ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ผู้แทน*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ผู้แทน, -ผู้แทน-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ไทย (TH) - ไทย (TH)
สส.(n, abbrev) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตัวย่อที่ถูกต้อง คือ สส.​ ไม่ใช่ ส.ส.), See also: R. ส.ส.

Longdo Dictionary ภาษา อังกฤษ (EN) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ผู้แทนโดยชอบ(n) legal representative

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
คณะผู้แทน(n) delegation, See also: deputation, mission, representative, Example: คณะผู้แทนไทยที่ไปประชุมสหประชาชาติประสบความสำเร็จเกินคาด, Count Unit: คณะ, Thai Definition: คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายอำนาจให้เป็นผู้กระทำการแทน
เป็นผู้แทน(v) be a representative, See also: be a delegate, be a proxy, be an agent, be a substitute, Syn. เป็นตัวแทน, Example: กำนันเป็นผู้แทนของหน่วยงานข้าราชการที่จะประสานกับประชาชน, Thai Definition: กระทำการต่างๆ หรือมีอำนาจทำการแทนบุคคลอื่น
ผู้แทนราษฎร(n) representative, See also: assemblyman, member of parliament, congressman, Syn. ส.ส., ผู้แทน, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, Example: มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งธนบุรีสิบคน, Count Unit: ท่าน, คน, Thai Definition: บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทําหน้าที่นิติบัญญัติในสภา
ผู้แทนการค้า(n) trade agent, Syn. ตัวแทนการค้า, Example: คณะของตนเข้าไปในจีนโดยหน้าฉากแสดงตนเป็นผู้แทนการค้าที่จัดตั้งขึ้นปลอมๆ, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายของหรือสินค้า
ผู้แทนพระองค์(n) royal representative, See also: royal envoy, Syn. ตัวแทน, Example: นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ฯพณฯองคมนตรี ผู้แทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 56, Count Unit: ท่าน, Thai Definition: ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทน, Notes: (ราชา)
สภาผู้แทนราษฎร(n) House of Representatives, See also: Assembly of the People's Representatives, House of Parliaments, Lower House, Example: คณะกรรมการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการตุลาการ ฝ่ายละ 2 คน, Thai Definition: รัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
สภาผู้แทนราษฎร(n) House of Representatives, See also: Assembly of the People's Representatives, Example: กฎหมายการเงินการคลังของรัฐจำต้องได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร, Thai Definition: รัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(n) Member of the House of Representative, Syn. ผู้แทนราษฎร, ส.ส., Example: สมาชิกผู้แทนราษฎรลงมติผ่านกฎหมายให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลผู้ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้ทำหน้าที่แทนประชาชนในสภานิติบัญญัติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร(n) representative, See also: member of the assembly, member of parliament, MP, Syn. สมาชิกสภา, Example: เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตนี้, Thai Definition: ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้เป็นสมาชิกของสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร(n) Secretariat of the House of Representatives, Example: ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีข้าราชการจำนวน 1, 064 คน และลูกจ้างจำนวน 173 คน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้แทนน. ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของบุคคล หน่วยราชการ หรือหน่วยงาน
ผู้แทนผู้แทนราษฎร.
ผู้แทนของนิติบุคคลน. บุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งได้กำหนดไว้ให้เป็นผู้แสดงออกถึงเจตนาของนิติบุคคล.
ผู้แทนโดยชอบธรรมน. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทน ให้คำอนุญาต หรือให้ความยินยอม แก่บุคคลผู้มีความสามารถบกพร่อง ในอันที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ผู้แทนราษฎรน. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน.
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรน. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ.
สภาผู้แทนราษฎรน. สภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติของประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีหน้าที่ให้คำแนะนำและยินยอมในการตรากฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด.
กงสุลน. ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของตนและดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศของตน.
กรรมาธิการ(กำ-, กัน-) น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.
การเมืองกิจการอำนวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตำแหน่งการเมือง ได้แก่ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน.
การยุบสภาน.อำนาจของฝ่ายบริหารในการประกาศให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ การยุบสภาต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา.
คณะกรรมาธิการน. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา.
คณะกรรมาธิการร่วมกันน. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย.
คณะกรรมาธิการวิสามัญน. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง.
คณะกรรมาธิการสามัญน. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เลือกและแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ.
ญัตติข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
ทนาย(ทะ-) น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอำนาจ)
ทูตน. ผู้นำข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสัมพันธไมตรีเป็นทางราชการ.
ปากเสียงน. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของประชาชน.
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองน. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี.
ฝ่ายค้านน. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
ภาษีโรงเรือนและที่ดินน. ภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น เว้นแต่เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม.
รถประเทียบน. รถสำหรับองคมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์.
รัฐสภา(รัดถะสะพา, รัดสะพา) น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.
ราชทูตน. ผู้นำพระราชสาส์นไปประเทศอื่น, ผู้แทนชาติในประเทศอื่น, ตำแหน่งผู้แทนรัฐถัดจากอัครราชทูต.
เลือกตั้งก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดำรงตำแหน่งด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
สภาน. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรีแห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา.
สมาชิก ๑(สะมา-) น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรมใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิกวารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุนที่ร้านเลย.
เสียงความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก.
องค์กรน. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย.
อะมีรุ้ลฮัจย์, รออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์น. บุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการของประเทศไทยนำชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย.
อัครราชทูตน. ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราวหรือประจำอยู่ในสำนักแห่งรัฐบาลอื่น.
อุปทูต(อุปะทูด, อุบปะทูด) น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
proxyตัวแทน, ผู้แทน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
proctor๑. ผู้ได้รับแต่งตั้งให้กระทำการแทน๒. ผู้แทนในคดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
proportional representationการมีผู้แทนตามสัดส่วน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
press galleryที่นั่งผู้แทนสื่อมวลชน (ในสภา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legation, right ofสิทธิที่จะส่งและรับผู้แทนทางทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
lawful representativeผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legal representativeผู้แทนโดยชอบธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
liberal theory of representationทฤษฎีผู้แทนแนวเสรีนิยม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Leader of the Houseผู้นำฝ่ายรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Leader of the Oppositionผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Representatives, House of; Representatives, Assembly of the People'sสภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
radical theory of representationทฤษฎีผู้แทนแนวมูลวิวัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
reactionary theory of representationทฤษฎีผู้แทนแนวพวกปฏิกิริยา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
right of legationสิทธิที่จะส่งและรับผู้แทนทางทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation, virtualการเป็นผู้แทนโดยปริยาย (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representativeผู้แทน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representativeผู้แทน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
representative actionการฟ้องคดีโดยผู้แทน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
representative bureaucracyระบบข้าราชการประจำที่มีผู้แทน (จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำบางส่วน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representative governmentการปกครองระบบผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Representatives, Assembly of the People's; Representatives, House ofสภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation๑. การเป็นผู้แทน๒. หนังสือแสดงความไม่พอใจ (เบากว่าประท้วง)๓. การแถลงในนามของรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation๑. การเป็นผู้แทน๒. การชี้แจงข้อเท็จจริง, การแถลงข้อความจริง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
representation, collectiveการเป็นผู้แทนปวงชนโดยส่วนรวม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation, functionalการเป็นผู้แทนตามกลุ่มอาชีพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation, groupการเป็นผู้แทนกลุ่ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation, minority๑. การให้มีผู้แทนของฝ่ายข้างน้อย๒. การเป็นตัวแทนของฝ่ายข้างน้อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
representation, proportionalการมีผู้แทนตามสัดส่วน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
reapportionmentการกำหนดจำนวนผู้แทนใหม่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
ship's husbandผู้แทนเจ้าของเรือตามเมืองท่า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Speakerประธานสภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Speaker of the Houseประธานสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
single-member districtเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนได้คนเดียว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
special representativeผู้แทนเฉพาะการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Opposition, Leader of theผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
apportionmentการกำหนดจำนวนผู้แทนตามส่วนของพลเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
apportionment๑. การจัดสรรตามสัดส่วน (ก. แพ่ง)๒. การกำหนดจำนวนผู้แทนตามสัดส่วน (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
alternateตัวสำรอง, ผู้แทนสำรอง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
alternateผู้แทนสำรอง, ตัวสำรอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
accredit (an envoy)ส่งผู้แทนทางการทูตไปประจำประเทศอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
accredit (an envoy)ส่งผู้แทนทางการทูตไปประจำประเทศอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
agent, executiveผู้แทนฝ่ายบริหาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Assembly of the People's Representativesสภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Assembly, National๑. สมัชชาแห่งชาติ๒. สภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
