ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*บัญญัติ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: บัญญัติ, -บัญญัติ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ศัพท์แพทย์ศาสตร์สำหรับคนไทย (MED) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
disorientation(n) ความงุนงงสับสน (ศัพท์บัญญัติ ราชบัญฑิตยสถาน)

Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Foreign Corrupt Practices Act(n, uniq) รัฐบัญญัติว่าด้วยพฤติกรรมการคอร์รัปชั่นในต่างประเทศ, See also: R. FCPA

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
บัญญัติ(n) regulation, See also: act, law, decree, Syn. ข้อกำหนด, ข้อบังคับ, Example: เขาผิดบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า สมควรได้รับการลงโทษ, Thai Definition: ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย
บัญญัติ(v) legislate, See also: enact, decree, lay down, formulate, Syn. กำหนด, ออกกฎ, Example: รัฐบาลบัญญัติกฎหมายห้ามสูบฝิ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว, Thai Definition: ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับเป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย
การบัญญัติ(n) enactment, See also: legislation, constitution, establishment, Syn. การกำหนด, การตรา, Example: พระธรรมศาสตร์ใช้เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายในสมัยกรุงสุโขทัย, Thai Definition: การตราหรือการกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับเป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น การบัญญัติศัพท์ การบัญญัติกฎหมาย
ข้อบัญญัติ(n) code of law, See also: legal code, Syn. กฎหมาย, Example: กรุงเทพมหานครจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการพัสดุพ.ศ.2538, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา, Notes: (กฎ)
เทศบัญญัติ(n) municipal law, Syn. กฎหมาย, ข้อบังคับ, กฎเกณฑ์, Example: มีเทศบัญญัติห้ามวางขายสินค้ากีดขวางทางเดินเท้า, Thai Definition: บทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้น เพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น
ศัพท์บัญญัติ(n) terminology, Example: เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการใช้ศัพท์บัญญัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน, Count Unit: คำ, Thai Definition: คำที่กำหนดให้ใช้จากคำที่แปลมาจากภาษาอื่น
พระราชบัญญัติ(n) act, Syn. พ.ร.บ., Example: พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ออกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544, Count Unit: ฉบับ, มาตรา, Thai Definition: บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา, Notes: (กฎหมาย)
สภานิติบัญญัติ(n) legislative assembly, See also: legislature, Example: เกษตรกรไม่เชื่อว่าร่างที่ผ่านสภานิติบัญญัติจะให้ประโยชน์สูงสุดแก่พวกเขา, Thai Definition: สภาซึ่งมีหน้าที่และบัญญัติเรื่องกฎหมายและพระราชบัญญัติ
การบัญญัติศัพท์(n) coining (new terms), Syn. การกำหนดศัพท์, Example: วงการเศรษฐกิจ วงการศิลปะ วงการกฎหมาย วงการเมือง ฯลฯ ต่างก็มีการบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นใช้ให้เหมาะกับความจำเป็นของวิทยาการสมัยใหม่
บัญญัติไตรยางศ์(n) rule of three in arithmetic, Example: ผู้สมัครแต่ละคนได้คะแนนเสียงเท่าไร ก็ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์, Thai Definition: วิธีเลขอย่างหนึ่งซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข 3 จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ 4 โดยวิธีเทียบหา 1 ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการด้วยการนำเลขทั้ง 3 จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น 3 ขั้น
อำนาจนิติบัญญัติ(n) legislative power, Example: หลักการแยกหน้าที่กันระหว่างส.ส. ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติออกจากรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจบริหารนั้น เป็นหลักการที่มีเหตุผลทางวิชาการ, Notes: (กฎหมาย)
ร่างพระราชบัญญัติ(n) (proposed) bill, See also: proposed Act/legislation, Example: เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับต่างๆ ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งกรรมาธิการกันใหม่เป็นคราวๆ ไป, Count Unit: ฉบับ, Thai Definition: ร่างกฎหมายที่เขียนขึ้นเสนอต่อสภาเพื่ออภิปราย

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อบัญญัติน. กฎที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา.
เทศบัญญัติน. กฎที่เทศบาลตราขึ้น เพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น.
นิติบัญญัติน. กระบวนการในการตรากฎหมาย.
บทบัญญัติน. ข้อความของกฎหมายที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.
บัญญัติ(บันหฺยัด) น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ.
บัญญัติ(บันหฺยัด) ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย.
บัญญัติไตรยางศ์น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
พระราชบัญญัติน. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอ การพิจารณาและการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากพระราชบัญญัติ.
ศัพท์บัญญัติน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.
กฎข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง
กฎมนเทียรบาลน. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
กบฏเป็นฐานความผิดอาญา ที่เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และการแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง.
กระทู้ถามน. คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ.
กลบท(กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ).
การคลังชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
การทะเบียนราษฎรน. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร.
การเปิดอภิปรายทั่วไปน. กลไกที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้มีขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากสมาชิกสภา.
กำหนดบทบริหารบัญญัติคล้ายพระราช-กฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
ข้อกฎหมายน. เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ความหมายของบทบัญญัติของกฎหมาย ผลบังคับของกฎหมาย หรือการปรับใช้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย.
เขตเลือกตั้งน. ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตสำหรับจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติหรือผู้บริหารท้องถิ่น.
เขตอำนาจศาลน. พื้นที่และอำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ.
คณะองคมนตรีน. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
คดีอาญาน. คดีที่เกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา.
ค่าธรรมเนียมน. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่เรียกเก็บตามกฎหมาย เนื่องจากการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมการส่งออกตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน.
คานก. รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนักขึ้นไว้, ถ่วงนํ้าหนักกัน เช่น อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของฝ่ายบริหารคานกัน, โดยปริยายหมายความว่า ค้านกัน ยังตกลงกันไม่ได้.
เจ้าพนักงานบังคับคดีน. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
เจ้าหน้าที่ของรัฐน. ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือในหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานองค์การมหาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายบางฉบับก็ขยายไปถึงสมาชิกสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย.
ช้างเผือก ๒น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก.
เชษฐ- ๒, เชษฐะ(เชดถะ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้างหรือคอนาค เช่น อัษฐรัศนักษัตรสมบุรณยล บัญญัติเชษฐดารา (สรรพสิทธิ์), ดาวเชษฐา ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก.
ซ่องโจรน. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ สมคบกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป.
ญัตติข้อเสนอเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในกิจการของสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ
ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปน. มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารใช้ประโยชน์จากฝ่ายนิติบัญญัติในการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายนิติบัญญัติ.
ฐิติข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ
ตราตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
ถือศีลก. ปฏิบัติตนโดยไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจาให้เป็นปรกติ.
