(จักกะแหฺล่น, จั๊กกะแหฺล่น) ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
น. ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก.
ก. ถูกทำให้ตกลงมา เช่น หนังสือหล่นจากโต๊ะ
โดยปริยายหมายความว่า ลดลงต่ำ เช่น เขาเคยได้อันดับที่ ๑ มาตลอด ปีนี้หล่นลงมาอยู่อันดับที่ ๑๐.
ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
(แหฺล่-) น. แหล่เรื่องที่อยู่นอกคัมภีร์เทศน์มหาชาติ.
น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
ก. ได้เข้าไปใกล้ผู้มีชื่อเสียงอย่างในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นต้น เช่น วันนี้มีโอกาสได้กระทบไหล่นักการเมืองหลายคน.
ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่านํ้า, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ.
ก. เก็บรวงข้าวที่เก็บเกี่ยวตกหล่นในท้องนา.
(เกฺลื่อน) ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน.
น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลง.
(ขะเหฺย่า) ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้นกระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยาระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทำให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น (แช่งน้ำ).
ก. พลัดลง, หล่นลง, เช่น ตกบันได ตกต้นไม้
ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ หล่น หรือเสียงทุบด้วยกำปั้น.
น. เรียกลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมา ว่า ลูกตุ้มมะพร้าว.
น. เชื้อเพลิงสำหรับจุดให้สว่าง ทำด้วยไม้ผุคลุกน้ำมันยางหรือชัน ห่อด้วยเปลือกเสม็ดหรือเตยป่า เป็นต้น ทำเป็นเล่มยาว ๆ ใช้ตอกมัดเป็นเปลาะ ๆ หรือใส่กระบอก, ถ้ามัดตอนปลายด้านหนึ่งเป็นหาง เรียกว่า ไต้หาง, เรียกส่วนเนื้อของไต้ที่แบ่งเอามาใช้เป็นเชื้อไฟ หรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลงมาว่า ขี้ไต้.
ว. ละเอียดลออ, รอบคอบ, โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมให้ตกหล่นเสียหาย, ถี่ถ้วน ก็ว่า.
ว. ละเอียดลออ, รอบคอบ, โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมให้ตกหล่นเสียหาย, ถ้วนถี่ ก็ว่า.
น. ผลของต้นมักกะลี ต้นไม้ในวรรณคดี ลักษณะคล้ายหญิงวัยรุ่น เช่น ถัดนั้นไปมีป่าไม้นารีผล แลว่าลูกไม้นั้นงามนัก ดั่งสาวอันพึงใหญ่ได้ ๑๖ ปีแล ฝูงผู้ชายได้เห็นก็มีใจรักนัก ครั้นว่าหล่นตกลง ฝูงนกกลุ้มกินดั่งหมีกินผึ้ง (ไตรภูมิ).
(ผฺล็อย) ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผล็อย ๆ, อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผล็อย, ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ว่า.
(ผฺลุ) ว. เสียงดังอย่างเสียงของอ่อนน่วมตกลง เช่น มะละกอสุกหล่นลงมาดังผลุ.
ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผ็อย ๆ, อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผ็อย, ผล็อย หรือ ผล็อย ๆ ก็ว่า.
(-พฺราด) ก. ลุก เดิน หรือวิ่ง เป็นต้น อย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น พอตำรวจพรวดเข้ามา พวกขาไพ่ก็พรวดพราดออกไป, กิริยาที่ทำโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่เรียบร้อย เช่น ทำอะไรพรวดพราด ข้าวของตกหล่นเสียหาย.
(พฺลัด) ก. พลาด หลุด หรือหล่นไปจากที่ใดที่หนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้
(พฺรึด) ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ ].
ว. ตก ๆ หล่น ๆ เช่น หอบของมารุ่ยร่าย, เก็บไม่เรียบร้อย เช่น ผมมวยเก็บไม่หมดดูรุ่ยร่าย.
ก. ทำโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะหล่นแตก
น. ลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมา.
ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น เด็กคนนี้เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว.
ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหาอยู่หลายรอบ.
(-เพฺร่า) ว. อาการที่ทำอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.