bureaucracy, representativeระบบข้าราชการประจำที่มีผู้แทน (จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำบางส่วน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
mission๑. ภาระหน้าที่, ภารกิจพิเศษ๒. คณะทูต, คณะผู้แทน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
mission๑. ภาระหน้าที่, ภารกิจพิเศษ (ก. ทั่วไป)๒. คณะทูต, คณะผู้แทน (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
mission, military; military missionคณะผู้แทนทางทหาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
minority representation๑. การให้มีผู้แทนของฝ่ายข้างน้อย๒. การเป็นตัวแทนของฝ่ายข้างน้อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
multimember districtเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนได้หลายคน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Fact finding missionคณะผู้แทนค้นหาข้อเท็จจริง [เศรษฐศาสตร์]
Proportional representationการมีผู้แทนตามอัตราส่วน [TU Subject Heading]
Representative government and representationการปกครองระบบผู้แทนราษฏร [TU Subject Heading]
Thailand. National Assembly. House of Representativesไทย. รัฐสภา. สภาผู้แทนราษฎร [TU Subject Heading]
United States. Congress. Houseสหรัฐอเมริกา. รัฐสภา. สภาผู้แทนราษฎร [TU Subject Heading]
ASEAN-Australia Forumการประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน [การทูต]
accreditแต่งตั้งให้ไปประจำ หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador [การทูต]
Asia Cooperation Dialogueความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต]
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategyยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
Asia-Europe Business Forumสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ความร่วมมืออาเซม(ASEM) ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต]
ASEAN Finance and Central Bank Deputies + 3 (China, Japan and Republic of Korea)การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนกับผู้แทนจาก จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี [การทูต]
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meetingการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต]
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Aide-memoire หรือ Memoireแปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต]
ASEAN Inter-Parliamentary Organizationองค์การรัฐสภาอาเซียน " เป็นเวทีการประชุมของผู้แทนรัฐสภาของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี " [การทูต]
Ambassadorเอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiaryผู้แทนทางการทูตในอันดับแรก หรือ หัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูต, Example: ตามปกตินั้นจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ?Ambassador? (เอกอัครราชทูต) ในสมัยก่อนเอกอัครราชทูตที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับจะมีตำแหน่งต่อท้ายว่า ?Ordinary? (สามัญ) ส่วนเอกอัครราชทูตที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษ จะต่อท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ต่อมาความแตกต่างดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ทุกวันนี้บรรดาเอกอัครราชทูตทั้งหลายจะมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ทั้งสิ้น การที่ได้รับพ่วงคำว่า ?Plenipotentiary? (ผู้มีอำนาจเต็ม) เข้าไปกับตำแหน่งอีกคำหนึ่งนั้น ย่อมหมายความว่า เอกอัครราชทูตมีอำนาจเต็มที่จะทำการเจรจาทางการทูตตามปกติใดๆ ได้ แต่การที่จะทำการเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาได้นั้น จำเป็นที่เขาจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษตามปกติหรือในหลักการ เอกอัครราชทูตจะติดต่อพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำ เซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ Guide to Diplomatic Practice ซึ่งเซอร์เนวิล แบลนด์ (Sir Neville Bland) ได้เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 (ดู น.167) มีความตอนหนึ่งว่า?บางคราวเป็นที่เข้าใจกันว่า เอกอัครราชทูตสามารถเรียกร้องขอพบกับตัวประมุขของรัฐได้ไม่ว่าเวลาใด แต่อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากราชสำนักหรือรัฐบาลที่เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสเข้าพบปะ พูดจากับประมุขของรัฐ อนึ่ง ในอดีตกาลมีประเทศใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่แห่งทำการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน จึงเหลือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ เป็นจำนวนมากที่มีตำแหน่งเรียกว่า อัครราชทูต (Ministers) เท่านั้น อย่างไรก็ดีการที่รัฐผู้ส่งจะส่งผู้แทนทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต (Ambassador) ไปยังรัฐผู้รับนั้นจะถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างยิ่ง แต่ในสมัยนี้ การที่มีสถานเอกอัครราชทูตแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตถูกลดศักดิ์ศรีและความขลังลงไปมากเมื่อเทียบกับ สมัยอดีตกาลเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตนี้ ได้มีการนำเอาคำจำกัดความของตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นคำจำกัดความของ เซอร์เฮนรี่ วอตตัน (Sir Henry Wotton) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวนิส ในรัชสมียของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 ว่า?เอกอัครราชทูต คือ บุคคลผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกส่งไปกล่าวเท็จในต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเขา? (?An ambassador is an honest man sent to lie abroad for the good of his country?)เล่ากันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1904 ระหว่างที่เซอร์เฮนรี่ วอตตัน เดินทางจากกรุงลอนดอนเพื่อไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่กรุงเวนิส ท่านได้แวะพักที่เมืองอ๊อกสเบิร์ก (Augsburg) ณ ที่นั้นท่านได้เขียนเป็นที่ระลึกไว้ในสมุดเยี่ยมของเจ้าของโรงแรมซึ่งเป็น สหายกับท่านในเชิงหยอกล้อ แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ กลับเขียนเป็นภาษาละตินว่า ?Legatus est vir bonus peregre missus ad mentiendum Republicae causa? ข้อความภาษาอังกฤษนั้น มีการเล่นคำว่า ?lie? ซึ่งนอกจากจะหมายความว่ากล่าวเท็จแล้ว ยังมีความหมายว่า ?พักอยู่? (Reside หรือ sojourn) ก็ได้ แต่บังเอิญคำละตินว่า ?admentiendum? มีความหมายเพียงอย่างเดียว คือ ?กล่าวเท็จ? ในไม่กี่ปีต่อมาคู่อริทางการเมืองของเซอร์เฮนรี่ได้ไปพบคำจำกัดความนี้เข้า จึงกราบทูลกษัตริย์เจมส์ให้ทรงทราบ หลักฐานประการหนึ่งอ้างว่ากษัตริย์เจมส์ทรงพิโรธอย่างยิ่ง ถึงกับให้เซอร์เฮนรี่ยุติการปฏิบัติราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nationsเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ (ณ นครนิวยอร์ก/นครเจนีวา) [การทูต]
Amnesty Internationalองค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต]
ASEAN-New Zealand Joint Management Committeeคณะกรรมการบริหารร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์ ประกอบด้วยผู้แทนระดับอธิบดีของอาเซียนและนิวซีแลนด์ ประชุมกัน ปีละครั้ง เพื่อทบทวนติดตามและนำเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต]
ASEAN Senior Officials on the Environmentเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต]
ASEAN Special Senior Officials Meetingการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสมัยพิเศษ เป็นการประชุมในลักษณะเดียวกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน แต่มีผู้แทนฝ่ายทหารของประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมด้วย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2535 [การทูต]
ASEAN Senior Officials on Drugs Matterเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ ที่รับผิดชอบงานด้าน ยาเสพติดของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมปีละครั้ง " [การทูต]
Bangkok Processเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Common Foreign and Security Policyนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (ของสหภาพยุโรป) " ผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ คือ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (High Representative) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Mr. CFSP " [การทูต]
Chargé d' Affairesอุปทูต เดิมเรียกว่า อุปทูตประจำ ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า Chargé d' Affaires ad hoc บ้าง Chargé d' Affaires en pied หรือ Chargé d' Affaires avec lettres บ้าง ปัจจุบันเรียกเพียง อุปทูต (Chargé d' Affaires) เท่านั้น รัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับอาจจะตกลงกันให้มีหัวหน้าคณะผู้แทนเพียงระดับอุปทูตก็ ได้ (ต่างกันกับตำแหน่งอุปทูตชั่วคราว) [การทูต]
Chargé d' Affaires ad interimอุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ " [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
Condolencesเมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Conference Diplomacyกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต]
Congress of Viennaเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต]
Consulข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต]
Committee of Permanent Representativesคณะกรรมการในกรอบสหภาพยุโรป ประกอบด้วยผู้แทนถาวรประจำสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิก [การทูต]
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corpsคณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต]
Committee of Permanent Representatives to ASEANคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนถาวร (ระดับเอกอัครราชทูต) ประจำอาเซียนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับสำนัก เลขาธิการอาเซียนสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนรวมทั้งองค์กร ระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่าง ๆ [การทูต]