ทรัพยสิทธิ(ซับพะยะสิด) น. สิทธิเหนือทรัพย์สินที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิอาศัย ภาระจำยอม.
ที่รโหฐานน. ที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา.
นีติธรรมน. วินัยบัญญัติ, หลักกฎหมาย, นิติธรรม.
บทกำหนดโทษน. บทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญาหรือทางปกครอง สำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมาย.
บทเฉพาะกาลน. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้บังคับกฎหมายใหม่ที่มีต่อกรณีที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ หรือวิธีดำเนินการกับกรณีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหรือในวันใช้บังคับกฎหมายใหม่ หรือที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่กำหนดภายหลังจากที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว.
บทลงโทษน. ข้อบัญญัติโทษทางอาญา.
บังคับกฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส.
บังคับครุน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
บังคับโทน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
บังคับลหุน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ละ ติ ลุ.
บังคับสัมผัสน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำคล้องจองกัน มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร.
บังคับเอกน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้.
บุคคลผู้ไร้ความสามารถน. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมายหรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
ประชามติมติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ. (อ. referendum)

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
provisionบท, บทบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
provide๑. บัญญัติ, กำหนด๒. จัดหาให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Parliament, Act ofพระราชบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Parliament, legislative supremacy ofอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติของรัฐสภา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
parliamentary committeeคณะกรรมาธิการของสภา (นิติบัญญัติ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
provision๑. บทบัญญัติ๒. เงินสำรอง มีความหมายเหมือนกับ reserve [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
provision๑. บทบัญญัติ, ข้อกำหนด๒. การจัดหาให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
power, investigativeอำนาจสืบสวน (ของสภานิติบัญญัติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
power, legislativeอำนาจนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
power, ordinanceอำนาจออกบทบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
prescribe๑. บังคับไว้, บัญญัติไว้, กำหนดไว้๒. สั่งยา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
positive lawบทบัญญัติแห่งกฎหมาย, กฎหมายที่ตราเป็นลายลักษณ์อักษร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
privilege, breach ofการละเมิดเอกสิทธิ์ (ของฝ่ายนิติบัญญัติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislation๑. การออกกฎหมาย, การตรากฎหมาย๒. กฎหมาย, บทบัญญัติแห่งกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislation๑. การตรากฎหมาย๒. กฎหมาย, บทบัญญัติแห่งกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislation, delegatedบทบัญญัติที่อาศัยอำนาจกฎหมายอื่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Lloyd's Actsพระราชบัญญัติสถาบันลอยด์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
law, municipalเทศบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, substantiveกฎหมายสารบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, substantiveกฎหมายสารบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative powerอำนาจนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative powerอำนาจนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative supremacyอำนาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative vetoการยับยั้งของฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Legislative, theฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislatorผู้บัญญัติกฎหมาย, สมาชิกสภานิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislatureสภานิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislatureสภานิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legistative supremacy of Parliamentอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติของรัฐสภา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
law, positiveบทบัญญัติแห่งกฎหมาย, กฎหมายที่ตราเป็นลายลักษณ์อักษร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
law, proceduralกฎหมายวิธีพิจารณาความ, กฎหมายวิธีสบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, adjectiveกฎหมายวิธีสบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, adjectiveกฎหมายวิธีสบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
local legislation; legislation, localข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
local legislationข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative councilคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative counselที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative courtศาลฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative courtศาลฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative day๑. วันในสมัยประชุมสภานิติบัญญัติ๒. วันประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative functionอำนาจหน้าที่ทางนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative immunityความคุ้มกันฝ่ายนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative investigationการสืบสวนทางนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative jurisdictionเขตอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislation, local; local legislationข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative actบทบัญญัติที่ออกโดยผ่านสภานิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
legislative blackmailการกรรโชกทางนิติบัญญัติ (ว่าจะออกกฎหมายบังคับ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative budgetงบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legislative councilคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
rule of threeบัญญัติไตรยางศ์ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Videoวีดิทัศน์, คำว่า วีดิทัศน์ เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า video (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า “วีติ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความสนุกสนานรื่นเริง” มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า video ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า “ทัศน์” ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า “เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง” คำนี้มักจะเขียนตามคำอ่าน ซึ่งพบว่ามีการใช้สระผิด เช่น เขียนว่า วิดีทัศน์ หรือ วีดิโอ คำที่ถูกต้องคือ วีดิทัศน์ (ว สระอี ด สระ อิ ..) และ วิดีโอ (ว สระอิ ด สระอี ...) [เทคโนโลยีการศึกษา]
Agricultural legislationบทบัญญัติการเกษตร [เศรษฐศาสตร์]
Radiation areaบริเวณรังสี, บริเวณที่มีรังสีในปริมาณที่กำหนดไม่ว่ารังสีนั้นจะมาจากวัสดุกัมมันตรังสี หรือ เครื่องกำเนิดรังสี <br>ปริมาณรังสีที่กำหนดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 เท่ากับหรือมากกว่า 25 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี</br> [นิวเคลียร์]
