ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ฐานะ, -ฐานะ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| ฐานะ | (n) status, See also: condition, position, Syn. สถานะ, สถานภาพ, ชั้น, ระดับ, สภาพ, ขั้น, ตำแหน่ง, Example: ครอบครัวเขามีฐานะปานกลาง, Thai Definition: ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม, Notes: (บาลี) | ยกฐานะ | (v) promote, See also: raise one's position, raise one's status, Syn. เพิ่มฐานะ, เลื่อนฐานะ, Ant. ลดฐานะ, Example: ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ.2459, Thai Definition: เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ให้สูงขึ้น | สมฐานะ | (v) be suitable for one's rank or standing, Syn. สมหน้า, สมเกียรติ, Example: เขามีบ้านใหญ่โตสมฐานะของเขา, Thai Definition: สมควรแก่ฐานะ, สมควรแก่เกียรติยศ | ตามฐานะ | (adv) according to one's economic capacity, See also: according to one's status, Ant. เกินฐานะ, Example: คนเราควรดำรงชีวิตตามฐานะ คือมีความพอดี, Thai Definition: มีความเหมาะสมเพียงพอตามกำลังของตัวเอง | ดำรงฐานะ | (v) maintain one's status, See also: sustain, hold, bear, lead, Syn. เป็น, ครอบครอง, Example: ปัจจุบันท่านดำรงฐานะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน | วิทยฐานะ | (n) academic standing, Syn. ภูมิรู้, ภูมิปัญญา, Example: ช่วงระยะที่จัดงานบังเอิญประจวบกับงานเทศกาลอบรมวิชาชุดเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ | เขยิบฐานะ | (v) advance, See also: promote to higher position, Syn. เลื่อนขั้น, เลื่อนชั้น, เลื่อนฐานะ, Ant. ตกต่ำ, ลดลง, ปลดลง, Example: ตอนนี้เธอเขยิบฐานะจากคนรับใช้ขึ้นเป็นภรรยาน้อยของคุณผู้ชายเรียบร้อยแล้ว, Thai Definition: เลื่อนจากสถานภาพที่เป็นอยู่ให้สูงหรือให้เจริญขึ้นไป | ไม่สมฐานะ | (v) be infra dig, Syn. ไม่สมเกียรติ, Ant. สมฐานะ, Example: การจัดงานแต่งงานครั้งนี้ไม่สมฐานะกับที่เจ้าบ่าวเป็นลูกของเศรษฐีเลย |
|
| เขยิบฐานะ | ก. เลื่อนฐานะสูงขึ้น. | ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ | (ถาน, ถานะ-) น. ตำแหน่งหน้าที่ เช่น เธอต้องรับผิดชอบในฐานที่เป็นหัวหน้าห้อง | ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ | หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. | วิทยฐานะ | น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี. | สร้างฐานะ | ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง. | อุปัฏฐานะ | (อุปัด-, อุบปัด-) น. การบำรุง, การรับใช้. | กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. | กรม ๓ | ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ในระดับรองจากกระทรวงและทบวง ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล | กระต่ายหมายจันทร์ | น. ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า. | กระเตื้อง | ก. ดีกว่าเดิม เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น | กระทรวง ๒ | (-ซวง) น. ส่วนราชการสูงสุดของราชการบริหารส่วนกลางมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า | กลาโหม | (กะลาโหมฺ) น. ชื่อกรมฝ่ายทหารในสมัยโบราณ คือ กรมพระกลาโหม, ชื่อมหาเสนาบดีฝ่ายทหารในสมัยโบราณ ดำรงฐานะเป็นสมุหพระกลาโหม | กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. | เกิน | ว. พ้น, เลย, คำนี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากำหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร. | เกินตัว | ว. เกินฐานะ เช่น ใช้จ่ายเกินตัว, เกินสภาพปรกติ เช่น รู้เกินตัว ทำงานเกินตัว. | เกินหน้า, เกินหน้าเกินตา | ว. เกินกว่า เด่นกว่า หรือดีกว่าฐานะของตนเองหรือของคนอื่น. | เกียรติยศ | (เกียดติยด) น. เกียรติโดยฐานะตำแหน่งหน้าที่หรือชาติชั้นวรรณะ. | เกียรติศักดิ์ | (เกียดติสัก) น. เกียรติ, เกียรติตามฐานะของแต่ละบุคคล. | ไก่รองบ่อน | น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้. | ขอเฝ้า | เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่งเครื่องแบบราชการ. | ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล | น. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน. | ข้าเก่าเต่าเลี้ยง | น. คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะรับใช้มานาน. | ขี้ข้า | คำประชดเชิงเปรียบเทียบที่บ่งบอกฐานะต่ำต้อย, คำดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นผู้มีฐานะต่ำต้อย (ใช้เป็นคำด่า). | ขี้ครอก ๑ | น. คำดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นผู้มีฐานะต่ำต้อยกว่าครอกหรือทาส (ใช้เป็นคำด่า). | ขึ้น ๑ | เขยิบชั้นหรือตำแหน่งฐานะสูงขึ้นไปกว่าเดิม เช่น จบชั้นประถม ขึ้นชั้นมัธยม มีฝีมือขึ้นชั้นครู | เข้าร้าย | ก. ตกอยู่ในฐานะไม่ดี. | คนตายขายคนเป็น | จัดงานศพอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะจนเกิดหนี้สิน เช่น ดูงานศพนี้สิ คนตายขายคนเป็นแท้ ๆ. | ครุย | ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ. | คลอนแคลน | (-แคฺลน) ว. ง่อนแง่น, ไม่มั่นคง, เช่น ฐานะคลอนแคลน. | ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น | ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น. | ความรู้สึกด้อย | ความไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. | คางคกขึ้นวอ | น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว. | คำขึ้นต้น | น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา | ค้ำคอ | ก. ทำให้อยู่ในฐานะจำใจต้องทำหรืองดเว้น. | คืน ๒ | ก. กลับเข้าสู่ภาวะหรือฐานะเดิม. | เครดิต | (เคฺร-) น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน | เคียงบ่าเคียงไหล่ | ว. มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน | แคลน | (แคฺลน) ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ขาดแคลน = ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่นเพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย. | งบดุล | น. รายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้รู้ฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยมีบัญชีกำไรและขาดทุนประกอบด้วย. | เงยหน้าอ้าปาก | ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า. | จรรยาบรรณ | (จันยาบัน) น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้. | จังหวัด | น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคล, (โบ) เมือง, หัวเมือง | เจ้าบ้าน | น. ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใด. | ใจใหญ่ใจโต | ว. มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินฐานะ. | ช่องว่าง | ความไม่เข้าใจกันของคนที่มีความคิด ฐานะ หรืออื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน ช่องว่างระหว่างวัย. | ชุบย้อม | ก. บำรุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น. | ซวดเซ | ก. เอนไป, เอียงไป, จวนล้ม, เสียหลัก, (มักใช้แก่ฐานะความเป็นอยู่) เช่น ฐานะซวดเซ. | ฐานานุรูป | ว. สมควรแก่ฐานะ. | ฐานันดร | <i>ดู ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ</i>. | ฐานันดรที่ ๔ | <i>ดู ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ</i>. |
|
| position | ฐานะ, ตำแหน่ง, ตำแหน่งหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | rescission of contract | การเลิกสัญญา (เพื่อกลับสู่ฐานะเดิม) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | re-establish | กลับคืนสู่ฐานะเดิม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | rank | ลำดับชั้น, ขั้นฐานะ, ชั้นยศ, ลำดับที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | rank | ๑. ลำดับชั้น, ขั้นฐานะ, ชั้นยศ๒. ลำดับที่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | status quo (L.) | สถานะเดิม, ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | social mobility | การเคลื่อนไหวทางสังคม, การเปลี่ยนฐานะทางสังคม [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | station in life | ฐานะการครองชีพ, ฐานานุรูป [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | occupying claimant | ผู้เรียกร้องในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | appearance | การมาศาล (ในฐานะคู่ความ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | juristic position | นิติฐานะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | cash position | ฐานะเงินสด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | condition | เงื่อนไข, สภาพ, ฐานะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | condition of aliens | ฐานะของคนต่างด้าว (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | downward mobility | การลดฐานะลง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | in statu quo | กลับคืนสู่ฐานะเดิม, ในสภาพเดิม [ ดู status quo ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | intra-generational social mobility | การเคลื่อนไหวทางสังคมภายในรุ่นวัย, การเปลี่ยนฐานะทางสังคมภายในรุ่นวัย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | inter-generational social mobility | การเคลื่อนไหวทางสังคมระหว่างรุ่นวัย, การเปลี่ยนฐานะทางสังคมระหว่างรุ่นวัย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | upward mobility | การเลื่อนฐานะขึ้น [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
| Creditworthiness | ฐานะการเงินที่เชื่อถือได้ [เศรษฐศาสตร์] | Rescission (Law) | การเลิกสัญญาและกลับสู่ฐานะเดิม (กฎหมาย) [TU Subject Heading] | Social mobility | การเลื่อนฐานะทางสังคม [TU Subject Heading] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] | Chargé d' Affaires ad interim | อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ " [การทูต] | Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] | Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular Office | บุคคลรวมทั้งหัวหน้าของที่ทำการทางกงสุล ซี่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะกงสุลโดยได้รับ ภาระหน้าที่ทางกงสุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลอาชีพ (Career Consular Office)2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consular Office) [การทูต] | Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] | Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Diplomatic Secretaries | ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตในสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ เลขานุการเอก เลขานุการโท และเลขานุการตรี ทั้งสามระดับอยู่รองลงมาจากตำแหน่งที่ปรึกษา (Counselor) ระดับทั้งหมดนี้มีฐานะทางการทูต มีเอกสิทธิ และความคุ้มกันทางการทูตทั้งมวล และชื่อจะปรากฎอยู่ในสมุดเอกสารรายชื่อบุคคลในคณะทูตตำแหน่งเลขานุการทางการ ทูตเหล่านี้ อย่าไปปนกับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของเอกอัครราชทูต ซึ่งแม้จะมีฐานะสำคัญในสถานเอกอัครราชทูต แต่ไม่มีสถานภาพทางการทูตแต่อย่างใด รวมทั้งตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำหน้าที่เสมียนจดชวเลขและพิมพ์ดีด [การทูต] | Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] | Goodwill Representative | ผู้แทนสันถวไมตรี " หมายถึง การแต่งตั้งบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ ความประพฤติ และ บุคลิกที่เหมาะสมในการเป็นผู้แทนของประเทศ ให้ไปเยือนต่างประเทศ เพื่ออัธยาศัยไมตรี หรือผูกมิตรกับอีกประเทศหนึ่ง โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ " [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] | head of consular post | หัวหน้าสถานทำการทางกงสุล " หมายถึงบุคคลที่ได้รับมอบหน้าที่ให้กระทำการในฐานะนั้น หัวหน้าสถานทำการทางกงสุลแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ (1) กงสุลใหญ่ (2) กงสุล (3) รองกงสุล (4) ตัวแทนทางกงสุล (อนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล พ.