น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสงสว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
น. สลักทำด้วยไม้ ใส่ลงในร่องตรงกลางไม้ธรณี สำหรับขัดเชิงบานประตูและหน้าต่างเมื่อปิดเข้าหากัน.
น. กรอบประตูหรือหน้าต่างโบสถ์ วิหาร หรือเรือนไทย เป็นต้น, เช็ดหน้า.
(กฺลอน) น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง
น. เครื่องสำหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออกมีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก.
(แกฺล) น. หน้าต่างพระตำหนักหรือตำหนักที่ไม่มีซี่กรง, ใช้ว่า พระแกล.
น. โลหะทำเป็นห่วงสำหรับรับขอสับ มักติดที่ประตูหน้าต่าง.
น. ผนังคูหา ๒ ข้างของช่องประตูและหน้าต่าง อยู่ตอนหน้าของกรอบเช็ดหน้า
น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา.
ไม้ที่ช่างลอกเป็นลวดสำหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์
น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม, ที่ว่างซึ่งเป็นที่กำหนดเฉพาะ เช่น จอดรถให้ตรงช่อง ช่องซื้อตั๋ว ช่องจ่ายเงิน
น. กรอบประตูหรือหน้าต่างโบสถ์ วิหาร หรือเรือนไทย เป็นต้น, กรอบเช็ดหน้า ก็เรียก.
สิ่งที่ทำขึ้นเป็นกรอบสำหรับตกแต่งประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปทรงต่าง ๆ กัน เช่น ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง ซุ้มทรงมงกุฎ.
ก. กระโดด เช่น ผู้ร้ายโดดหนีไปทางหน้าต่าง.
เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหลังกรอบเช็ดหน้าของประตูหรือหน้าต่าง ใช้สอดเดือยบานประตูหรือบานหน้าต่าง เรียกว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู.
ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง
ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน
น. เครื่องบังประตูทำด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบประตูเหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา
การเพลาะริมไม้ให้ลึกลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนำมาประกอบเป็นวงกบหรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนำมาประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
(-อวด) น. หน้าต่าง เช่น บังอวดบังอิงอร่ามเรือง (อนิรุทธ์).
น. พนัก. (คำฤษฎี), หย่องหน้าต่าง เช่น บังอวดบังอิงอร่ามเรือง (อนิรุทธ์).
หน้าต่างพระที่นั่ง พระมหาปราสาท ในพระราชวัง.
น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บานกระจกเงา
ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน.
น. บานหน้าต่างที่ปิดงับและเปิดค้ำขึ้นได้.
น. บานหน้าต่างหรือบานประตูซึ่งใช้ไม้หรือกระจกแผ่นเล็ก ๆ พาดขวางซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกล็ด บางชนิดดึงหรือหมุนให้เกล็ดเหล่านั้นเปิดปิดได้พร้อม ๆ กัน.
(-แผฺละ) น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่.
น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร.
น. บานประตูหรือหน้าต่างที่ใช้ลูกดาลไข.
จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สายมาประจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมประจบกัน.
น. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.
ก. ไต่โดยใช้มือและเท้าเกาะยึดขึ้นไป เช่น ปีนต้นไม้ ปีนเขา, ใช้ในอาการที่ไต่ลงก็มี เช่น ปีนลงทางหน้าต่าง
ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทำให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียงโดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทำให้สิ่งที่อยู่ในลำกล้องเช่นกล้องเป่าเป็นต้น ออกจากลำกล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
ก. อาการที่กระโดดโจนไปโดยไม่รั้งรอ เช่น สิงโตเผ่น เผ่นข้ามหน้าต่าง, หลบหน้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อตำรวจมาถึง โจรก็เผ่นไปไกลแล้ว.
ก. ค่อย ๆ ขยายออก, ค่อย ๆ แย้มออก, เช่น เผยหน้าต่าง เผยปาก.
(แผฺล็ว) ว. อย่างรวดเร็ว (มักใช้แก่กริยากระโดดหรือกระโจน) เช่น กระโดดแผล็วลงหน้าต่างไป กระโจนแผล็วขึ้นไปเกาะบนต้นไม้.
น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับเส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อมหรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่าง สำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
น. เครื่องแขวนขนาดเล็กทำด้วยดอกไม้สด มีลักษณะคล้ายพู่ ส่งกลิ่นหอมตามชนิดของดอกไม้ที่นำมาเย็บและร้อย นิยมนำไปผูกหรือแขวนที่ร่องประตู หน้าต่าง เป็นต้น หรือเป็นเครื่องประกอบของพวงดอกไม้เครื่องแขวนขนาดใหญ่.
น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทำด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
น. เครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า.
น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สำหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
น. มุ้งที่ทำด้วยตาข่ายลวดตาละเอียด, โดยอนุโลมเรียกห้องที่ใช้ตาข่ายลวดตาละเอียดกรุประตู หน้าต่าง และช่องลมเพื่อกันยุงหรือแมลง ว่า ห้องมุ้งลวด.
น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทำนองม่าน ทำด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือกเป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.
ชะโงกหน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง
น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน.
เปิดเต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริมหน้าต่าง.
น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สำหรับจีมหรือขัดให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตกแยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.