Videoวีดิทัศน์, <p>คำนี้มักจะเขียนตามคำอ่าน ซึ่งพบว่ามีการใช้สระผิด เช่น เขียนว่า วิดีทัศน์ หรือ วีดิโอ คำที่ถูกต้องคือ วีดิทัศน์ (ว สระอี ด สระ อิ ..) และ วิดีโอ (ว สระอิ ด สระอี ...) <p>คำว่า วีดิทัศน์ เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า video (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า “วีติ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความสนุกสนานรื่นเริง” มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า video ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า “ทัศน์” ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า “เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง” [คำทับศัพท์ที่มักใช้ผิด]
emeritus professorศาสตราจารย์กิตติคุณ, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ, ตำแหน่งที่แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำ ผู้เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ <p>ศาสตราจารย์ผู้นี้อาจสอนในมหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้ แต่ไม่ใช่ศาสตราจารย์ที่ต่ออายุราชการ บางมหาวิทยาลัยจะปรากฏชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณแยก จากศาสตราจารย์ธรรมดาในคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา <p>การเรียกชื่อศาสตาราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณนั้นขึ้นอยู่กับ พระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
popพ็อป, pop มาจากตำว่า pop pular music หรือ pop music บัญญัติศัพท์ว่า เพลงประชานิยม [คำทับศัพท์ที่มักใช้ผิด]
The Securities and Exchange Act B.E. 2535พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535, Example: พระราชบัญญัติเพื่อกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2535 แทนพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขในปี พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการออกหลักทรัพย์จำหน่ายในตลาดแรก การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์และองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ รวมถึงการพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวหน้า ทันสมัยและมีเสถียรภาพ [ตลาดทุน]
The Derivatives Act B.E.2546พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546, Example: พระราชบัญญัติเพื่อกำกับดูแลธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกำกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า [ตลาดทุน]
Provident Fund Act B.E. 2530พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530, Example: พระราชบัญญัติเพื่อกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2530 โดยแต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต่อมาได้แก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2542 และเมื่อ พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลังได้โอนการกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ [ตลาดทุน]
Criminal provisionsบทบัญญัติทางอาญา [TU Subject Heading]
Legislative bodiesองค์กรนิติบัญญัติ [TU Subject Heading]
Legislative powerอำนาจนิติบัญญัติ [TU Subject Heading]
Ordinances, Municipalเทศบัญญัติ [TU Subject Heading]
Parliamentary practiceกฎและระเบียบปฏิบัติทางการนิติบัญญัติ [TU Subject Heading]
Statutesพระราชบัญญัติ [TU Subject Heading]
Terminologyศัพท์บัญญัติ [TU Subject Heading]
Terms and phrasesการบัญญัติศัพท์ [TU Subject Heading]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
Act on Consular Privileges and Immunities B.E. 2541พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541 [การทูต]
Act on Diplomatic Privileges and Immunities B.E. 2527พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 [การทูต]
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Approbationการที่รัฐหนึ่งใดมีทัศนคติในทางพึงพอใจและเห็น พ้องด้วยกับบทบัญญัติในสนธิสัญญาหนึ่งใด ซึ่งรัฐนั้นมิได้เป็นภาคีคู่สัญญานั้นแต่อย่างใด [การทูต]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Consulข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต]
Consular Fees and Chargesค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต]
Consular office Declared ?Non grata?เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต]
conventionอนุสัญญา โดยมากแล้ว อนุสัญญามักเป็นหนังสือสัญญาทำกันระหว่างหลายประเทศที่มาประชุมกัน และจัดวางบทบัญญัติเป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายขึ้น [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Departure of Diplomatic Agentsการออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต]
Diplomatic Pouchถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Duration of Diplomatic Privileges and Immunitiesระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต]
Exclusive Economic Zoneเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือ บริเวณที่อยู่เลยไปจากและประชิดกับทะเลอาณาเขต สิทธิและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งและสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นถูกกำหนดโดยบท บัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ. 2525 [การทูต]
Establishment of Diplomatic Relations and Missionsการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต]
Exemption from Taxation of Diplomatic Agentการยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต]
Exequaturคำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต]
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functionsการปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต]
Foreign Policyนโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต]
Freedom of Communicationเสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต]
Freedom of Movement of Diplomatic Agentsเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต]
Freedom of Movement of Member of Consular Postเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล? [การทูต]
Functions of Diplomatic Missionภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต]
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-Chinaการประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Head of Diplomatic Missionบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต]
Heads of Stateผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต]
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agentsความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The Ark of the Covenant.หีบแห่งบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981)
- Where the Ark was kept.- ที่ซึ่งเก็บซ่อนหีบแห่งบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981)
An army which carries the Ark before it is invincible.กองทัพที่มีหีบแห่งบัญญัติศักดิ์สิทธิ์... ...จะสามารถเอาชนะได้ในทุกสงคราม Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981)
- The Ark of the Covenant...- หีบแห่งบัญญัติศักดิ์สิทธิ์... Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981)
This is a warning not to disturb the Ark of the Covenant.มันเป็นคำเตือน ไม่ให้รบกวน หีบแห่งบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981)
Which of God's lessons...บัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า The Lawnmower Man (1992)
Parliament has passed the Prevention of Terrorism Act... which allows terrorist suspects to be held by police for up to seven days.รัฐสภาได้ผ่าน ตามพระราชบัญญัติการป้องกันการก่อการร? ซึ่งช่วยให้ผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายที่จะ จัดขึ้นโดยเ? In the Name of the Father (1993)
You're all being held under the Prevention of Terrorism Act.คุณกำลังทั้งหมดจะถูกจัดขึ้นภายใต้ ตามพระราชบัญญัติ? In the Name of the Father (1993)