ศ. 2506) " [การทูต] | Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] | International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] | Minister-in-Attendance | รัฐมนตรีเกียรติยศที่จัดให้ประจำบุคคลสำคัญระดับหัวหน้ารัฐบาลขึ้นไปที่มา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล [การทูต] | Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] | Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] | Placement | หมายถึง วิธีจัดที่นั่งโต๊ะในการเลี้ยงอาหารสำหรับนักการทูต โดยคำนึงถึงลำดับอาวุโส เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกขุ่นเคืองหรือหัวเสีย เรื่องการจัดที่นั่งในการเลี้ยงอาหารโดยคำนึงถึงลำดับอาวุโสนี้ นักการทูตส่วนใหญ่ไม่ว่าที่ไหน มักจะถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ ฝ่ายที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดที่นั่งเช่นนี้ได้แก่ กรมพิธีการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนลำดับของอาวุโสก็ถือตามวันเวลาที่นักการทูตแต่ละคนได้เข้าประจำตำแหน่ง ที่ในประเทศผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่เข้าประจำตำแหน่งก่อนก็คือผู้ทีมีอาวุโสกว่าผู้ที่มาประจำตำแหน่ง หน้าที่ทีหลัง [การทูต] | Palestinian Liberation Organization | องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2507 เพื่อเป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ มีนาย Yasser Arafat เป็นประธาน PLO มีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์ (observer) ในสหประชาชาติ [การทูต] | Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] | Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] | visa | การตรวจลงตรา " การประทับตราหรือข้อความในหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวโดยเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อแสดงว่า ผู้เดินทางได้รับอนุญาตให้เข้ามาพำนัก เดินทางผ่าน และเดินทางออกจากราชอาณาจักร - courtesy visa การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว ซึ่ง (1) ปฏิบัติหน้าที่เพื่อการอื่นนอกเหนือจากการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุล หรือราชการ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือ เดินทางราชการ) และ (2) เข้ามาในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยของรัฐ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา) - diplomatic visa การตรวจลงตราประเภททูต - immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร - non-immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว - non-quota immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี การตรวจลงตราประเภทนี้จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ 1 ปี - official visa การตรวจลงตราประเภทราชการ - re-entry visa การตรวจลงตราประเภทให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก - tourist visa การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว - transit visa การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร - visa on arrival การตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง " [การทูต] | visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] | Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] | Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] | Financial accounting | งบกำไรสะสมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน [การบัญชี] | Statement of changes in financial position | งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน [การบัญชี] | Statement of financial position | งบแสดงฐานะการเงิน [การบัญชี] | Economic Status | ฐานะของเศรษฐกิจ, สภาวะทางเศรษฐกิจ [การแพทย์] |
| I didn't know. I sensed. And I told you that as my wife in confidence. | ผมไม่เคยรู้ ผมรู้สึกได้ และผมได้บอกคุณ ในฐานะที่คุณเป็นภรรยาที่ควรจะปกปิดความลับ Basic Instinct (1992) | But let us kiss good-bye as Cathy and Heathcliff from long ago. | แต่ให้เราได้จูบลา ในฐานะแคทธีและฮีธคลิฟฟ์ จากช่วงเวลาในอดีต Wuthering Heights (1992) | he may be found acceptable in Thy sight, and receive that blessing, as Thy well-beloved son... | เพื่อเขาจะได้รับการต้อนรับ สู่แสงสว่างแห่งท่าน และได้รับพร ในฐานะบุตรอันเป็นที่รัก Wuthering Heights (1992) | As the project supervisor and the government liaison... it was my responsibility... to use the strongest measures available. | ในฐานะหัวหน้าโครงการ และผู้ประสานงานของรัฐบาล มันเป็นความรับผิดชอบของฉัน ที่จะใช้มาตรการเด็ดขาด The Lawnmower Man (1992) | And I'm tellin' you as a friend... if we look Jamaican, walk Jamaican, talk Jamaican and is Jamaican, then we sure as hell better bobsled Jamaican. | และฉันจะบอกนายในฐานะเพื่อน... ถ้าเราแต่งตัวเป็นจาไมก้า เดินเป็นจาไมก้า พูดเป็นจาไมก้า และภูมิใจในการเป็นจาไมก้าแล้วล่ะก็... Cool Runnings (1993) | As director of Leland University's Biotechnology Research Program... I thank you on behalf of my esteemed colleagues for your consideration. | ในฐานะ ผ.อ.โครงการวิจัยไบโอเทคมหาวิทยาลัยเลแลนด์ ผมขอขอบคุณในนามของเพื่อนที่เคารพในการรับพิจารณาโครงการ Junior (1994) | It's as good a thing to bet on as any, I guess. | มันเป็นสิ่งที่ดีที่จะวางเดิมพันในฐานะใด ๆ ที่ผมคิดว่า The Shawshank Redemption (1994) | - As smart as they come. | - ในฐานะที่เป็นสมาร์ทที่พวกเขามา The Shawshank Redemption (1994) | As his doctor, I concur with your views. | ในฐานะหมอของเขา ผมเห็นด้วยกับความคิดของท่าน Don Juan DeMarco (1994) | As head of the hospital, let me speak. | ได้โปรด บิลล์ พยาบาล ในฐานะหัวหน้าโรงพยาบาล ขอผมพูดหน่อย Don Juan DeMarco (1994) | You know, as someone who's recently been dumped. | ในฐานะ คนที่เพิ่งถูกทิ้งมาน่ะ The One with the Sonogram at the End (1994) | As one animal lover to another. | ในฐานะคนรักสัตว์ด้วยกัน Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | As a being of light, I must show compassion for all living things. | ในฐานะบุตรแห่งแสง ผมต้องมีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | I think of women only as mothers of our children. | ผมคิดกับผู้หญิงในฐานะแม่ของลูกเท่านั้น Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | Now I think I can safely say I'm speaking on behalf of all of my patrons-villagers to a man when I say I feel... | ทีนี้ ผมคงต้องบอกว่า ผมมาพูดในฐานะตัวแทนเพื่อน ๆ ชาวบ้านของผมว่า... The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | On behalf of the village, we would like to convince you to persuade Mr. Garrad to stay longer and measure the mountain again. | ในฐานะตัวแทนชาวบ้าน เราอยากให้คุณเกลี้ยกล่อมคุณการาด ให้อยู่ต่อและวัดภูเขาอีกคัร้งนึง The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | I don't get this treatment in my own joint! | ผมไม่ได้รับการปฏิบัติ ในฐานะมิตร The Great Dictator (1940) | As dreamers do | ในฐานะที่เป็นคนช่างฝันทำ Pinocchio (1940) | Good. Well, you see, Max, I find myself in a rather awkward position. | ฉันรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก Rebecca (1940) | and laboriously knock holes through the bottom of it? Come, Colonel. | ท่านผู้พันครับในฐานะผู้รักษากฎหมาย Rebecca (1940) | # In the state I'm in | ในฐานะฉันอยู่ใน Help! (1965) | We'd stood to all night, of course. As we stood up, the bullets flew around us. | ในฐานะที่เราลุกขึ้นยืนกระสุน บินรอบ ๆ ตัวเรา How I Won the War (1967) | What do you think? | ในฐานะที่เป็นประตูที่มี แนวโน้มที่จะระบายความอาฆาตแค้น How I Won the War (1967) | Bowlers don't expect miracles. | ในฐานะที่เป็นสนามก็จะสอน ความเพียร How I Won the War (1967) | - Thank you. | ในฐานะที่ฉันบอกว่าฉันยัง ไม่ได้รับสามารถ How I Won the War (1967) | As we mean to go on, after the war. | ในฐานะที่เราหมายถึงการที่จะ ไปหลังสงคราม How I Won the War (1967) | And as a soldier, I see things simply. | ในฐานะนักรบ... กระผมมีวิสัยทัศน์แตกต่างไป Beneath the Planet of the Apes (1970) | -Zira, as your husband, I beg you to stand. | ซีร่า... ในฐานะสามีผมขอให้คุณยืน Beneath the Planet of the Apes (1970) | As minister of science, it is my duty to find out whether some other form of life exists. | ฐานะรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ ฉันมีหน้าที่ค้นหาว่า... มีสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นอีกมั้ย Beneath the Planet of the Apes (1970) | As Attorney General, I can assure you that a suitable sheriff will be found to restore the peace in Rock Ridge. | ในฐานะอัยการสูงสุด ผมรับรองได้ว่า... ...จะส่ง นอภ.ที่เหมาะสมไปร็อคริดจ์ Blazing Saddles (1974) | "As Honorary Chairman of the Welcoming Committee... | "ในฐานะประธานคณะกรรมการต้อนรับ... Blazing Saddles (1974) | As Chairman of the Welcoming Committee it is my privilege to extend a laurel and hearty handshake to our new nigger. | ในฐานะ ประธานคณะกรรมการต้อนรับ... ...ขอมอบช่อมะกอก ดอกมะไฟ ต้อนรับ... ...นิโกร Blazing Saddles (1974) | As your spiritual leader, I implore you to pay heed to this good book and what it has to say. | ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ พ่อวิงวอน... ...ให้นึกถึงคำในพระคัมภีร์ Blazing Saddles (1974) | God may have been interested in you as an assistant manager we'll just see how he feels about you as a bag stuffer. | พระเจ้าอาจคุยกับคุณในฐานะที่ คุณเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ แล้วเราจะรู้ว่าท่านรู้สึกยังไง ถ้าคุณเป็นเด็กหยิบของใส่ถุง Oh, God! (1977) | It strikes me, as one who has actually heard his voice that you have virtually no prerequisites to make direct contact... | รู้มั้ยครับ ผมตกใจในฐานะที่ ผมได้ยินเสียงของท่านมาแล้ว คุณไม่มีวันที่จะติดต่อ กับท่านโดยตรงเด็ดขาด Oh, God! (1977) | But as an old lawyer, let me warn you. | แต่ในฐานะทนายเก่า ขอเตือนไว้หน่อย Gandhi (1982) | As Christians, those are difficult questions to answer. | ในฐานะที่เป็นคริสเตียน มันเป็นคำถามที่ตอบยาก Gandhi (1982) | As Christians, or as people who have not heard the word-- | ในฐานะคริสเตียน หรือคนที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Gandhi (1982) | As an Indian woman, how could you accept the indignity of prison? | ในฐานะหญิงอินเดีย คุณยอมเสียเกียรติที่ต้องติดคุกได้ยังไง Gandhi (1982) | Nor will we ever be able to challenge the British as one nation. | และไม่มีทางต่อรองกับอังกฤษ ในฐานะประเทศหนึ่งได้ Gandhi (1982) | To assist at the birth of an independent India and to welcome her as an equal member in the British Commonwealth of Nations. | เพื่อช่วยให้อินเดียได้เป็นเอกราช และเพื่อต้อนรับอินเดียในฐานะ สมาชิกของเครือจักรภพอังกฤษ Gandhi (1982) | I am here to see that I am the last British viceroy ever to have the honor of such a reception. | ข้าพเจ้ามาที่นี่ในฐานะไวซ์รอย คนสุดท้ายของอังกฤษ ที่จะได้รับการต้อนรับ อย่างมีเกียรติเยี่ยงนี้ Gandhi (1982) | No, he will be remembered for tempting fate. | ไม่ เขาจะถูกจดจำในฐานะ ที่หยอกล้อดวงชะตา Gandhi (1982) | As a fellow human being | ในฐานะเพื่อนมนุษย์ Idemo dalje (1982) | But as a pedagogue and as an educator, you must keep a stiff upper lip. | แต่เป็นนักการศึกษา- และในฐานะนักการศึกษา, คุณต้องเก็บริมฝีปากบนแข็ง Idemo dalje (1982) | - As my keeper. | ในฐานะที่เป็นผู้รักษาประตูของฉัน Greystoke: The Legend of Tarzan, Lord of the Apes (1984) | As happy as he can be. | ในฐานะที่มีความสุขในขณะ ที่เขาสามารถ Greystoke: The Legend of Tarzan, Lord of the Apes (1984) | That place is worse than a pigsty. As a doctor, I absolutely object! | เป็นสถานที่อัปรีย์ ในฐานะแพทย์ ฉันต้องขอค้าน! Vampire Hunter D (1985) | Yes, to give me eternal youth as a new member of the aristocracy. | ท่านสัญญาจะทำให้ ข้าเป็นอมตะในฐานะ สมาชิกของราชสกุล Vampire Hunter D (1985) | So, we sailed ashore, took on an entirely new crew, and he stayed aboard for a while, as first mate, all the time calling me Roberts. | ดังนั้น เราจึงเข้าฝั่ง เปลี่ยนลูกเรือใหม่ทั้งหมด และเขาก็อยู่ต่ออีกนิดในฐานะต้นห้อง เรียกข้าว่าโรเบิร์ตตลอดเวลา The Princess Bride (1987) |
