ประดิษฐาน | (ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. |
ครรภมณฑล | น. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. |
จระนำ | (จะระ-) น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. |
เจดียฐาน, เจดียสถาน | น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ. |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ชุกชี | (ชุกกะ-) น. ฐานส่วนล่างที่เป็นส่วนรองรับรัตนบัลลังก์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นต้น มักก่ออิฐถือปูน, จุกชี ก็ว่า. |
ซุ้มคูหา | น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ซุ้มจระนำ | น. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป. |
เทวสถาน | น. สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นที่ประทับหรือสิงสถิตของเทพเจ้าหรือเทวดา, ที่ประดิษฐานเทวรูป. |
ธงกระบี่ธุช | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวาของประธานในงาน และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้ายของประธานในงาน และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา. |
ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม. |
บุษบก | (บุดสะบก) น. เรือนยอดแบบหนึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน เป็นอย่างเรือนโกง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูปเป็นต้น. |
เบญจา | (เบ็นจา) น. แท่นมีเสารับเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่นกัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ปราสาท | (ปฺรา-) น. เรือนยอดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สำหรับเป็นที่ประทับเฉพาะพระมหากษัตริย์หรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. |
โปรเตสแตนต์ | (โปฺร-) น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระและนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของพระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูปพระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็นสัญลักษณ์. |
พระประธาน | น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือวิหารเป็นต้น. |
พิหาร | วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. |
เมรุทอง | (เมน-) น. เมรุขนาดเล็ก มีรูปทองอย่างบุษบก สร้างอยู่ภายในพระเมรุมาศ ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพเพื่อถวายพระเพลิง เรียกว่า พระเมรุทอง. |
เมรุมาศ | (เมรุมาด) น. สิ่งปลูกสร้างโดยขนบนิยมอย่างไทย มีลักษณะเป็นเครื่องยอดขนาดใหญ่ สูง สำหรับประดิษฐานพระบรมศพ ภายในมีพระเมรุทองซึ่งมีรูปทรงอย่างบุษบกขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพสำหรับถวายพระเพลิง ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ. |
ราชรถ | (ราดชะรด) น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีเรือนยอดทรงบุษบก ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ เช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ. |
เรือพระที่นั่งชัย | น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย. |
วิหาร, วิหาร- | ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์ |
วิหารคด | น. วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีลักษณะหักเป็นข้อศอก โดยมากตั้งอยู่ ๔ มุม ของเขตพุทธาวาส หรืออาจมีหลังเดียวก็ได้. |
สวัสดิมงคล | น. สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล. |
อัญเชิญ | ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระอุโบสถ. |
อาวาส | (-วาด) น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์ |