These people were arrested two days... after the Prevention of Terrorism Act was introduced.คนเหล่านี้ถูกจับกุม สองวัน ... หลังจากที่การป้องกัน ของพระราชบัญญัติการก่อการร้าย? In the Name of the Father (1993)
The directives coming in from Berlin mention "Special Treatment" more and more often."ผ่อนปรนพิเศษ" ก็ได้... นี่เราจะต้องบัญญัติศัพท์ใหม่มั้ย Schindler's List (1993)
- Act of God.- พระราชบัญญัติของพระเจ้า Pulp Fiction (1994)
# Act queerly# พระราชบัญญัติตระการ The Birdcage (1996)
Moses with a few billion new commandments.โมเสสมีไม่กี่พันล้านบัญญัติใหม่ Contact (1997)
It's a mitzvah Jewish men should do.เป็นบทบัญญัติสำหรับชาวยิวทุกคน Pi (1998)
Mitzvahs, good deeds. They purify us.บทบัญญัติ ศีลธรรม ชำระล้างบาปของเรา Pi (1998)
No way. I work with numbers myself. I mean, not traditional.ไม่มีทาง ผมทำงานกับตัวเลขด้วยตัวเอง ไม่ใช่แบบธรรมดานา แต่กับพระบัญญัติ Pi (1998)
Torah is just a long string of numbers.พระบัญญัติก็คืออนุกรมยาว ๆ ของตัวเลข Pi (1998)
We're searching for a pattern in the Torah.เราค้นหา รูปแบบ ในพระบัญญัติ Pi (1998)
He's a number theorist. The Torah is his data set.นักทฤษฎีจำนวน ค้นคว้าเกี่ยวกับพระบัญญัติ Pi (1998)
He says they're after a 216-digit number in the Torah.เขาบอกผมว่าพวกเขากำลังค้นหา ตัวเลข 216 ตัวในพระบัญญัติ Pi (1998)
Maybe it's like the pattern in the stock market? The Torah?บางทีมันอาจเหมือนกับรูปแบบในตลาดหุ้น ในพระบัญญัติ Pi (1998)
- The Torah.พระบัญญัติ Pi (1998)
It housed the Ark of the Tabernacle, which stored the original 10 Commandments which God gave to Moses.หีบแห่งพันธสัญญา ซึ่งเป็นที่บรรจุของ บัญญัติสิบประการ ซึ่งพระเจ้าประทานแก่ โมเสส Pi (1998)
Start writing letters to lawmakers back home.แต่ตอนนี้ผมอยากให้คุณเริ่มเขียนจดหมายไปยัง สมาชิกสภานิติบัญญัติที่บ้านคุณ Brokedown Palace (1999)
I think the Ten Commandments were probably a Iot easier to stick to...ฉันว่าบัญญัติสิบประการจะทำง่ายกว่านี้ The Story of Us (1999)
In accordance with the provision of Article 43 of Meishu school rulesตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ของกฎระเบียบของโรงเรียนเมชู GTO (1999)
Rule 3.03 of Supreme Judicial Court... states that a law student may appear on behalf... of a defendant in criminal proceedings.กฎข้อที่ 3 วรรค 3 ศาลสูงสุด... บัญญัติว่านักศึกษานิติศาสตร์สามารถว่าความในฐานะ... ทนายฝ่ายจำเลยในการพิจารณาคดีอาชญากรรม Legally Blonde (2001)
The ruling also states... that you need a licensed attorney to supervise you.กฏยังได้บัญญัติไว้ว่า คุณต้องมีทนายที่ได้รับใบอนุญาตเพื่อควบคุมคุณ Legally Blonde (2001)
-There's an unwritten rule for marr--- มีกฎที่ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าคนที่แต่งงาน... Mona Lisa Smile (2003)
The ruling is as follows:ซื่งตามกฎหมายบัญญัติไว้ว่า Uninvited (2003)
Aren't there rules?เรื่องกฏระเบียบที่ท่านบัญญัติไว้? Mulan 2: The Final War (2004)
About the ecclesiastical court when Council of Trient ruled.ผมเรียนเกี่ยวกับกฏข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระบัญญัติของศาสนาน่ะครับ Love So Divine (2004)
Teach catechism for her to be baptized.สอนบัญญัติสิบประการให้เธอซะ เพื่อเธอจะได้รับศีลล้างบาป Love So Divine (2004)
Introductory Catholic Catechismบัญญัติสิบประการของคริสตชน Love So Divine (2004)
How unfamiliar words like "collateral" and "rendition" became frightening while things like "Norsefire" and the "Articles of Allegiance" became powerful.คำที่ไม่คุ้นเคยอย่าง "ผลเทียบเคียง" และ "การตีความ" การเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว... ...ในขณะที่ "พรรคนอสซิไฟร์" และ "บัญญัติแห่งความภักดี" เป็นสิ่งมีอำนาจ V for Vendetta (2005)
"A fire is kindled in my anger, and shall burn into the lowest hell."Deuteronomy."เพราะมีไฟก่อขึ้นด้วยเหตุความกริ้วของเรานั้น /Nไฟก็ไหม้ลุกลามไปจนถึงก้นลึกของนรก" หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ Compulsion (2005)
Good, 'cause the Ten Commandments don't mean a box of piss in here.ไม่เคยได้ใส่ใจเลย ดี, เพราะบัญญัติ 10 ประการ ไม่มีผลอะไรทั้งนั้นในนี้ Pilot (2005)
We got two commandments and two only.เรามีเพียงบัญญัติ 2 ประการเท่านั้น Pilot (2005)
Act natural.พระราชบัญญัติธรรมชาติ Cars (2006)
We won't move.ซึ่งพระองค์ได้บัญญัติเอาไว้ อาเมน Golden Door (2006)
The Diet has stopped the regular council by the speech from the PM that crime rate is decreasing because of Kira, but many of the citizens and the young members of the Diet rather seem to support his opinion.การตายถูกหยุดได้โดยสภาเป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรี ว่าอัตราอาชญากรรมลดลงเพราะ คิระ แต่ประชาชนจำนวนมากและสมาชิกสภานิติบัญญัติ Death Note: The Last Name (2006)
In fact, this is practically a first amendment issue.ที่จริงแล้ว นี่เกือบจะเป็นการแก้ไขบทบัญญัติครั้งแรก Art Isn't Easy (2007)
I think you might have broken a commandment somewhere in there.เธอทำบัญญัติเสียความศักดิ์สิทธิ์หมดแล้วละมั้งนั่น The Dark Defender (2007)
The Executive, the Legislative, and the Judicial.บริหารนิติบัญญัติและตุลาการ Sex Trek: Charly XXX (2007)
Proverbs 13:3.บัญญัติที่ 13 : 3 3:10 to Yuma (2007)
Proverbs 21.บัญญัติที่ 21 3:10 to Yuma (2007)
"In order to affect a timely halt to deteriorating conditions, and to ensure the common good, a state of emergency is declared for these territories by decree of Lord Cutler Beckett, duly appointed representative of His Majesty, the King.ตามบทบัญญัติของ ลอร์ด คัทเลอร์ แบคเก็ท ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนแห่งสมเด็จพระราชา ด้วยบัญญัติภายใต้กฎอัยการศึก Pirates of the Caribbean: At World's End (2007)
Right to legal counsel, suspended.ตามบทบัญญัตินี้ ใครก็ตามที่มีความผิดฐานปล้นสดมถ์ Pirates of the Caribbean: At World's End (2007)
- The Code. As set forth by Morgan and Bartholomew.บัญญัติโดยมอร์แกนและบาร์โทโลมิว Pirates of the Caribbean: At World's End (2007)
As per the Code, an act of war, and this be exactly that, can only be declared by the pirate king.ตามบทบัญญัติ กฎสงคราม การออกคำสั่งแบบนี้ เป็นอำนาจของราชาโจรสลัดเท่านั้น Pirates of the Caribbean: At World's End (2007)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อำนาจนิติบัญญัติ[amnāt nitibanyat] (n, exp) EN: legislative power  FR: pouvoir législatif [ m ]
บัญญัติ[banyat] (n) EN: regulation ; act ; law ; decree ; regulation  FR: décret [ m ] ; loi [ f ] ; règle [ f ] ; ordonnance [ f ]
บัญญัติ[banyat] (v) EN: enact ; prescribe ; legislate ; decree ; lay down ; formulate ; ordain ; regulate  FR: décréter ; promulguer ; légiférer ; ordonner
บัญญัติ[banyat] (v) EN: coin
บัญญัติกฎหมาย[banyat kotmāi] (v, exp) EN: legislate ; enact a law  FR: légiférer
บัญญัติไตรยางศ์[banyattraiyāng] (n) EN: rule of three  FR: règle de trois [ f ]
บทบัญญัติ[botbanyat] (n) EN: law ; legal provision ; legislation
ข้อบัญญัติ[khøbanyat] (n) EN: code of law ; article (of a law) ; stipulation
ข้อบัญญัติท้องถิ่น[khøbanyat thøngthin] (n, exp) EN: local law ; local legislation
กฎหมายสาระบัญญัติ[kotmāi sāra banyat] (n, exp) EN: substantive law
นิติบัญญัติ[nitibanyat] (n) EN: legislation ; statute  FR: législation [ f ]
นิติบัญญัติ[nitibanyat] (adj) EN: legislative  FR: législatif
พระราชบัญญัติ[phrarātchabanyat] (n) EN: act
พระราชบัญญัติห้าม...[phrarātchabanyat hām …] (n, exp) EN: law prohibiting …  FR: loi d'interdiction de …
พระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน[phrarātchabanyat wēnkheūn thīdin] (n, exp) EN: expropriation Act
ผู้บัญญัติกฎหมาย[phū banyat kotmāi] (n, exp) EN: legislator
รัฐบัญญัติ[ratthabanyat] (n, exp) EN: act
ศัพท์บัญญัติ[sap banyat] (n, exp) EN: invented word ; coined word ; prescribed words ; terminology
สภานิติบัญญัติ[saphānitibanyat] (n, exp) EN: legislative assembly ; legislature
สภานิติบัญญัติ[saphā nitibanyat] (n, exp) EN: legislative assembly  FR: assemblée législative [ f ]
ศาสนบัญญัติ[sātsanabanyat] (n, exp) EN: religious prescriptions
เทศบัญญัติ[thētsabanyat] (n, exp) EN: by-law ; municipal law  FR: arrêté municipal [ m ]
พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ)[phø.rø.pø. (phrarātchabanyat)] EN: act

English-Thai: Longdo Dictionary
computer(n) คณิตกร (ศัพท์บัญญัติในภาษาไทย)
foreign business act(n) พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
Central Bankruptcy Court(n, name, org, uniq) ศาลล้มละลายกลาง เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ - อ้างอิงจากhttp://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html
midrash(n) หนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณ(คัมภีร์ห้าเล่มแรกของชาวยิว) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ Halakhah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณที่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ และ Aggadah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ, See also: Talmud, Mikra, Masorah, Syn. Exegesis
halakhah(n) เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ Midrash ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณ(คัมภีร์ห้าเล่มแรกของชาวยิว) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ Halakhah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณที่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ และ Aggadah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ, See also: Midrash, Aggadah, Syn. exegesis
aggadah(n) เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ Midrash ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณ(คัมภีร์ห้าเล่มแรกของชาวยิว) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ Halakhah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณที่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ และ Aggadah ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายหนังสือเบญจบรรณในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ, See also: Midrash, Halakhah, Syn. exegesis
deuteronomy(n) หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ หนังสือเล่มที่ 5 ของพระคริสต์ธรรมคัมภีร์(พันธสัญญาเก่า), See also: The Old Testament

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
bill(n) ร่างกฎหมาย, See also: ร่างพระราชบัญญัติ, ร่างรัฐธรรมนูญ, Syn. act, law
coinage(n) การบัญญัติศัพท์, See also: การคิดคำขึ้นใหม่, การสร้างคำ, Syn. neologism
creed(n) ข้อบัญญัติทางศาสนา
enact(vt) ออกกฎหมาย, See also: ออกพระราชบัญญัติ, ออกพระราชกำหนด, Syn. decree, legislate, ordain
enactment(n) กฎหมาย, See also: พ.ร.บ., พระราชบัญญัติ, กฎหมาย, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, Syn. law, legislation, regulation
enactment(n) การประกาศใช้เป็นกฎหมาย, See also: การบัญญัติ, การออกกฎหมาย
formulation(n) การกำหนด, See also: การบัญญัติ, การคิดขึ้น, การประดิษฐ์ขึ้น, Syn. creation, construction
legislate against(phrv) ออกกฎหมายต่อต้าน, See also: บัญญัติกฎหมายคัดค้าน
lawgiver(n) ผู้บัญญัติกฎหมาย, Syn. lawmaker
lawmaker(n) ผู้บัญญัติกฎหมาย, Syn. lawgiver
legislation(n) การออกกฎหมาย, See also: การออกพระราชบัญญัติ, การบัญญัติกฎหมาย, Syn. legislating, lawmaking
legislative(adj) เกี่ยวกับการออกกฎหมาย, See also: เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมาย
legislative(adj) เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติ
legislator(n) สมาชิกของสภานิติบัญญัติ
lobby(n) กลุ่มผู้รณรงค์หาเสียงสนับสนุนเกี่ยวกับนิติบัญญัติ
mandate(n) คำสั่ง, See also: ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, Syn. command, decree, order, commission
measure(n) กฎหมาย, See also: พระราชบัญญัติ, ร่างพระราชบัญญัติ, Syn. proposition, proposal
ordinance(n) กฎหมาย, See also: กฎ, พระราชบัญญัติ, Syn. order, rule, law
regulate(vt) วางระเบียบ (ทางกฎหมาย), See also: กำหนด, บัญญัติ
rule of three(n) บัญญัติไตรยางศ์
statute(n) รัฐบัญญัติ, See also: พระราชบัญญัติ, Syn. enactment, law
unconstitutional(adj) ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ, Ant. constitutional

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
ansi(แอนซี) ย่อมาจาก American National Standards Institute ซึ่งราชบัณฑิตสถานบัญญัติว่า "สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา" เป็นสถาบันเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้นดู ANSI C, ANSI character set, ANSI graphics
assize(อะไซซ') n. สภานิติบัญญัติ, ศาลอังกฤษที่พิจารณาความโดยข้าหลวงพิเศษ, คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชนิดนี้, การไตร่สวน, การนั่งพิจารณาคดี, มาตราการกำหนดราคาสินค้า
belief(บิลีฟ') n. ความเชื่อ, ความเชื่อถือ, ศรัทธา, ข้อบัญญัติทางศาสนา, Syn. faith
bill(บิล) { billed, billing, bills } n. ตั๋วเงิน, พันธบัตร, ธนบัตร, บิล, ใบเสร็จ, ใบแสดงรายงานซื้อขาย, พระราชบัญญัติ, ญัตติ, ร่างญัตติ, คำโฆษณา, รายการ, หนังสือยื่นฟ้อง, จะงอยปาก, ปากนก -Phr. (a Bill of Oblivion พระราชบัญญัติอภัยโทษ) -Id. (bill the bill สนองความต้องการทั้งหมด
bill of rightsn. พระราชบัญญัติลัทธิและเสรีภาพของพลเมือง
capitol(แคพ'พิทอล) n. อาคารรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา, อาคารนิติบัญญัติของรัฐ, ศาลากลาง
commandment(คะมาน'เมินทฺ) n. อำนาจ, คำสั่ง, การออกคำสั่ง, บัญญัติ, หนึ่งในบัญญัติ10ประการ (Ten Commandments)
common counciln. สภาเทศบัญญัติ
con(คอน) 1. { conned, conning, cons } v. ต่อต้าน, แย้ง, เรียนรู้, ศึกษา, ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง, จำไว้, นำเรือ, ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน, การโต้เถียง, ผู้คัดค้าน, ผู้ลงบัตรคัดค้าน, นักโทษ, วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น
congress(คอง'เกรส) { congressed, congressing, congresses } n. รัฐสภา, สภานิติบัญญัติ, การชุมนุม, การสังวาส. vi. รวมกลุ่ม, ชุมนุม, See also: congressional adj. ดูcongress congressionalist n. ดูcongress, Syn. council, assembly, concourse
constitute(คอน'สทิทิวทฺ) vt. ประกอบด้วย, ก่อตั้ง, ตั้งขึ้น, สถาปนา, บัญญัติ, See also: constituter, constitutor n., Syn. form
council(เคา'เซิล) n. สภา, คณะกรรมการ, คณะกรรมาธิการ, กลุ่มคณะนิติบัญญัติ, กลุ่มคณะที่ปรึกษา, การประชุม, องค์กรร่วม, คณะมนตรี -Conf. counsel
covenant(คัพ'วะเนินทฺ) n. ข้อตกลง, สัญญา, ข้อกำหนด, บทบัญญัติในกฎหมายโบราณ, สัญญาของพระเจ้าในพระคัมภีร์ vi. ทำสัญญา, ทำข้อตกลง. vt. ตกลง (โดยสัญญา) , ให้คำมั่น, กำหนด, Syn. compact, agreement, agree
credo(ครี'โด) n. ข้อบัญญัติทางศาสนา, ข้อบัญญัติ, ความเชื่อถือ, Syn. creed
creed(ครีด) n. ข้อบัญญัติทางศาสนา, หลักความเชื่อถือ, See also: creedal ดูcreed, Syn. credo
cutcherryn. สถาบันบริหารการปกครอง, สภานิติบัญญัติ
cutcheryn. สถาบันบริหารการปกครอง, สภานิติบัญญัติ
define(ดิไฟน์') vt. ให้คำจำกัดความ, อธิบาย, บัญญัติศัพท์, ทำให้ชัดเจน, กำหนด, จำกัดวง, See also: definability n. ดูdefine definer n. ดูdefine
diet(ได'เอท) n. อาหาร, อาหารพิเศษ, สภานิติบัญญัติ vt. ควบคุมอาหาร, See also: dieter n. dietary adj.
