ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*เบญจพรรณ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: เบญจพรรณ, -เบญจพรรณ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เบญจพรรณ(n) different kinds of trees grown in the same place, Syn. ป่าเบญจพรรณ, Example: พืชที่ใช้เผาทำถ่านนั้นได้มาจากป่าประเภทเบญจพรรณ, Thai Definition: ต้นไม้ต่างๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน
เบญจพรรณ(n) primary colors red, blue, yellow, white, and black, Example: ลวดลายของเครื่องลายครามลงด้วยสีเบญจพรรณปนเงินทองแวววาว, Thai Definition: แม่สีทั้งห้า คือ ดำ แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง
เบญจพรรณ(adj) miscellaneous, Thai Definition: หลายอย่างคละกันไม่เป็นสำรับ
เบญจพรรณ(n) five kinds, Thai Definition: 5 ชนิด, 5 อย่าง
ป่าเบญจพรรณ(n) mixed forest, See also: forest with many varieties of trees, Example: แถบทิศตะวันออกของที่ราบหุบเขานางรำจะเป็นป่าเบญจพรรณ, Count Unit: แห่ง, ที่, Thai Definition: ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เบญจพรรณว. ๕ สี, ๕ ชนิด
เบญจพรรณหลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน ว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน ว่า ป่าเบญจพรรณ.
ป่าเบญจพรรณน. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน.
กระแจะ ๒น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i> Naringi</i><i> crenulata</i> (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก.
กระโดนน. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Careya sphaerica</i> Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
กระไดลิง ๒น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด <i> Bauhinia scandens</i> L. var. <i> horsfieldii</i> (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
กระเบียนชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด <i> Ceriscoides</i> <i> turgida</i> (Roxb). Tirveng ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
กระพี้เขาควายน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด <i> Dalbergia cultrata</i> Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
กาสามปีกน. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Vitex peduncularis</i> Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก.
กาสามปีกชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Flemingia</i> <i> sootepensis</i> Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้.
กำจาย ๒น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Caesalpinia digyna</i> Rottler ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้ เมล็ดสีดำให้นํ้ามันจุดไฟ.
กำลังช้างเผือกน. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดย่อยของชนิด <i> Hiptage</i> <i> bengalensis</i> (L.) Kurz ในวงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิดย่อยแรก <i> H</i>. <i> bengalensis</i> (L.) Kurz subsp. <i> bengalensis</i>เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก, และชนิดย่อยที่ ๒ <i> H. bengalensis</i> (L.) Kurz subsp. <i> candicans</i> (Hook. f.) Sirirugsa เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
เกล็ดปลาช่อนน. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Phyllodium</i><i> pulchellum</i> (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตามแนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
ไก่ไห้น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Capparis flavicans</i> Kurz ในวงศ์ Capparaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นมีหนาม, กะอิด ตะลุ่มอิด งวงช้าง หรือ งัวเลีย ก็เรียก.
ขว้าว(ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Haldina cordifolia</i> (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก.
คงคาเดือดน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Arfeuillea arborescens</i> Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
ซาก ๒น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i> Erythrophleum succirubrum</i> Gagnep. และชนิด <i> E. teysmannii</i> (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด.
ตานเหลืองน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นชนิด <i> Ochna integerrima</i> (Lour.) Merr. ในวงศ์ Ochnaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกสีนํ้าตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น กลิ่นหอมอ่อน ผลัดใบขณะมีดอก, กำลังช้างสาร ช้างน้าว หรือ ตานนกกด ก็เรียก.
บัวบกชื่อไม้เถาชนิด <i>Stephania pierrei</i> Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลายแหลม ใช้ทำยาได้, สบู่เลือด ก็เรียก.
ประดู่น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล <i> Pterocarpus</i> วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด <i> P. indicus</i> Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด<i> P. macrocarpus</i> Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.
เปล้า ๑(เปฺล้า) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล <i> Croton</i> วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ (<i> C. roxburghii</i>N.P. Balakr.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย (<i> C. stellatopi losus</i>H. Ohba) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ทำยาได้.
เพ็ก ๑น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด <i> Vietnamosasa pusilla</i> (Chevalier et A. Camus) Nguyen ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่าเบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด <i> Bambusa multiplex</i> (Lour). Raeusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ ใช้ปลูกประดับได้.
รักหมูน. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Semecarpus albescens</i> Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู หรือ รักขี้หมู ก็เรียก.
เลี่ยน ๑น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i>Melia</i> <i>azedarach</i> L. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
moist deciduous forestป่าผสมผลัดใบชื้น, ป่าเบญจพรรณชื้น [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
mixed deciduous forestป่าผสมผลัดใบ, ป่าเบญจพรรณ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
dry deciduous forestป่าผสมผลัดใบแล้ง, ป่าเบญจพรรณแล้ง [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณ, Example: ป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด พื้นป่าไม้รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบ และมีไฟไหม้ป่าอยู่ทุกปี พบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นคละเคล้าปนกันมาก แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นไม้เด่น ป่าประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Teak Bearing Mixed Deciduous Forest และ Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forest [สิ่งแวดล้อม]
Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่ แต่ไม้ผลัดใบชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นปะปนกับไม้สัก เช่น แดง ประดู่ รกฟ้า ชิงชัน ขึ้นอยู่ได้ตามปกติ ป่าชนิดนี้พบมากแถบภาคตะวันออก เช่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี [สิ่งแวดล้อม]
Teak Bearing Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่, หรือเรียกว่า ป่าไม้สัก, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่มีไม้สักขึ้นอยู่ ไม้สักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และมีความต้องการสิ่งแวดล้อมเฉพาะอย่าง ในการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงพบไม้สัก เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบขึ้นปะปนกับไม้สัก ได้แก่ ตะแบก ประดู่ รกฟ้า และแดง ส่วนพืชชั้นล่างที่พบจะเป็นพวกหญ้า กก ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ แต่ไม่พบไม้ในวงศ์ยางในป่าชนิดนี้ [สิ่งแวดล้อม]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
เบญจพรรณ[benjaphan] (adj) EN: of five kinds ; mixed ; unassorted ; unspecified ; miscellaneous
ป่าเบญจพรรณ[pā benjaphan] (n, exp) EN: mixed deciduous forest  FR: forêt mixte [ f ] ; forêt d'essences diverses [ f ]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top