนาญเป็นต้น.
ต้อน ๑ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้าคอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รำต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้จนมุม.
ตอมก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สาวสวยคนนี้มีชายหนุ่มมารุมตอมมาก.
ท่าทางว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
ทำหน้าทำตาก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทำหน้าทำตาล้อหลอก.
ทิ้งโดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
เทก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจำนวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท เช่น คนเทไปทางกราบซ้ายเมื่อเรือเอียงซ้าย.
แทงก. เอาของแหลมทิ่มหรือปักเข้าไป, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระแสนํ้าแทงตลิ่ง นักมวยแทงศอกคู่ต่อสู้
แทรก ๑โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก.
บุคคลวัต(บุกคนละ-) น. กลวิธีการประพันธ์ที่สมมุติสิ่งไม่มีชีวิต ความคิด นามธรรม หรือสัตว์ให้มีสติปัญญา อารมณ์ หรือกิริยาอาการเยี่ยงมนุษย์.
ป้อนก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน
เปิ่นว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทำการใด ๆ ผิดแปลกไปจากปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
โผ ๑ก. อ้าแขนโถมตัวเข้าหา, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นกโผลงจับกิ่งไม้.
ภาษาเสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ
ล้อหลอกก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อหลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
ละครดึกดำบรรพ์น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เรื่องที่แสดง เช่น อิเหนา คาวี สังข์ศิลป์ชัย, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
ละม่อมว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความว่า อ่อนโยน นิ่มนวล
สวมหน้ากากก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากากเข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
ใส่หน้ากากก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า.
หน้าพาทย์น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละคร หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการใช้ในการแสดงการคารวะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
หลอกล้อก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น, ล้อหลอก ก็ว่า.
ออกท่า, ออกท่าออกทางก. แสดงกิริยาอาการเป็นท่าทางต่าง ๆ.
อาการนาม(อาการะนาม) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top