credentials, letters of credence" 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต]
Dean (of the Diplomatic Corps)คณบดีคณะทูต เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุด (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ในประเทศนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต (ในกรณีที่รัฐผู้รับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก สมณทูตวาติกันจะดำรงตำแหน่งคณบดีทูต) [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
diplomatic agentตัวแทนทางทูต คือ หัวหน้าของคณะผู้แทน หรือบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทน [การทูต]
diplomatic identity cardบัตรประจำตัวคณะผู้แทนทางทูต [การทูต]
Diplomatic Pouchถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Duration of Diplomatic Privileges and Immunitiesระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต]
Eisenhower Doctrineลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต]
European Parliamentสภายุโรป เป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพยุโรป สมาชิกสภายุโรปจะเป็นผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมาจากกลุ่มประเทศสมาชิก สหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 [การทูต]
Establishment of Diplomatic Relations and Missionsการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Lieutenant of Musket Ernest Goodbody.ผู้แทนของเออร์เนส กุดบอดี ปืนคาบศิลา มันทั้งหมดเริ่มต้นในปี 1939 How I Won the War (1967)
If one of my deputies... gets outta line with a prisoner, then the prisoner comes to me with it!หากหนึ่งในผู้แทนของผมทำสอดคล้องกับนักโทษ แล้วนักโทษผมพร้อมกับมัน First Blood (1982)
Welcome, congressman.ขอต้อนรับท่านสมาชิกสภาผู้แทน The Bodyguard (1992)
- The delegation has seen enough.- - คณะผู้แทนได้เห็นพอ - In the Name of the Father (1993)
On this Navel of the Worldโดยเป็นผู้แทนของเทพเจ้า Rapa Nui (1994)
...I appeared before the Congressional Committee the highest representation of the American people under subpoena to tell what I knew of activities which I believed might lead to an attempt to set up a fascist dictatorship....ผมปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสภาคองเกรส ผู้แทนสูงสุดของชาวอเมริกัน ภายใต้คำสั่งศาลเพื่อให้การเรื่องที่ผมรู้เห็น The Corporation (2003)
Canada's top business lobbyists and its chief trade representative discount the dissent in the streets.นักล้อบบี้ของภาคธุรกิจอันดับหนึ่งในแคนาดา และผู้แทนการค้าระดับสูง ไม่แยแสความไม่พอใจบนท้องถนน The Corporation (2003)
Be a good pastor.ในการเป็นผู้แทนของพระเจ้าด้วย Love So Divine (2004)
Song-Yang is the new head of Jol-Bon but his power isn't as great as Yeon Ta-Bal.ซองหยางเป็นผู้แทนคนให่ของโจลบน แต่อำนาจของเขาไม่ยิ่งใหญ่เท่ายอนทาบัล Episode #1.41 (2006)
Stop here!ข้าคือผู้แทนพระองค์ ของผู้ปกครองโลกา เทพเจ้าแห่งทวยเทพ 300 (2006)
Two senators and the president's sister wanted that job, but he gave it to you.ผู้แทนสองคนและน้องสาวประธานาธิบดี ต้องการตำแหน่งนี้ แต่เขาให้คุณ The Omen (2006)
DO YOU SEE THE YALE REP?แม่เห็นผู้แทนของเยลมั้ย Poison Ivy (2007)
HOW SERENA'S COMMANDEERING THE YALE REPว่าทำไมเซรีน่า ถึงได้มายุ่งกับผู้แทนของเยล Poison Ivy (2007)
House of Representatives and Senate.ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา Sex Trek: Charly XXX (2007)
I, Lieutenant Commander Park Dae Su of the Dragon Guard, salute His Majesty!กระหม่อม ผู้แทนผู้บังคับบัญชาพัคเทซู องครักษ์มังกร ถวายบังคมฝ่าบาทพะย่ะค่ะ Lee San, Wind of the Palace (2007)
Is Deputy Director Bowman in here?ผู้แทนผู้บัญชาการ โบวแมน อยู่ที่นี่รึเปล่า Live Free or Die Hard (2007)
Dr. Albert Hirsch, the alleged mastermind of Black briar program and CIA Deputy Director Noah Vosen, the program's operational chief.ดร.อัลเบิร์ต เฮิร์ช ผู้เป็นหัวคิดหลักของโครงการแบล็คไบรอา และโนอาห์ โวเซ่น ผู้แทนผอ.ซีไอเอและหัวหน้าการปฏิบัติการของโครงการ The Bourne Ultimatum (2007)
Now, neither of us know if either of those brothers are guilty or innocent, so on behalf of the Secretary of the Air Force, I'm going in that room.พี่น้องคู่นี้ผิดจริง หรือ บริสุทธิ์ ฉันเป็นผู้แทนของ รัฐมนตรีว่าการทบวงอากาศยาน\ ฉันจะเข้าไปห้องนั้น Eagle Eye (2008)
Madam Speaker, the President's Cabinet!ประธานสภาผู้แทน คณะรัฐมนตรี Eagle Eye (2008)
Madam Speaker, ประธานสภาผู้แทน Eagle Eye (2008)
The House and Senate Intelligence Committees meet in closed-door session to discuss ways to prevent this kind of internal security breach that left nearly...นับเป็นการสูญเสียประชากร\ มากที่สุด... คณะกรรมาธิการข่าวกรอง สภาผู้แทน และ วุฒิสภา เปิดการประชุมลับ Eagle Eye (2008)
I, as your lieutenant, will institute policies that we've have always wanted.ฉัน, ในฐานะผู้แทน, จะตั้งกฏที่พวกเราใฝ่ฝัน Chuck Versus the First Date (2008)
We caught up with David Finch speaking to the Marthaville Order of Visionary Southern Gentlemen today as he embarks on his campaign for the U.S. House of Representatives.เราทีเทปท่านเดวิด ฟลินช์ กล่าวถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการออกกฏหมาย ของมาทาร์วิลของสุภาพบุรุษชาวใต้ผู้นี้ ในขณะที่ท่านกำลังดำเนินการเกี่ยวกับแคมเปญ สำหรับผู้แทนคณะรัฐสภา To Love Is to Bury (2008)
College valedictorian on her way to harvard business school.ผู้แทนกล่าวปราศรัยนศ. กำลังจะเข้ารร.บริหารฮาวาร์ด Easy as Pie (2008)
This could be huge, Deputy.ซึ่งอาจเป็นเรื่องใหญ่มาก สมาชิกสภาผู้แทน AK-51 (2008)
- As resempative of Nab...- ด้วยเกียรติของผู้แทนแห่งนา... Bombad Jedi (2008)
All of you should be commended for your courage, and from what I hear, especially you representative Binks.พวกท่านทั้งหมดสมควร จะได้รับการยกย่องในความกล้าหาญ และจากที่ข้าได้ยินมา โดยเฉพาะเจ้า ผู้แทนบิงส์ Bombad Jedi (2008)
Representing Asia Casino of Korea.ผู้แทนของคาสิโนในเอเซีย Episode #1.9 (2008)
Do you speak for the entire human race?คุณเป็นผู้แทนเผ่าพันธุ์ มนุษย์ได้อย่างนั้นหรอ ? The Day the Earth Stood Still (2008)
He's cited as the reason Congress is considering the first national crime bill, making criminal enterprise across state lines a federal offense.เขาเป็นเหตุผลให้สภาผู้แทนพิจารณาร่างกฏหมายอาชญกรรมแห่งชาติฉบับแรก ทำให้อาชญกรรมข้ามรัฐเป็นคดีกลาง Public Enemies (2009)
Senator Kharrus and Representative Binks will be dispatched immediately.วุฒิสมาชิกคาร์รัสและผู้แทนบิงส์ จะเดินทางไปในทันที Dooku Captured (2009)
- In a moment, representative Binks.- รอสักครู่ ผู้แทนบิงส์ The Gungan General (2009)
Senator Kharrus, representative Binks, take your seats.ท่านวุฒิคาร์รัส, ผู้แทนบิงส์ โปรดนั่งประจำที่ The Gungan General (2009)
Representative Binks, stop fooling around.ผู้แทนบิงส์ หยุดทำอะไรไร้สาระได้แล้ว The Gungan General (2009)
Representative Binks is the highest-ranking person here.ผู้แทนบิงส์เป็นผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุด ณ ที่นี้ The Gungan General (2009)
Representative Binks, we're going to need your servicesผู้แทนบิงส์ เราต้องการความช่วยเหลือจากท่าน The Gungan General (2009)
Yes, sir. You are the senate representative.ใช่แล้วท่าน ท่านเป็นผู้แทนจากสภาสูง The Gungan General (2009)
Me-sa representative Binks.ข้าซ่าผู้แทนบิงส์ The Gungan General (2009)
No, if he's a representative, he might be worth something as well.ไม่ เขาเป็นถึงผู้แทน อาจจะมีอะไรที่เป็นประโยชน์บ้างก็ได้ The Gungan General (2009)
You, representative Bink, we'll take you to your Jedi friends so you can... negotiate.เจ้า ผู้แทนบิงส์ เราจะพาเจ้าไปหาเจไดเพื่อนของเจ้า แล้วเจ้าก็จะได้... The Gungan General (2009)
- representative Binks hostage.- ผู้แทนบิงส์เป็นตัวประกันแล้วครับ The Gungan General (2009)
He's no representative. He's a plague!มันไม่ใช่ผู้แทน มันเป็นตัววายร้าย The Gungan General (2009)
The speaker of the assembly. He has the power.ประธานสภาผู้แทน เขามีอำนาจพอ Trespass (2009)
The assembly has decided that the actions of Chairman Cho are out of order.สภาผู้แทนได้ตัดสิน ว่าปฏิบัติการของประมุขโชนั้น ถือเป็นโมฆะ Trespass (2009)
The Pantoran assembly has called you out of order.สภาผู้แทนแห่งแพนทอร่า ตัดสินว่าคำสั่งของท่านถือเป็นโมฆะ Trespass (2009)
Senator Amidala and Representative Binks race to Naboo to assess the situation.วุฒิสมาชิกอมิดาลา และผู้แทนบิงส์ ได้มุ่งหน้าสู่นาบูเพื่อประเมินสถานการณ์ Blue Shadow Virus (2009)
- Representative Binks was with her.- ผู้แทนบิงส์ไปกับนางด้วย Blue Shadow Virus (2009)
You know, it sucks for me, because Senator Armstrong was hooking me up with his Wall Street connections, and now that's not going to happen.คุณรู้มั้ย มันแย่มากสำหรับผม เพราะผู้แทนอาร์มสตรองเคยแย่ง เส้นสาย \"วอลล์สตรีท\" ของเขา Earth (2009)
We needed to get those supplies back.พวกเราอยากเอาร่างของท่านผู้แทนกลับเข้ามา Light (2009)
We'd like to ask Lower House member Kikuchi Daijirou-sensei to press it for us.[ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.คิคุจิ ไดอิจิโร่ ] Episode #1.7 (2009)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
คณะผู้แทน[khana phūthaēn] (n, exp) EN: delegation ; deputation ; mission ; representative  FR: délégation [ f ] ; mission [ f ]
คณะผู้แทนทางทูต[khana phūthaēn thāng thūt] (n, exp) EN: diplomatic mission  FR: mission diplomatique [ f ]
เป็นผู้แทน[pen phūthaēn] (v, exp) EN: be a representative ; be a delegate ; be a proxy ; be an agent ; be a substitute
ผู้แทน[phūthaēn] (n) EN: agent ; representative ; deputy ; spokeman ; delegate  FR: agent [ m ] ; représentant [ m ] ; délégué [ m ]
