ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้.
น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง.
ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
ว. จำนวนที่หารด้วย ๒ ไม่ลงตัว, เดี่ยว, ตรงข้ามกับ คู่.
ว. ไล่เลี่ยกัน เช่น เขามีคะแนนคู่คี่กัน.
น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งที่ถือจำนวนคู่หรือจำนวนคี่เป็นหลัก.
ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวารทุกแห่งแล (ม. คำหลวง ทศพร).
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cotylelobium lanceolatumCraib ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีมากในป่าดิบทางภาคใต้ ต้นสูงตรง เป็นไม้ที่ทนทาน.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea henryana Pierre ในวงศ์ Dipterocarpaceae ลำต้นสูงตรงมาก มีมากตามป่าดิบทางภาคตะวันออกและภาคใต้.
น. ชื่อเครื่องมือของช่างทำหวี ทำด้วยเหล็กมีคมเป็นขั้น ๆ ใช้แต่งซี่หวี.
ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ก. พยายามต่อสู้หรือแข่งขันด้วยความลำบาก.
ก. เร่งรัด, พยายามให้ถึงที่สุด.
ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย (พระราชนิพนธ์ ร. ๖)
บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, บดเอื้อง ก็ว่า.
ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ คด เป็น คดเคี้ยว.
น. เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาในการเคี้ยวหมาก ๑ คำ ตั้งแต่เริ่มเคี้ยวจนหมากจืดหมดคำ จึงคายชานหมากทิ้ง), พูดเพี้ยนเป็น ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ก็มี.
น. เดือนที่มีลำดับเลขคี่ คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนคู่.
น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
(กฺรวบ, กฺร๊วบ) ว. เสียงดังอย่างเคี้ยวถูกของแข็งหรือของกรอบ.
ว. เสียงดังอย่างเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็งกระทบกันอย่างแรง
น. ชื่อขนมทำด้วยแป้งหมี่นวดกับน้ำมัน ตัดเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ริมเป็นจัก ๆ ทอดให้กรอบ เคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ใส่เกลือ และรากผักชี กระเทียมพริกไทยโขลก มีรสหวานเค็ม.
(กฺร๊อบ) ว. เสียงดังอย่างเคี้ยวของแข็งหรือของกรอบ.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้.
ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน (รามเกียรติ์ ร. ๑).
น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท.
(กฺราม) น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
(กฺรำ) ว. ตรำ, ฝ่า, สู้ทนลำบาก, เช่น กรำแดด กรำฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นคํ่ากรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
(กฺรุบ) ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่พอเคี้ยวได้เช่นกระดูกอ่อน ข้อไก่.
(กฺล้อมแกฺล้ม) ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด
น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๔ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อบุภายในมีลักษณะเป็นกลีบห่าง ๆ คล้ายกลีบมะเฟือง.
ก. คนให้ทั่วกันหรือให้วนไปโดยรอบ เช่น กวนนํ้า, คนให้เข้ากัน, เคี่ยวและคนให้เข้ากันจนข้น, เช่น กวนขนม กวนกาละแม.
น. เรียกของกินที่ทำด้วยผลไม้เป็นต้น เคี่ยวกับนํ้าตาลแล้วคนให้เข้ากันจนข้น เช่น ขนมกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน.
น. เมล็ดแตงโมต้มแล้วตากให้แห้ง ใช้ขบเคี้ยว.
(กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe).
ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด
น. ของเหนียวที่เคี่ยวมาจากเอ็น หนัง กีบสัตว์ เป็นต้น สำหรับใช้ติดหรือผนึกสิ่งของ.
ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Saiga tatarica (Linn.) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง หัวใหญ่ ตัวอ้วน มีเขาเฉพาะตัวผู้ รูปร่างคล้ายพิณฝรั่ง สีขาวนวลโปร่งแสง มีวงเป็นข้อนูนต่อเนื่องกันจากโคนถึงปลาย จมูกลักษณะคล้ายกระเปาะ พองมีสันตามยาว หางสั้นมาก มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่พบในประเทศไทย เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้.
(เกฺรียด) ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว (นิ. เพชร).
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย Ovis amon aries Linn.
ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช).
น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นวัวควาย มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง.
(ขัด, ขัดชะกะ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร (ม. ร่ายยาว ชูชก).
(ขาทะ-) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค.