ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*วรรณยุกต์*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: วรรณยุกต์, -วรรณยุกต์-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
วรรณยุกต์(n) tone marks, See also: intonation marks, Example: การฝึกหัดผันตัวอักษรทั้งพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหัดผันให้ครบทุกตัวอักษร, Thai Definition: เครื่องหมายแสดงระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ผันวรรณยุกต์ก. เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์, โบราณใช้ว่า ผันอักษร.
วรรณยุกต์, วรรณยุตน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ  (ไม้เอก)  (ไม้โท)  (ไม้ตรี)  (ไม้จัตวา).
กากบาทใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
คำโทน. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
คำสุภาพน. คำที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.
จัตวาเรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้  ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก.
ตรี ๓เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้  ว่า ไม้ตรี.
ตรีประดับน. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก และโท เรียงกัน หรือโท เอก สามัญ ก็ได้ เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม ชฬอฬ่อฬ้อโลกย์ให้โศกโทรม แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน).
ตรีเพชรพวงน. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน).
โทเรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้  ว่า ไม้โท.
โทโทษน. คำที่ใช้ไม้โทแทนไม้เอก ในตำแหน่งของบทร้อยกรองที่บังคับให้ใช้ไม้โท โดยคงเสียงวรรณยุกต์เดิม เช่น หง้าย แทน ง่าย ผลั้ง แทน พลั่ง.
บังคับโทน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
บังคับเอกน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้.
ผันอักษรก. เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์, ผันวรรณยุกต์ ก็ว่า.
ไม้จัตวาน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ <b></b>บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.
ไม้ตรีน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ <b></b>.
ไม้โทน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ <b></b>.
ไม้เอกน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ <b></b>.
สนธิการเปลี่ยนแปลงเสียงซึ่งเกิดจากการเชื่อมเสียง ๒ เสียง ที่อยู่ชิดกันให้กลมกลืนกัน ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีพยัญชนะสนธิ เช่น ทุส + ชน เป็น ทุรชน สระสนธิ เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม และนิคหิตฺสนธิ เช่น เอวํ + เม เป็น เอวมฺเม ในภาษาอื่น ๆ ที่มีวรรณยุกต์เช่นภาษาจีนมีวรรณยุกต์สนธิ เช่น เกี๊ยม + ฉ่าย เป็น เกี่ยมฉ่าย.
สัทอักษร(สัดทะอักสอน) น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ.
อักษรกลาง(อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
อักษรต่ำ(อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
อักษรสูง(อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์  เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
เอก, เอก-เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้  ว่า ไม้เอก
เอกโทษ(เอกโทด) น. คำที่ใช้ไม้เอกแทนไม้โท ในตำแหน่งของบทร้อยกรองที่บังคับให้ใช้ไม้เอก โดยคงเสียงวรรณยุกต์เดิม เช่น เค่า แทน เข้า, ท่า แทน ถ้า.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
toneวรรณยุกต์ [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Tone (Phonetics)วรรณยุกต์ (สัทศาสตร์) [TU Subject Heading]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
รูปวรรณยุกต์[rūp wannayuk] (n, exp) FR: signe diacritique [ m ]
เสียงวรรณยุกต์[sīeng wannayuk] (n, exp) FR: accent tonique [ m ] ; ton [ m ] ; intonation [ f ]
วรรณยุกต์[wannayuk] (n) EN: tone mark ; intonation mark ; tone  FR: signe de tonalité [ m ] ; signe diacritique [ m ]
วรรณยุกต์เอก[wannayuk-ēk] (n) EN: [ first Thai tonal mark ]  FR: [ 1er signe de tonalité en Thaï ]
วรรณยุกต์จัตวา[wannayuk-jattawā] (n) EN: [ 4 th Thai tonal mark ]  FR: [ 4è signe de tonalité en thaï ]
วรรณยุกต์โท[wannayuk-thø] (n) EN: [ 2nd Thai tonal mark ]  FR: [ 2è signe de tonalité en Thaï ]
วรรณยุกต์ตรี[wannayuk-trī] (n) EN: [ 3rd Thai tonal mark ]  FR: [ 3è signe de tonalité en thaï ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
low tone(n) เสียงวรรณยุกต์ต่ำระดับ

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
character setชุดอักขระหมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ มีตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษต่าง ๆ เช่น เครื่องหมาย สระ วรรณยุกต์
special characterอักขระพิเศษแต่เดิมใช้หมายถึงอักขระที่เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น + - * / $ = , " " ฯลฯ รวมทั้งสระ วรรณยุกต์ ในภาษาไทย บางทีเรียกรวม ๆ ว่า เครื่องหมายวรรคตอนก็ได้ นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงตัวอักขระที่ไม่สามารถกดได้จากแป้นพิมพ์ แต่อาจใช้เทคนิคบางอย่างทำให้พิมพ์ออกมาได้ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช การกดแป้น Shift+ALT+K จะได้ภาพลูกแอปเปิลแหว่ง (สัญลักษณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล) ถ้าใช้แบบอักษรชื่อ Symbol

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top