enact(เอนแนคทฺ') { enacted, enacting, enacts } vt. ประกาศใช้เป็นกฎหมาย, ประกาศใช้, แสดงออก, บัญญัติ, See also: enactable adj. ดูenact enactive adj. ดูenact enactory adj. ดูenact enactor n. ดูenact, Syn. decree
establish(อีสแทบ'ลิช) vt. สร้าง, สถาปนา, ก่อตั้ง, ตั้งมั่น, กำหนด, บัญญัติ, ทำให้เป็นที่ยอมรับ, พิสูจน์, See also: establisher n. ดูestablish
gemot(กะโมท') n. สภานิติบัญญัติ
gemote(กะโมท') n. สภานิติบัญญัติ
general assemblyn. สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ, สภานิติบัญญัติ
law(ลอ) { lawed, lawing, laws } n. กฎหมาย, กฎ, กฎข้อบังคับ, คำสั่ง, วิชากฎหมาย, ความรู้ทางกฎหมาย, อาชีพกฎหมาย, หลักความประพฤติ, กฎทางคณิตศาสตร์ -Phr (the Law บัญญัติสิบประการของโมเซส, คำสั่งสอนในพระคัมภีร์ไบเบิล) . vi., vt. ดำเนินคดี, ฟ้องร้อง
lawmaker(ลอ'เมเคอะ) n. ผู้บัญญัติกฎหมาย, สมาชิกสภานิติบัญญัติ., See also: lawmaking n., adj. การ บัญญัติกฎหมาย, Syn. legislator
legislate(เลจ'จิสเลท) vi. ออกกฎหมาย, บัญญัติกฎหมาย., Syn. ordain, enact
legislation(เลจจิสเล'เชิน) n. การบัญญัติกฎหมาย, นิติบัญญัติ, กฎหมาย
legislative(เลจ'จิสเลทิฟว) adj. เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติ. n. สภานิติบัญญัติ., Syn. constitutional
legislator(เลจ'จิสเลเทอะ) n. ผู้บัญญัติกฎหมาย, สมาชิกสภานิติบัญญัติ, See also: legislatorship n. ดูlegislator
legislatorial(เลจจิสละทอ'เรียล) adj. เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับสมาชิกหรือสภานิติบัญญัติ, นิตินัย
legislature(เลจ'จิสเลเชอะ) n. สภานิติบัญญัติ, หน่วยนิติกรของรัฐบาล, Syn. congress
lobby(ลอบ'บี) { lobbied, lobbying, lobbies } n. ห้องพักแขก, ระเบียง, ห้องพักผ่อนของสภา, ห้องรับรอง, กลุ่มคนผู้รณรงค์หาเสียงสนับสนุนเกี่ยวกับนิติบัญญัติ. vt., vi. พยายามวิ่งเต้นให้สมาชิกนิติบัญญัติสนับสนุนการออกกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง, See also: lobbyer n. ดูlobb
microไมโครหมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำอื่น มีค่าเท่ากับ 1 /ล้าน เช่น microsecond หรือ ไมโครวินาที ก็เท่ากับ 1 /ล้านวินาที (10 -6) คำ "micro" นั้นแปลแต่เพียงว่า ขนาดเล็กจิ๋ว เช่น microproces sor ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า ตัวประมวลแบบจุลภาค เมื่อนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า microcomputer ก็หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือที่บางทีเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) หรือพีซี
ordain(ออร์เดน') vt. บวช, ทำให้เป็นพระ, บัญญัติ, ออกคำสั่ง, ออกกฎหมาย, กำหนด, ลิขิต, ดลบันดาล. vi. ออกคำสั่ง, บัญญัติ., See also: ordainable adj. ordainment n.
order(ออร์'เดอะ) n. คำสั่ง, ใบสั่ง, ตั๋วแลกเงิน, ธนาณัติ, หนังสือมอบอำนาจ, ระดับ, ลำดับ, ขั้น, นิกาย, คณะสงฆ์, อนุกรม, ชนิด, แบบแผน, ระเบียบ, สมณศักดิ์, เครื่องอิสริยาภรณ์, การลงมติในที่ประชุมนิติบัญญัติ. -Phr. (in order เหมาะสม, เป็นระเบียบ) -Phr. (in order that เพื่อว่า) vt.ออกคำสั่ง, สั่งซื้อ, ทำให้เป็นระเบียบ, บรรพชา, แต่งตั้งให้เป็นพระ
ordinance(ออร์'ดะเนิซฺ) n. คำสั่ง, กฎ, พระราชกฤษฎีกา, เทศบัญญัติ, พิธีทางศาสนา, Syn. law
pds(พีดีเอส) ย่อมาจาก public domain software เป็นที่รวมของโปรแกรมฟรี หมายถึงผู้สร้างซอฟต์แวร์นั้น ๆ ยินยอมให้คนทั่วไปคัดลอกไปใช้ได้ ไม่ผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดู public domain ประกอบ
prescribe(พรีสฺไครบ') vt. ออกคำสั่ง, กำหนด, บัญญัติ, ชี้แนะ, แนะนำ, สั่งยา, เสนอ., See also: prescriber n. prescribable adj.
proportion(พระพอร์'เชิน) n. สัดส่วน, อัตราส่วน, ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมหรือสำคัญ, ขนาดที่สัมพันธ์กัน, proportionsขนาดสัดส่วน มิติ, บัญญัติไตรยางค์, ความสมดุลกัน, การได้สัด-ส่วน, ความสมมาตร. vt. ทำให้เป็นสัดส่วน., See also: proportionment n.
provision(พระวิช'เ?ิน) n. การจัดหา, สิ่งที่จัดหามาให้, การเตรียมการ, การกำหนด, ข้อกำ-หนด, บทบัญญัติ, เสบียงอาหาร, การแต่งตั้งตำ-แหน่งทางศาสนา (โดยเฉพาะศาสนาคริสเตียน) . vt. จัดหา, จัดเสบียงอาหาร., See also: provisioner n., Syn. condition, ar
public domainn. ที่ดินของรัฐ, สิ่งประดิษฐ์หรือผลงานทางวรรณกรรมที่สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์หมดอายุ, สาธารณสมบัติ, ของสาธารณะหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ มาคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เช่น โปรแกรม Cuwriter ในระบบเครือข่าย จะมีกลุ่มโปรแกรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า PDS ย่อมาจาก public domain software เป็นที่รวมของโปรแกรมฟรีต่าง ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถคัดลอกไปใช้ได้
purview(เพอ'วิว) n. ขอบเขต (อำนาจ, การปฏิบัติงาน) , บทบัญญัติ, บทบัญญัติของกฎหมาย, ตัวบทกฎหมาย, Syn. scope, overview
regulate(เรก'กิวเลท) vt. ควบคุม, ดูแล, ปรับ, ทำให้เป็นระเบียบ, วางระเบียบ, กำหนด, บัญญัติ, See also: regulative adj. regulatory adj., Syn. control, adjust, rule
rule of threen. บัญญัติไตรยางค์
speaker(สพี'เคอะ) n. ผู้พูด, ผู้บรรยาย, ประธานสภานิติบัญญัติ, เครื่องขยายเสียง, หนังสือฝึกพูด., See also: speakership n., Syn. lecturer, orator
statute(สแทช'ชูท) n. บทบัญญัติ, พระราช-บัญญัติ, กฎ, ข้อบังคับ, ระเบียบ, ลายลักษณ์อักษร
supreme counciln. สภานิติบัญญัติของโซเวียตสมัยก่อน
supreme sovietn. สภานิติบัญญัติของโซเวียตสมัยก่อน
tenet(เทน'นิท) n. ข้อคิดเห็น, ความเห็น, ทฤษฎี, หลักการ, ข้อบัญญัติ, ความเชื่อ, Syn. conviction

English-Thai: Nontri Dictionary
act(n) การกระทำ, พฤติการณ์, พระราชบัญญัติ, กฎหมาย, องก์(ละคร)
bill(n) บิล, ใบเสร็จ, ธนบัตร, พันธบัตร, ตั๋วเงิน, ใบแจ้งความ, พระราชบัญญัติ, ร่างญัตติ
bylaw(n) เทศบัญญัติ, กฎหมายท้องถิ่น
canon(n) ศีล, วินัยศาสนา, ข้อบัญญัติศาสนา
canonical(adj) เกี่ยวกับบัญญัติของพระ, ตามบัญญัติของวัด
commandment(n) ศีล, ข้อบัญญัติ, กุศลกรรมบถ
congress(n) ที่ประชุม, รัฐสภา, สภานิติบัญญัติ, สภาคองเกรส
congressional(adj) ซึ่งเกี่ยวกับรัฐสภา, เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติ
constitute(vt) ประกอบขึ้น, สถาปนา, แต่งตั้ง, บัญญัติขึ้น, สร้างขึ้น
constitution(n) การบัญญัติ, สังขาร, ร่างกาย, สันดาน, รัฐธรรมนูญ
council(n) สภา, คณะมนตรี, สภาองคมนตรี, คณะกรรมการ, กลุ่มคณะนิติบัญญัติ
covenant(n) สนธิสัญญา, ข้อตกลง, ข้อกำหนด, บทบัญญัติ
creed(n) ลัทธิ, หลักความเชื่อ, ข้อบัญญัติศาสนา
Decalogue(n บัญญัติ 10) ประการ
define(vt) จำกัดความ, กำหนดเขต, จำกัดวง, บัญญัติศัพท์
definition(n) คำนิยาม, คำจำกัดความ, คำอธิบาย, การบัญญัติศัพท์, ความชัดเจน
diet(n) อาหาร, อาหารพิเศษ, โภชนาการ, สภานิติบัญญัติ
enact(vt) ประกาศเป็นกฎหมาย, แสดงบทบาท, ออกพระราชบัญญัติ
enactment(n) การประกาศเป็นกฎหมาย, พระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ
formulate(vt) บัญญัติ, วางเกณฑ์, กำหนด, คิดสูตร, คิดตำรับ
formulation(n) การบัญญัติ, การกำหนด, การวางหลักเกณฑ์, การออกกฎ
HOLY Holy See(n) บัญญัติของสันตะปาปา, ทำเนียบของสันตะปาปา
lawgiver(n) ผู้ออกกฎ, ผู้บัญญัติกฎ
lawmaker(n) ผู้บัญญัติกฎหมาย, ผู้ออกกฎ, ผู้ร่างกฎหมาย
legislate(vi) ออกกฎหมาย, ออกพระราชบัญญัติ, ตรากฎหมาย
legislation(n) นิติบัญญัติ, การออกกฎหมาย, การบัญญัติกฎหมาย
legislative(adj) ในทางนิติบัญญัติ, เกี่ยวกับกฎหมาย
legislator(n) สมาชิกสภานิติบัญญัติ, ผู้ออกกฎหมาย, ผู้แทนราษฎร, ผู้บัญญัติกฎหมาย
legislature(n) สภานิติบัญญัติ, รัฐสภา
ordinance(n) คำสั่ง, กฎ, เทศบัญญัติ, พระราชกฤษฎีกา
parliament(n) รัฐสภา, สภานิติบัญญัติ
prescribe(vt) สั่งยา, กำหนด, แนะนำ, บัญญัติ, วางเงื่อนไข, เสนอ
prescript(n) ใบสั่งยา, การบัญญัติ, การวางเงื่อนไข, การแนะนำ, คำสั่ง, อายุความ
provide(vt) จัดหา, ทำให้, กำหนด, ตระเตรียม, ให้, บัญญัติ
provision(n) การจัดหาให้, เสบียง, ข้อกำหนด, การเตรียมการ, บทบัญญัติ
regulation(n) กฎเกณฑ์, การวางระเบียบ, บัญญัติ, กฎข้อบังคับ, การควบคุม
statute(n) พระราชบัญญัติ, มาตรา, ข้อบังคับ, กฎ, ระเบียบ
statutory(adj) ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติ, ชอบด้วยกฎหมาย
testimony(n) พยาน, ข้อพิสูจน์, หลักฐาน, บัญญัติ 10 ประการของโมเสส
unconstitutional(adj) ไม่ถูกรัฐธรรมนูญ, ฝ่าฝืนบทบัญญัติ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
act(n) พระราชบัญญัติ, พ.ร.บ.