| I didn't know. I sensed. And I told you that as my wife in confidence. | ผมไม่เคยรู้ ผมรู้สึกได้ และผมได้บอกคุณ ในฐานะที่คุณเป็นภรรยาที่ควรจะปกปิดความลับ Basic Instinct (1992) | But let us kiss good-bye as Cathy and Heathcliff from long ago. | แต่ให้เราได้จูบลา ในฐานะแคทธีและฮีธคลิฟฟ์ จากช่วงเวลาในอดีต Wuthering Heights (1992) | he may be found acceptable in Thy sight, and receive that blessing, as Thy well-beloved son... | เพื่อเขาจะได้รับการต้อนรับ สู่แสงสว่างแห่งท่าน และได้รับพร ในฐานะบุตรอันเป็นที่รัก Wuthering Heights (1992) | As the project supervisor and the government liaison... it was my responsibility... to use the strongest measures available. | ในฐานะหัวหน้าโครงการ และผู้ประสานงานของรัฐบาล มันเป็นความรับผิดชอบของฉัน ที่จะใช้มาตรการเด็ดขาด The Lawnmower Man (1992) | And I'm tellin' you as a friend... if we look Jamaican, walk Jamaican, talk Jamaican and is Jamaican, then we sure as hell better bobsled Jamaican. | และฉันจะบอกนายในฐานะเพื่อน... ถ้าเราแต่งตัวเป็นจาไมก้า เดินเป็นจาไมก้า พูดเป็นจาไมก้า และภูมิใจในการเป็นจาไมก้าแล้วล่ะก็... Cool Runnings (1993) | As director of Leland University's Biotechnology Research Program... I thank you on behalf of my esteemed colleagues for your consideration. | ในฐานะ ผ.อ.โครงการวิจัยไบโอเทคมหาวิทยาลัยเลแลนด์ ผมขอขอบคุณในนามของเพื่อนที่เคารพในการรับพิจารณาโครงการ Junior (1994) | It's as good a thing to bet on as any, I guess. | มันเป็นสิ่งที่ดีที่จะวางเดิมพันในฐานะใด ๆ ที่ผมคิดว่า The Shawshank Redemption (1994) | - As smart as they come. | - ในฐานะที่เป็นสมาร์ทที่พวกเขามา The Shawshank Redemption (1994) | As his doctor, I concur with your views. | ในฐานะหมอของเขา ผมเห็นด้วยกับความคิดของท่าน Don Juan DeMarco (1994) | As head of the hospital, let me speak. | ได้โปรด บิลล์ พยาบาล ในฐานะหัวหน้าโรงพยาบาล ขอผมพูดหน่อย Don Juan DeMarco (1994) | You know, as someone who's recently been dumped. | ในฐานะ คนที่เพิ่งถูกทิ้งมาน่ะ The One with the Sonogram at the End (1994) | As one animal lover to another. | ในฐานะคนรักสัตว์ด้วยกัน Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | As a being of light, I must show compassion for all living things. | ในฐานะบุตรแห่งแสง ผมต้องมีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | I think of women only as mothers of our children. | ผมคิดกับผู้หญิงในฐานะแม่ของลูกเท่านั้น Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | Now I think I can safely say I'm speaking on behalf of all of my patrons-villagers to a man when I say I feel... | ทีนี้ ผมคงต้องบอกว่า ผมมาพูดในฐานะตัวแทนเพื่อน ๆ ชาวบ้านของผมว่า... The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | On behalf of the village, we would like to convince you to persuade Mr. Garrad to stay longer and measure the mountain again. | ในฐานะตัวแทนชาวบ้าน เราอยากให้คุณเกลี้ยกล่อมคุณการาด ให้อยู่ต่อและวัดภูเขาอีกคัร้งนึง The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | I don't get this treatment in my own joint! | ผมไม่ได้รับการปฏิบัติ ในฐานะมิตร The Great Dictator (1940) | As dreamers do | ในฐานะที่เป็นคนช่างฝันทำ Pinocchio (1940) | Good. Well, you see, Max, I find myself in a rather awkward position. | ฉันรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก Rebecca (1940) | and laboriously knock holes through the bottom of it? Come, Colonel. | ท่านผู้พันครับในฐานะผู้รักษากฎหมาย Rebecca (1940) | # In the state I'm in | ในฐานะฉันอยู่ใน Help! (1965) | We'd stood to all night, of course. As we stood up, the bullets flew around us. | ในฐานะที่เราลุกขึ้นยืนกระสุน บินรอบ ๆ ตัวเรา How I Won the War (1967) | What do you think? | ในฐานะที่เป็นประตูที่มี แนวโน้มที่จะระบายความอาฆาตแค้น How I Won the War (1967) | Bowlers don't expect miracles. | ในฐานะที่เป็นสนามก็จะสอน ความเพียร How I Won the War (1967) | - Thank you. | ในฐานะที่ฉันบอกว่าฉันยัง ไม่ได้รับสามารถ How I Won the War (1967) | As we mean to go on, after the war. | ในฐานะที่เราหมายถึงการที่จะ ไปหลังสงคราม How I Won the War (1967) | And as a soldier, I see things simply. | ในฐานะนักรบ... กระผมมีวิสัยทัศน์แตกต่างไป Beneath the Planet of the Apes (1970) | -Zira, as your husband, I beg you to stand. | ซีร่า... ในฐานะสามีผมขอให้คุณยืน Beneath the Planet of the Apes (1970) | As minister of science, it is my duty to find out whether some other form of life exists. | ฐานะรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ ฉันมีหน้าที่ค้นหาว่า... มีสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นอีกมั้ย Beneath the Planet of the Apes (1970) | As Attorney General, I can assure you that a suitable sheriff will be found to restore the peace in Rock Ridge. | ในฐานะอัยการสูงสุด ผมรับรองได้ว่า... ...จะส่ง นอภ.ที่เหมาะสมไปร็อคริดจ์ Blazing Saddles (1974) | "As Honorary Chairman of the Welcoming Committee... | "ในฐานะประธานคณะกรรมการต้อนรับ... Blazing Saddles (1974) | As Chairman of the Welcoming Committee it is my privilege to extend a laurel and hearty handshake to our new nigger. | ในฐานะ ประธานคณะกรรมการต้อนรับ... ...ขอมอบช่อมะกอก ดอกมะไฟ ต้อนรับ... ...นิโกร Blazing Saddles (1974) | As your spiritual leader, I implore you to pay heed to this good book and what it has to say. | ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ พ่อวิงวอน... ...ให้นึกถึงคำในพระคัมภีร์ Blazing Saddles (1974) | God may have been interested in you as an assistant manager we'll just see how he feels about you as a bag stuffer. | พระเจ้าอาจคุยกับคุณในฐานะที่ คุณเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ แล้วเราจะรู้ว่าท่านรู้สึกยังไง ถ้าคุณเป็นเด็กหยิบของใส่ถุง Oh, God! (1977) | It strikes me, as one who has actually heard his voice that you have virtually no prerequisites to make direct contact... | รู้มั้ยครับ ผมตกใจในฐานะที่ ผมได้ยินเสียงของท่านมาแล้ว คุณไม่มีวันที่จะติดต่อ กับท่านโดยตรงเด็ดขาด Oh, God! (1977) | But as an old lawyer, let me warn you. | แต่ในฐานะทนายเก่า ขอเตือนไว้หน่อย Gandhi (1982) | As Christians, those are difficult questions to answer. | ในฐานะที่เป็นคริสเตียน มันเป็นคำถามที่ตอบยาก Gandhi (1982) | As Christians, or as people who have not heard the word-- | ในฐานะคริสเตียน หรือคนที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Gandhi (1982) | As an Indian woman, how could you accept the indignity of prison? | ในฐานะหญิงอินเดีย คุณยอมเสียเกียรติที่ต้องติดคุกได้ยังไง Gandhi (1982) | Nor will we ever be able to challenge the British as one nation. | และไม่มีทางต่อรองกับอังกฤษ ในฐานะประเทศหนึ่งได้ Gandhi (1982) | To assist at the birth of an independent India and to welcome her as an