ผู้แทนเฉพาะคดี[phūthaēn chaphǿ khadī] (n, exp) EN: representative ad litem
ผู้แทนจำหน่าย[phūthaēn jamnāi] (n, exp) EN: distributing agent ; distributor  FR: distributeur [ m ]
ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว[phūthaēn jamnāi taē phū dīo] (n, exp) FR: distributeur exclusif [ m ]
ผู้แทนการค้า[phūthaēn kānkhā] (n, exp) EN: trade agent  FR: agent commercial [ m ]
ผู้แทนพระองค์[phūthaēn Phra-ong] (n, exp) EN: royal representative ; royal envoy
ผู้แทนผู้มีอำนาจ[phūthaēn phū mī amnāt] (n, exp) EN: authorized representative
ผู้แทนราษฎร[phūthaēn rātsadøn] (n) EN: assemblyman ; member of parliament ; congressman ; representative (of the people) ; elected representative  FR: député [ m ]
ผู้แทนทางทูต[phūthaēn thāng thūt] (n, exp) FR: agent diplomatique [ m ]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[samāchik saphā phūthaēnrātsadøn] (n, exp) EN: Member of the House of Representative  FR: membre de la Chambre des représentants [ m ]
สภาผู้แทนราษฎร[Saphā Phūthaēnrātsadøn] (n, prop) EN: House of Representatives ; Assembly of the People's Representatives ; House of Parliaments ; Lower House  FR: Assemblée nationale [ f ]
ถอนผู้แทนกลับ[thøn phūthaēn klap] (v, exp) EN: recall a representative

English-Thai: Longdo Dictionary
Lok Sabha(uniq) โลกสภา ชื่อเรียกสภาผู้แทนราษฎรของอินเดีย ส่วนวุฒิสภาของอินเดียนั้น เรียกว่า ราชย์สภา (Rajya Sabha)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
advocate(n) ทนาย, See also: ผู้แทนในทางกฎหมาย
agent(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, เอเย่นต์, Syn. representative, deputy
ambassador(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, Syn. representative, agent
delegacy(n) ความเป็นผู้แทน, See also: ความเป็นตัวแทน
delegate(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, Syn. representative, agent ambassador
delegation(n) คณะผู้แทน, See also: คณะบุคคลที่เป็นตัวแทนของคนกลุ่มใหญ่, Syn. embassy, deputation
deputation(n) กลุ่มตัวแทนที่ถูกตั้งขึ้น, See also: ผู้แทน
depute(vi) เป็นตัวแทน, See also: เป็นผู้แทน
deputy(n) ผู้รักษาการแทน, See also: ตัวแทน, ผู้แทน, Syn. ambassador, agent, representative,deputies
distributor(n) ผู้ค้าส่ง, See also: พ่อค้า, ผู้แทนจำหน่าย, ผู้แจกจ่าย, Syn. seller, wholesaler, jobber, seeder
electoral vote(n) คะแนนเสียงที่ผู้แทนรัฐลงให้เพื่อเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิดีของสหรัฐอเมริกา
stand-in(idm) ตัวแทน, See also: ผู้แทน
lieutenant(n) ผู้แทน, Syn. deputy
mission(n) คณะผู้แทน, See also: ผู้แทน, คณะทูต, Syn. deputation, embassy
natural wastage(n) การลดจำนวนผู้ทำงานโดยไม่หาผู้แทนตำแหน่งว่าง, Syn. attrition
nuncio(n) ผู้แทนพระสันตะปาปาในต่างประเทศ, Syn. diplomat
procurator(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, Syn. agent
representative(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, Syn. agent, delegate, proxy
supplies(n) ผู้ทำการแทน, See also: ผู้แทน, Syn. substitute
surrogate(adj) เป็นตัวแทน, See also: ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทน, Syn. substituted, representative
surrogate(n) ตัวแทน, See also: ผู้แทน, ผู้ทำหน้าที่แทน, Syn. substitute, representative, stand-in, deputy, proxy
syndic(n) ผู้แทนทางธุรกิจ, See also: ตัวแทน, Syn. agent
synod(n) การประชุมทางศาสนา (คำทางการ), See also: การประชุมของผู้แทนโบสถ์, Syn. assembly, convention
valedictorian(n) ผู้แทนผู้เรียนที่กล่าวสุนทรพจน์ในวันรับประกาศนียบัตร, See also: ตัวแทนนักเรียนหรือนักศึกษาที่กล่าวคำอำลา
vice-(prf) รอง, See also: ผู้แทน, ตัวแทน, ผู้แทน

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
ablegate(แอบ' ลิเดท) n. ผู้แทนของโป๊ป
agent(เอ' เจินทฺ) n. ตัวแทน, ผู้แทนจำหน่าย, แรงหรือสิ่งตามธรรมชาติที่ใช้เพื่อผลเฉพาะอย่าง, ยา, น้ำยา, พนักงานเจ้าหน้าที่, สายลับ, สารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี, Syn. performer
assemblyman(อะเซม'บลีเมิน) n. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
congressman(คอง'กริสเมิน) n. สมาชิก (ชาย) รัฐสภาอเมริกา (โดยเฉพาะของสภาผู้แทน) -pl. congressmen
delegate(เดล'ละเกท) n. ตัวแทน, ผู้แทน vt. มอบหน้าที่ให้ทำการแทน, แต่งตั้งตัวแทน, See also: delegable adj. ดูdelegate, Syn. legate
delegation(เดลละเก'เชิน) n. การแต่งตั้งหรือส่งตัวแทน, ภาวะที่เป็นตัวแทน, กลุ่มตัวแทน, คณะผู้แทน
deputy(เดพ'พิวที) n., adj. (ซึ่งเป็น) ผู้รักษาการแทน, ตัวแทน, ผู้แทน, สมาชิกสภาผู้แทน, รอง. -S.agent
distributor(ดิสทริบ'บิวเทอะ) n. ผู้แทนจำหน่าย, ผู้แจกจ่าย, ผู้แบ่งสรร, เครื่องจ่ายไฟ., Syn. distributer
electoral voteคะแนนเสียงที่ลงโดยผู้แทนรัฐ (electoral college) ในการเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
emissary(เอม'มิเซอรี) n. ทูต, ผู้แทน, จารชน, จารบุรุษ, สายลับ.
enfranchise(เอนแฟรน'ไชซ) vt. ให้สิทธิพิเศษ, ให้สิทธิในการเลือกตั้งผู้แทน, ให้สัมปทาน, ให้สิทธิเป็นผู้จำหน่ายแต่ผู้เดียว, ปล่อยให้เป็นอิสระ., See also: enfranchisement n. ดูenfranchise enfranchiser n. ดูenfranchise, Syn. franchise.
envoy(เอน'วอย) n. พูด, ตัวแทน, ผู้แทน, อุปทูต, Syn. agent
factor(แฟค'เทอะ) n. ปัจจัย, เหตุ, กรณี, ตัวคูณ, ตัวหาร, ผู้แทนบริษัท. vt. แสดงว่าเป็นผลคูณ., See also: factorial n., adj. factorable adj. factorship n., Syn. agent
franchise(แฟรน'ไชซ) n., vt. (ให้) สัมปทาน, สิทธิพิเศษ, สิทธิในการเป็นผู้แทนจำหน่าย, See also: franchisement n., Syn. right
house of representativesสภาผู้แทนราษฎร
impeachment(อิมพีช' เมินทฺ) n. การกล่าวโทษ, การฟ้องร้อง, การกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารชั้นสูงของรัฐบาลโดยสภาผู้แทนราษฎรต่อสภาสูง (senate) ของสหรัฐอเมริกา, การไม่เชื่อถือ, ภาวะที่ถูกกล่าวโทษดังกล่าว
internuncio(อินเทอนัน'ซิโอ) n. ทูตผู้แทนขององค์สันตะปาปา
mission(มิช'เชิน) n. คณะผู้แทน, ภาระหน้าที่ของคณะผู้แทน, คณะทูต, สถานทูต, งานปฏิบัติงานทางทหาร (มักได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่) , การเคลื่อนที่หรือการวิ่งสู่เป้าหมายของจรวดขีปนาวุธ, โบสถ์ที่ไม่มีพระอยู่ประจำ, งานมอบหมาย
popular voteคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิออกเสียง (ต่างจาก electoral vote ซึ่งเป็นคะแนนเสียงจากผู้แทน)
proxy(พรอค'ซี) n. ตัวแทน, ผู้แทน, การมอบฉันทะ pl. proxies, Syn. agency, deputy
representation(เรพพริเซนเท'เชิน) n. การแทน, การเป็นผู้แทน, เครื่องหมายแสดงออก, ตัวอย่าง, ตัวแทน, ผู้แทน, ข้อคิดเห็น, ทัศนคติ, การแสดงออก, รูป, ภาพ, รูปปั้น, การแสดงละคร, ข้อเท็จจริง, เครื่องแสดง, การบรรยาย, See also: representational adj., Syn. indic
representative(เรพริเซน'ทะทิฟว) n., adj. (เป็น) ผู้แทน, ตัวแทน, ผู้แทนราษฎร, ตัวอย่าง, See also: representativeness n., Syn. typical, Ant. atypical
sit(ซิท) { sat, sat, sitting, sits } vi. นั่ง, เข้านั่ง, ตั้งอยู่, พักผ่อนบน, นั่งบน, นั่งเกาะ, นั่งฟักไข่, เป็นผู้แทน, ประจำตำแหน่ง, เข้าร่วมสอบ, เข้าประชุม, ดูแลเด็กทารก, เหมาะกับ vt. ทำให้นั่ง, นั่งลง, นั่งคร่อม, จัดหาที่นั่งให้ sit out นั่งจนเลิก, ไม่สามารถเข้าร่วมได้
synod(ซิน'นอด) n. การประชุมทางศาสนา, การชุมนุมของผู้แทนโบสถ์หรือพระ, สภาสงฆ์, สภา, เถรสมาคม., See also: synodal adj., Syn. conclave
vicar(วิค'เคอะ) n. (ศาสนาคริสต์นิกายโบสถ์อังกฤษ) พระ, พระที่ได้รับเงินเดือนเล็กน้อย, ผู้ช่วยบิชอพ, ตัวแทน, ผู้แทน, See also: vicarly adj. vicarship n.
vice-Pref. รอง, ตัวแทน, ผู้แทน

English-Thai: Nontri Dictionary
agency(n) ตัวแทน, ผู้แทน, องค์การ, หน่วยงานราชการ, การกระทำ
agent(n) ตัวแทน, ผู้แทนจำหน่าย, นายหน้า, ตัวกระทำ
commissary(n) ผู้แทน, นายทหารฝ่ายพลาธิการ, ที่จ่ายเสบียง
commons(n) กลุ่มสามัญชน, สภาผู้แทนของอังกฤษ
delegate(n) ผู้แทน, ตัวแทน
delegation(n) คณะผู้แทน, กลุ่มตัวแทน, การมอบหมายหน้าที่
deputation(n) คณะผู้แทน, การมอบหน้าที่, การตั้งตัวแทน
depute(vt) ตั้งตัวแทน, แต่งตั้งผู้แทน
deputy(n) ตัวแทน, ผู้รักษาการแทน, รอง, สมาชิกสภาผู้แทน
distributor(n) ผู้แจกจ่าย, ผู้แทนจำหน่าย, เครื่องจ่ายไฟ
emissary(n) ทูต, ผู้แทน, จารชน, สายลับ
envoy(n) อุปทูต, ทูต, ผู้แทน
legate(n) ทูต, ผู้แทน
legislator(n) สมาชิกสภานิติบัญญัติ, ผู้ออกกฎหมาย, ผู้แทนราษฎร, ผู้บัญญัติกฎหมาย
minion(n) บ่าว, คนรับใช้, คนรัก, สมุน, ข้าราชการผู้น้อย, ผู้แทน
mission(n) ภาระ, ธุระ, คณะผู้แทน, คณะผู้สอนศาสนา, คณะทูต
proxy(n) ตัวแทน, ผู้แทน, การมอบฉันทะ
representation(n) ตัวอย่าง, การแสดง, ผู้แทน, การบรรยาย, ข้อคิดเห็น
representative(n) ตัวแทน, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
spokesman(n) ผู้แทน, โฆษก, ผู้แถลงข่าว
substitute(n) ผู้แทน, ตัวแทน, คำแทน

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
congressman[คอง'กริสเมิน] (n) สมาชิก(ขาย)รัฐสภาอเมริกา(โดยเฉพาะของสภาผู้แทน)
distributorships(n) สิทธิของการเป็นผู้แทนจำหน่าย
factor(n) ผู้แทนค้าต่าง
Lieutenant-Governorผู้แทนข้าหลวง เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในดินแดนของสหราชอาณาจักร
MLAsMembers of the Northern Ireland Assembly สมาชิกผู้แทนสมัชชาไอร์แลนด์
Pro Consul(n, phrase) ผู้แทนกงสุล
publicity agentผู้แทนโฆษณา
representativeผู้แทน

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
代表団[だいひょうだん, daihyoudan] (n) คณะผู้แทน
衆議院[しゅうぎいん, shuugiin] (n) สภาผู้แทนราษฎร

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
代え[かえ, kae] (n) (พรอค'ซี) n. ตัวแทน, ผู้แทน, การมอบฉันทะ pl. proxies, S. agency, deputy
駐在事務所[ちゅうざいじむしょ, chuuzaijimusho] (n) สำนักงานผู้แทน

German-Thai: Longdo Dictionary
Vertreter(n) |der, pl. Vertreter| ตัวแทน, ผู้แทนบริษัท

German-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*ualitätsmanagement-Beauftragte { m, f }; Qualitätsm*(n) ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top