Act of Parliament(n, phrase, uniq) พระราชบัญญัติ, Syn. act
Ark of the Covenant(n) หีบแห่งพันธสัญญา บรรจุบัญญัติสิบประการของพระเจ้าไว้
Credoข้อบัญญัติ
Extrapolation { f } [ math. ](n) บัญญัติยางค์
Foreign Corrupt Practices Act(n, uniq) รัฐบัญญัติว่าด้วยพฤติกรรมการคอร์รัปชั่นในต่างประเทศ, See also: FCPA
National Diet(org) สภานิติบัญญัติแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น
nla(abbrev, name, org) สนช. ย่อมาจากคำว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร(19 กันยายน 2548)โดยภาษาอังกฤษคำเต็มคือ National Legislative Assembly
post-truth[โพสต์-ทรูธ] "เรื่องจริงไว้ทีหลังก็ได้" เป็นคำศัพท์ใหม่สุดของ Oxford ที่บัญญัติไว้ในอาทิตย์นี้เอง หลังจากเหตุการณ์ Brexit ของอังกฤษ และการเลือกตั้งของอเมริกา.....พจนานุกรมอ๊อกซเฝิด บัญญัติไว้ว่าคือ "ภาวะหรือสภาพซึ่ง...ข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมจริง.. จะมีน้ำหนักโน้มน้าวทัศนคติผู้คนทั่วไปได้น้อยกว่า การโน้มน้าวให้แต่ละคน มีความเชื่อหรืออารมณ์คล้อยตาม" "relating to or denoting circumstances in which objective facts are less influential in shaping public opinion than appeals to emotion and personal belief."//Oxford Dict.
post-truth[โพสต์-ทรูธ] "เรื่องจริงไว้ทีหลังก็ได้" เป็นคำศัพท์ใหม่สุดของ Oxford ที่บัญญัติไว้ในอาทิตย์นี้เอง หลังจากเหตุการณ์ Brexit ของอังกฤษ และการเลือกตั้งของอเมริกา.....พจนานุกรมอ๊อกซเฝิด บัญญัติไว้ว่าคือ "ภาวะหรือสภาพซึ่ง...ข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมจริง.. จะมีน้ำหนักโน้มน้าวทัศนคติผู้คนทั่วไปได้น้อยกว่า การโน้มน้าวให้แต่ละคน มีความเชื่อหรืออารมณ์คล้อยตาม" "relating to or denoting circumstances in which objective facts are less influential in shaping public opinion than appeals to emotion and personal belief."//Oxford Dict.
post-truth[โพสต์-ทรูธ] "เรื่องจริงไว้ทีหลังก็ได้" เป็นคำศัพท์ใหม่สุดของ Oxford ที่บัญญัติไว้ในอาทิตย์นี้เอง หลังจากเหตุการณ์ Brexit ของอังกฤษ และการเลือกตั้งของอเมริกา.....พจนานุกรมอ๊อกซเฝิด บัญญัติไว้ว่าคือ "ภาวะหรือสภาพซึ่ง...ข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมจริง.. จะมีน้ำหนักโน้มน้าวทัศนคติผู้คนทั่วไปได้น้อยกว่า การโน้มน้าวให้แต่ละคน มีความเชื่อหรืออารมณ์คล้อยตาม" "relating to or denoting circumstances in which objective facts are less influential in shaping public opinion than appeals to emotion and personal belief."//Oxford Dict.
post-truth[โพสต์-ทรูธ] "เรื่องจริงไว้ทีหลังก็ได้" เป็นคำศัพท์ใหม่สุดของ Oxford ที่บัญญัติไว้ในอาทิตย์นี้เอง หลังจากเหตุการณ์ Brexit ของอังกฤษ และการเลือกตั้งของอเมริกา.....พจนานุกรมอ๊อกซเฝิด บัญญัติไว้ว่าคือ "ภาวะหรือสภาพซึ่ง...ข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมจริง.. จะมีน้ำหนักโน้มน้าวทัศนคติผู้คนทั่วไปได้น้อยกว่า การโน้มน้าวให้แต่ละคน มีความเชื่อหรืออารมณ์คล้อยตาม" "relating to or denoting circumstances in which objective facts are less influential in shaping public opinion than appeals to emotion and personal belief."//Oxford Dict.
prodrome(n) อาการบอกเหตุ, อาการบอกเหตุโรค, อาการบอกล่วงหน้าโรค (ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน)
securities and exchange act(n) พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
trade competition act(n) พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า, พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า
UK Bribery Act(n, uniq) พระราชบัญญัติการติดสินบนแห่งสหราชอาณาจักร
ศาลล้มละลายกลาง(n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html
ศาลล้มละลายกลาง(n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
五書[ごしょ, gosho] (n) หนังสือเบญจบรรณ เป็นหนังสือห้าเล่มแรกของพระคริสต์ธรรมคัมภีร์(ภาคพันธสัญญาเก่า) ซึ่งประกอบไปด้วย หนังสือปฐมกาล หนังสืออพยพ หนังสือเลวีนิติ หนังสือกันดารวิถี และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ, See also: R. Old Testament, Genesis, Exodus, Leviticus, Numbers, Deuteronomy
法案[ほうあん, houan] (n) ร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติ
申命記[しんめいき, shinmeiki] (n) หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ หนังสือเล่มที่ 5 ของพระคริสต์ธรรมคัมภีร์(พันธสัญญาเก่า), See also: R. The Old Testament

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
地方自治法[しんめいき, chihoujichi hou] พระราชญัติว่าด้วยการปกครองตนเองของท้องถิ่น(พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น ประเภทต่างๆ เช่น จังหวัด เทศบาล และบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านั้นเป็นต้น)

French-Thai: Longdo Dictionary
approuver(vt) |j'approuve, tu approuves, il approuve, nous approuvons, vous approuvez, ils approuvent| อนุมัติ (loi, projet), บัญญัติ , เห็นด้วยกับ (personne), See also: regarder

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top