equal member in the British Commonwealth of Nations. | เพื่อช่วยให้อินเดียได้เป็นเอกราช และเพื่อต้อนรับอินเดียในฐานะ สมาชิกของเครือจักรภพอังกฤษ Gandhi (1982) | I am here to see that I am the last British viceroy ever to have the honor of such a reception. | ข้าพเจ้ามาที่นี่ในฐานะไวซ์รอย คนสุดท้ายของอังกฤษ ที่จะได้รับการต้อนรับ อย่างมีเกียรติเยี่ยงนี้ Gandhi (1982) | No, he will be remembered for tempting fate. | ไม่ เขาจะถูกจดจำในฐานะ ที่หยอกล้อดวงชะตา Gandhi (1982) | As a fellow human being | ในฐานะเพื่อนมนุษย์ Idemo dalje (1982) | But as a pedagogue and as an educator, you must keep a stiff upper lip. | แต่เป็นนักการศึกษา- และในฐานะนักการศึกษา, คุณต้องเก็บริมฝีปากบนแข็ง Idemo dalje (1982) | - As my keeper. | ในฐานะที่เป็นผู้รักษาประตูของฉัน Greystoke: The Legend of Tarzan, Lord of the Apes (1984) | As happy as he can be. | ในฐานะที่มีความสุขในขณะ ที่เขาสามารถ Greystoke: The Legend of Tarzan, Lord of the Apes (1984) | That place is worse than a pigsty. As a doctor, I absolutely object! | เป็นสถานที่อัปรีย์ ในฐานะแพทย์ ฉันต้องขอค้าน! Vampire Hunter D (1985) | Yes, to give me eternal youth as a new member of the aristocracy. | ท่านสัญญาจะทำให้ ข้าเป็นอมตะในฐานะ สมาชิกของราชสกุล Vampire Hunter D (1985) | So, we sailed ashore, took on an entirely new crew, and he stayed aboard for a while, as first mate, all the time calling me Roberts. | ดังนั้น เราจึงเข้าฝั่ง เปลี่ยนลูกเรือใหม่ทั้งหมด และเขาก็อยู่ต่ออีกนิดในฐานะต้นห้อง เรียกข้าว่าโรเบิร์ตตลอดเวลา The Princess Bride (1987) |
| ดำรงฐานะ | [damrong thāna] (v, exp) EN: maintain one's status ; sustain ; hold ; bear ; lead | ลดฐานะ | [lot thāna] (v, exp) EN: abase | ไม่สมฐานะ | [mai som thāna] (v, exp) EN: be out of keeping with one's status ; be incompatible with one's status ; be infra dig | ในฐานะ | [nai thāna] (x) EN: as ; in one's capacity as | ในฐานะของ | [nai thāna khøng] (x) EN: on behalf of FR: pour le compte de ; au nom de | สมฐานะ | [som thāna] (x) EN: as befits one's status/position/place | ตามฐานะ | [tām thāna] (adv) EN: according to one's economic capacity ; according to one's status ; in accordance with one's means ; befittingly FR: selon son rang ; selon ses moyens | ฐานะ | [thāna] (n) EN: status ; condition ; position ; place ; station ; standing FR: statut [ m ] ; position [ f ] ; situation [ f ] ; condition [ f ] ; standing [ m ] | ฐานะดี | [thāna dī] (adj) EN: well-to-do ; well-off ; prosperous | ฐานะการนำ | [thāna kān nam] (n, exp) EN: leading position | ฐานะหน้าที่ | [thāna nāthī] (n, exp) EN: capacity | ฐานะทางการเงิน | [thāna thāng kānngoen] (n, exp) EN: financial status FR: statut financier [ m ] | ฐานะทางสังคม | [thāna thāng sangkhom] (n, exp) EN: social position ; social status FR: position sociale [ f ] ; statut social [ m ] | วิทยฐานะ | [witthayathāna] (n, exp) EN: academic standing FR: titre universitaire [ m ] | ยกฐานะ | [yok thāna] (v, exp) EN: promote ; raise one's position ; raise one's status FR: être promu ; élever son statut |
| as | (prep) ในฐานะ, See also: ในตำแหน่ง, ในบทบาท | above one's station | (idm) มีฐานะหรือตำแหน่งทางสังคมสูงกว่า (บางคน) | basket case | (n) องค์กรหรือประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำมาก | chair | (vt) ดำรงตำแหน่งประธาน, See also: ทำหน้าที่ในฐานะประธาน, Syn. preside | chalet party | (n) ช่วงวันหยุดสำหรับการเล่นสกี (โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นโสดและมีฐานะร่ำรวย) | compeer | (n) ผู้ที่อยู่ในฐานะเดียวกัน, Syn. peer, equal | credit | (n) ฐานะทางการเงิน | degrade | (vt) ปลด (ตำแหน่ง, ระดับ, ฐานะ), Syn. demote, deplace, Ant. upgrade, promote | degree | (n) ระดับ, See also: ขั้น, ลำดับ, ฐานะ, ช่วง, Syn. rank, order, grade, step, tier | dignitary | (n) บุคคลที่มีตำแหน่งสูง, See also: ผู้มีฐานะสูงส่ง, Syn. VIP, luminary, bigwig, celebrity | elevation | (n) การยกให้สูงขึ้น, See also: การเลื่อนฐานะ | for | (prep) ในฐานะของ, Syn. on behalf of | hard-set | (adj) ยึดมั่น, See also: มั่นคง, ซึ่งอยู่ในฐานะที่ลำบาก, ดื้อรั้น, อดอยาก | host | (vt) ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ, See also: ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน, ให้การต้อนรับในฐานะเจ้าบ้าน | know one's place | (idm) รู้จักสถานภาพหรือตำแหน่งฐานะ | live within one's income | (phrv) ดำรงชีวิตตามฐานะ, See also: มีชีวิตอยู่ตามอัถตภาพ, Syn. live within one's means | live within one's means | (phrv) ดำรงชีวิตตามฐานะ, See also: มีชีวิตอยู่ตามอัถตภาพ, Syn. live within one's income | lift | (vt) ยกระดับ, See also: เลื่อนฐานะ, ยกฐานะ, Syn. exalt, elevate, Ant. lower | lordship | (n) ตำแหน่งหรือฐานะขุนนางชั้นลอร์ด | lowly | (adj) ต่ำ (ความสำคัญ, ฐานะ) | lowness | (n) ความต่ำ (สภาพ, ภาวะ, ฐานะ), See also: ความด้อย, Ant. highness, loftiness | marry above | (phrv) แต่งงานกับคนที่มีฐานะหรือตำแหน่งทางสังคมสูงกว่า, Ant. marry beneath | marry beneath | (phrv) แต่งงานกับคนที่มีฐานะหรือตำแหน่งทางสังคมต่ำกว่า, Ant. marry above | morganatic | (adj) เกี่ยวกับการแต่งงานของชายที่สูงศักดิ์กับหญิงฐานะต่ำกว่า, Syn. plural | motherly | (adv) ในฐานะที่เป็นแม่, See also: ในสภาวะที่เป็นแม่ | peerage | (n) ตำแหน่งหรือฐานะของขุนนาง, Syn. lordship, lords | position | (n) ตำแหน่ง, See also: ฐานะ, สถานะ, ตำแหน่ง, ที่ตั้ง, Syn. location, spot, post, place | rating | (n) การจัดอันดับฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือ | rehabilitate | (vt) กู้ชื่อเสียง, See also: กอบกู้ฐานะ, Syn. restore one to favor | rise in the world | (phrv) มีฐานะทางสังคมสูงขึ้น | sainthood | (n) ความเป็นนักบุญ, See also: ฐานะของนักบุญ, นักบุญทั้งหลาย, Syn. saintship | siege | (n) ตำแหน่ง, See also: ฐานะ, บัลลังก์ | status quo | (n) สถานภาพปัจจุบัน, See also: สถานภาพที่เป็นอยู่, ฐานะที่เป็นอยู่, สภานการณ์ที่เป็นอยู่ | status symbol | (n) ดัชนีชี้วัดฐานะทางสังคม | upgrade | (vi) ยกระดับ, See also: ยกฐานะ, ยกสถานภาพ, Syn. improve, update | vantage | (n) ความได้เปรียบ, See also: ข้อได้เปรียบ, ฐานะที่ได้เปรียบ, การถือไพ่เหนือกว่า | vantage point | (n) ฐานะหรือตำแหน่งซึ่งได้เปรียบ, See also: จุดได้เปรียบ, จุดที่มองเห็นได้กว้างขวาง, Syn. vantage position, viewpoint | well-founded | (adj) ซึ่งมีฐานะดี |
| accredit | (อะเครด' ดิท) vt. เพิ่มบัญชี, เชื่อถือ, อนุญาต, แต่งตั้ง, ถือว่า, รับรอง, รับรองวิทยฐานะ accre-ditation, accreditment n. | as | (แอซ) pron., adv., prep., conj. ตามที่, ตาม, ดังที่, เหมือน, เช่นเดียวกับ, อย่าง, เช่น, ในข้อนี้, ดุจดัง, ดูประหนึ่ง, ฉันใด, ในฐานะที่ | ascendant | (อะเซน'เดินทฺ) n. ตำแหน่งที่ครอง, อิทธิพล, อำนาจ, บรรพบุรุษ. -adj. รุ่งเรือง, มีอำนาจ, ฐานะได้เปรียบ, ก้าวหน้า, มีอิทธิพลเหนือ | ascendent | (อะเซน'เดินทฺ) n. ตำแหน่งที่ครอง, อิทธิพล, อำนาจ, บรรพบุรุษ. -adj. รุ่งเรือง, มีอำนาจ, ฐานะได้เปรียบ, ก้าวหน้า, มีอิทธิพลเหนือ | ascent | (อะเซนทฺ') n. การขึ้น, การขึ้นสู่ที่สูงกว่า (ตำแหน่ง , ฐานะ, ปริญญา, ฯลฯ) วิถีทางที่ขึ้น | caste | (คาสทฺ) n. วรรณะ, ชั้น, วงศ์ตระกูล, กลุ่มของสังคม, ฐานะในสังคม adj. เกี่ยวกับชั้นวรรณะ, Syn. class, status | character | (แค'ริคเทอะ) n. ตัวอักษร, อักขระ, อุปนิสัย, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ, หลักความประพฤติ, ความรักหรือหยิ่งในศักดิ์ศรี, ชื่อเสียงที่ดี, เกียรติคุณ, ฐานะตัวในเรื่อง, บทบาทในละครหรือภาพยนตร์, สัญลักษณ์, See also: characterisation, characterization n. | chassis | (แ?ส'ซิส) n.โครงรถยนต์ที่รวมทั้งเครื่องยนต์และล้อ, โครงช่วงล่าง, โครงลำเครื่องบิน, ฐานะเครื่องวิทยุ, ร่างกาย, รูปร่าง -pl. chassis | circumstance | (เซอ'คัมสฺเทินซฺ) { circumstanced, circumstancing, circumstances } n. สถานการณ์, กรณี, สภาวะ, สภาพ, ฐานะ, กาลเทศะ, วิธีการ, โอกาส, สภาพแวดล้อม, รายละเอียด. vt. ให้อยู่ในสภาวะหนึ่งเฉพาะ, ควบคุมหรือนำโดยสถานการณ์, Syn. condition | citizenship | (ซิท'ทิเซินชิพ) n. ฐานะประชากร, สัญชาติ, คุณธรรมของประชากร | comeback | n. การกลับสู่ตำแหน่งหรือฐานะเดิม, การพูดย้อนที่ฉลาด, Syn. return | comedown | n. การตกอับ, การเสื่อมลงของฐานะ | condition | (คันดิช'เชิน) n. เงื่อนไข, สภาพ, สภาวะ, ฐานะ. vt. กำหนด, ตกลง, กำหนดเงื่อนไข, ทำให้ชินกับสิ่งแวดล้อม vi. กำหนดเงื่อนไข | count | (เคาทฺ) { counted, counting, counts } v., n. (การ) นับ, นับจำนวน, นับค่า, คิด, คิดว่า, นับว่า, ถือ, เข้าใจว่า, หวังว่า.มขุนนางยุโรปที่มี่ตำแหน่งฐานะเท่าท่านเอิร์ลของอังกฤษ -Phr. (count beyond นับไม่หมด นับไม่ไหว) -Phr. (count down นับย้อนกลับ นับถอยหลัง (ไปยังศูนย์)) - | credit | (เครด'ดิท) { credited, crediting, credits } n. ความน่าไว้วางใจ, ความเชื่อถือ, ชื่อเสียง, เกียรติยศ, เกียรติภูมิ, ฐานะ, หลักฐาน, สินเชื่อ, การเชื่อของ, เงินสินเชื่อ, เงินคงเหลือในธนาคาร, บัญชีรายรับ, หน่วยกิตวิชา, หนังสือรับรองสินเชื่อ vt. เชื่อถือ, ไว้วางใจ, เลื่อมใส, นำชื่อ | crowner | (เครา'เนอะ) n. เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ, บุคคลที่อยู่สูงสุด ตำแหน่งฐานะ) | degree | (ดีกรี') n. ปริญญา, ขั้น, ระดับ, ขีด, ขั้น, องศา, ความหนักเบา, ฐานะ, Syn. order | disrate | (ดิสเรท') vt. ลดตำแหน่ง, ลดฐานะ, ลดระดับ | elevated | (เอล'ละเวทิด) adj. สูงขึ้น, เลื่อนขึ้น, มีฐานะ ตำแหน่งหรือยศที่สูงขึ้น, สูงส่ง, มีความรู้สูงขึ้น, ปีติยินดี, ลิงโลด, Syn. lofty, exalted | eminence | (เอม'มะเนินซฺ) n. ความเด่น, ความสูงส่ง, ความมีชื่อเสียง, ที่สูง, เนิน, ผู้มีชื่อเสียง, ผู้มีฐานะหรือตำแหน่งสูง, ปุ่ม, ส่วนที่ยื่นออก | grandee | n. ขุนนาง, ชายที่มีฐานะทางสัมคมสูง., See also: grandeeship n. | hard-pressed | ซึ่งอยู่ในฐานะลำบาก, ถูกกดขี่, ถูกบังคับ, ถูกเร่งเร้า | hard-pushed | ซึ่งอยู่ในฐานะลำบาก, ถูกกดขี่, ถูกบังคับ, ถูกเร่งเร้า | hard-run | ซึ่งอยู่ในฐานะลำบาก, ถูกกดขี่, ถูกบังคับ, ถูกเร่งเร้า | hard-set | adj. ยึดมั่น, มั่นคง, ซึ่งอยู่ในฐานะที่ลำบาก, ดื้อรั้น, อดอยาก (fixed) | high end | ชั้นดีชั้นสูงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ชั้นดีเยี่ยมที่บางบริษัททำการผลิตขี้นมา แน่นอนที่ราคาจะต้องสูงตามไปด้วย เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีฐานะดี บางบริษัทอาจสนใจผลิตตรงข้าม กล่าวคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พอใช้ได้ และราคาถูก เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งเรียกว่า low end แต่ก็มีข้อดีก็คือ จะทำให้ขายได้จำนวนมากกว่า ดู low end เปรียบเทียบ | important | (อิมพอร์' เทินทฺ) adj. สำคัญ, มีความหมาย, เด่น, โอหัง, ยะโส, มีอิทธิพลมาก, มีอำนาจมาก, มีฐานะสูง, ใหญ่โต, มากมาย., See also: importantly adv., Syn. subtantial, serious | lordship | (ลอร์ด'ชิพ) n. ตำแหน่งหรือฐานะขุนนางชั้นลอร์ด, อำนาจและหน้าที่ของท่านลอร์ด, เขตการปกครองของท่านลอร์ด | magisterial | (แมจจิสเทอ'เรียล) adj. เกี่ยวกับนาย, อย่างวางอำนาจ, เชื่อถือได้, มีหลักฐาน, ในฐานะเป็นต้นตำรับ, ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ., See also: magisterially adv. magisterialness n. | matron | (เม'เทริน) n. หญิงมีสามีแล้ว (โดยเฉพาะที่มีลูกหรือที่มีลูกหรือที่มีฐานะดีในสังคม) หญิงผู้ดูแลเรื่องภายในหน่วยงาน, ผู้คุมที่เป็นจริง, See also: matronal adj. matronhood n. matronship n. | mesalliance | (เมซะไล'อันซ) n. การแต่งงานกับผู้มีฐานะด้วยกว่า | of | (ออฟ) prep. ของ, แห่ง, ด้วย, โดย, เกี่ยวกับ, ถึง, ในจำพวก, ในเรื่อง, ในฐานะ, ในปริมาณ, ในจำนวน, ที่จะ, ที่มี | patrichian | n. ขุนนาง, ผู้มีฐานะสูง ผู้มีอำนาจ, ผู้ดี., See also: hood. n. | peer | (เพียร์) n. คนทีมีฐานะหรือตำแหน่งเท่ากัน, ขุนนาง, ท่านดยุค ท่านเอิร์ลท่านแบรอนหรือขุนนางอื่น ๆ , เพื่อน vi. มองหา, ปรากฎขึ้นราง ๆ, Syn. equivalent, equal | peerage | (เพีย'ริจฺ) n. ตำแหน่งหรือฐานะของขุนนาง, กลุ่มขุนนางของประเทศ, รายชื่อขุนนาง | perch | (เพิร์ชฺ) n. สิ่งสำหรับให้นกหรือสัตว์เกาะ, ที่เกาะ, ที่นั่งในที่สูง, ที่พักผ่อน, ตำแหน่งหรือฐานะสูง, ไม้, ราว, เสา, ปลาน้ำจืดจำพวก Perca vi., vt. เกาะ, พักอยู่ในที่สูง, See also: percher n., Syn. vantage, roost | place | (เพลส) n. สถานที่, บริเวณ, จุดหมาย, ที่, ที่พัก, เขต, ฐานะ, ตำแหน่ง, สภาพ, สถานการณ์, เทศะ, หน้าที่, การงาน, ที่ตั้ง, โอกาสที่เหมาะ. -Phr. (give place to ให้ความสำคัญ, ถูกแทนที่โดย) -Phr. (go places ประสบความสำเร็จ) -Phr. (take place เกิดขึ้น) vt. จัด, วาง, กะ, คาดคะเน, บรรจุ, ใส่, เอาไว้, ฝาก, มอบ, แต่งตั้ง, วินิจฉัย, ปรับเสียง, วางลูก, ส่งกระสุน vi. อยู่ในอันดับ | position | (พะซิช'เชิน) n. ตำแหน่ง, ที่มั่น, ฐานะ, ฐานะสังคมที่สูง, สภาพ, ชั้น, งาน, การจัดวาง, การสันนิษฐาน vt. จัดวาง, หาตำแหน่ง., Syn. location | positive | (พอส'ซิทิฟว) adj. แน่นอน, แน่ใจ, เชื่อถือได้, ยืนยันได้, เด็ดขาด, มั่นใจ, มีประจุบวก, (การทดสอบ) ได้ผลบวกของพยาธิสภาพ, มีอยู่จริง, (รูปถ่าย) มีสีถูกต้อง. n. สิ่งที่เป็นบวก, สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบวก, ภาพที่มีสีถูกต้อง (ตรงกันข้ามกับภาพเป็นกาติฟว์) , ฐานะที่ชัดเจน, รูปแบบที่แน่นอน | predicament | (พรีดิค'คะเมินทฺ) n. สถานการณ์ที่ลำบาก, สภาพหรือฐานะที่ลำบาก, สถานการณ์, สภาพหรือฐานะเฉพาะ, See also: predicamental adj. predicamentally adv. | primacy | (ไพร'มะซี) n. ความเป็นอันดับหนึ่ง, ฐานะสูงสุดหรือสำคัญที่สุด, อำนาจหน้าที่ของbishop, Syn. supremacy | promotion | (พระโม'เชิน) n. การสนับสนุน, การส่งเสริม, การเลื่อน (ตำแหน่ง ฐานะหรือระดับ) , การให้กำลังใจ, การก่อการ, การก่อตั้ง., See also: promotional adj. promotive adj. | rate | (เรท) n. อัตรา, อัตราเปรียบเทียบ, อัตราค่าโดยสาร, อัตราความเร็ว, ค่าบรรทุก, ราคา, ทุน, ค่าใช้จ่าย, อัตราภาษีอากร, ค่าประกันภัย, ขั้น, ระดับ, ขนาด, -Phr. (at any rate ทุกกรณีอย่างน้อยที่สุดยังคง) vt. ประเมินค่า, ตีราคา, กะ, วางราคา, vi. มีค่า, ถูกประเมินค่า, มีตำแหน่งหรือขั้นสูงมาก, มีฐานะ vt. vi. ด่า ดุด่า ว่าด้วยความโกรธ | readership | (รีด'เดอะชิพ) n. จำนวนผู้อ่านทั้งหมด, หน้าที่ฐานะหรืออาชีพของผู้อ่าน, (โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยอังกฤษ) ตำแหน่งอาจารย์หรือผู้บรรยาย | receivership | (รีซี'เวอะชิพ) n. การเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์, การเป็นผู้รับ, ฐานะการเป็นผู้รับ | rehabilitate | (ริฮะบิล'ลิเทท) vt. พักฟื้น, ทำให้สุขภาพกลับคืนสู่ปกติ, กู้ชื่อเสียง, กู้ฐานะ, See also: rehabilitation n. rehabilitative adj. | residency | (เรส'ซิเดินซี) n. ที่อยู่อาศัย, ถิ่นที่อยู่, ฐานะหรือช่วยระยะการฝึกหัดความชำนาญสาขาใดสาขาหนึ่งของแพทย์ในโรงพยาบาล, จวน, ทำเนียบ, Syn. residence | sainthood | (เซนทฺ'ฮูด) n. ความเป็นนักบุญ, ฐานะของนักบุญ, นักบุญทั้งหลาย | second class | n. ชั้นสอง, รถชั้นสอง, รถตู้นอนชั้นสอง, ประเภทที่สอง, ลำดับที่สอง, อันดับรอง, คุณภาพรอง, ฐานะรอง, ไปรษณีย์ภัณฑ์ชั้นสอง | siege | (ซีจฺ) n. การโอบล้อม, การล้อม, การล้อมโจมตี, การกลุ้มรุม, ฐานะ, ตำแหน่ง -Phr. (lay siege to โอบล้อม) vt. โอบล้อม, ล้อมรอบ., See also: siegeable adj., Syn. campaign, effort, Ant. lull, pause |
| betterment | (n) การเขยิบฐานะ, สิ่งที่ดีกว่า | capacity | (n) ปริมาตร, ฐานะ, ความจุ, ความสามารถ, สมรรถภาพ, อัตรา, หน้าที่ | caste | (n) ตระกูล, ชั้น, วรรณะ, ฐานะทางสังคม | civil | (adj) เกี่ยวกับพลเมือง, ในฐานะพลเมือง, ของพลเมือง, สุภาพ | elevation | (n) เนินเขา, มูนดิน, โคก, การยกระดับ, การเลื่อนฐานะ | fatherhood | (n) ความเป็นพ่อ, ฐานะเป็นพ่อ, บรรพบุรุษ | foothold | (n) หลักฐาน, ฐานะ, ที่มั่น, จุดมั่น | kingly | (adj) เกี่ยวกับกษัตริย์, เกี่ยวกับขัตติยะ, ในฐานะกษัตริย์ | level | (n) ระดับ, พื้นราบ, ชั้น, ฐานะ, แนวราบ, แนวนอน | motherly | (adj) เหมือนมารดา, ของมารดา, ในฐานะที่เป็นแม่ | predicament | (n) สภาพ, ฐานะ, สถานการณ์ | rehabilitate | (vt) กู้ฐานะ, ทำให้กลับคืนดี, กู้(ชื่อเสียง), พักฟื้น | rehabilitation | (n) การกู้(ชื่อเสียง), การกู้ฐานะ, การพักฟื้น | shoe | (n) รองเท้า, ตำแหน่ง, ฐานะ, เกือกม้า, หัวท่อ, ปลอกไม้เท้า | skin | (n) ผิวหนัง, หนัง, เปลือก, ชีวิต, ฐานะ | stand | (vt) ตั้ง, ตั้งตรง, หยุด, ยึด, อยู่ในฐานะ, อดทน, เผชิญ | standing | (n) ชื่อเสียง, ฐานะ, ความนิยม, ตำแหน่ง, จุดยืน | station | (n) ที่ตั้ง, สถานี, ที่ทำการ, ด่าน, สำนักงาน, ตำแหน่ง, ฐานะ | status | (n) ฐานะ, สถานะ, สภาพ, ภาวะ, สถานการณ์, ยศ, ตำแหน่ง | uprear | (vt) ยกขึ้น, ก่อสร้าง, ยกฐานะ, เลี้ยงดู, อุปถัมภ์ | walk | (n) การเดิน, ท่าเดิน, การเดินเล่น, ทางเดิน, ฐานะ |
| accrediting amount | (n) เงินวิทยฐานะ | fiscal cliff | หน้าผาทางการคลัง (ใช้เรียกสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายปี 2012 เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยเหตุการณ์ที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ได้แก่ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีหลายๆมาตรการ และการเริ่มต้นของมาตรการการปรับลดงบประมาณของภาครัฐฯ) | hypergamy | การคบหาหรือแต่งงานกับคนที่มีวรรณะหรือฐานะทางสังคมสูงกว่า | LANNA | (n) ล้านนา คือดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน | Middle class | [มิดเดิล คลาส] ฐานะปานกลาง | position | (n, vt) ตำแหน่ง, สถานที่, ฐานะ, สภาพ | priest | (n) ปุโรหิต (เป็นตำแหน่งหนึ่งของฐานะปุโรหิตที่แต่งตั้งให้ผู้ชายและเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน ส่วนใหญ่ใช้ในศาสนามอรมอน), See also: Priesthood Mormon | priesthood | (n) ฐานะปุโรหิต(ตำแหน่งทางศาสนาใช้สำหรับผู้ชายในศาสนามอรมอนเท่านั้น), Syn. priest | qualification allowance | เงินวิทยฐานะ | risk exposure | (n) ฐานะความเสี่ยง |
| als | ในฐานะ (ใช่บ่งสถานภาพ) เช่น ich als Chemiker ฉันในฐานะนักเคมี | Tätigkeit | (n) |die, pl. Tätigkeiten| งานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่(ไม่จำเป็นต้องเป็นงานประจำเสมอ) เช่น Zu seinem einzigartigem Lebenswerk gehöre neben seiner Schauspielerkarriere auch seine erfolgreiche Tätigkeit als Maler, Regisseur, und Autor. นอกเหนือจากอาชีพนักแสดงแล้ว ผลงานชิ้นเอกของเขายังมี งานที่ประสบความสำเร็จในฐานะจิตรกร ผู้กำกับการแสดง และนักประพันธ์อีกด้วย, Syn. Beschäftigung | Blickwinkel | (n) |der, pl. Blickwinkel| มุมมอง, ฐานะที่ได้เปรียบกว่า, จุดที่มองได้กว้างขวางมากกว่า เช่น Immer wechselnde Ausstellungen zu den Themen 'Augen' und 'Sehen' lassen das Geschäft immer wieder aus einem anderen BLICKWINKEL erscheinen. |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |