รับราชการ | ก. เข้าทำงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน. |
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ เรียกชื่อย่อว่า กบข. |
กองเกิน | น. ผู้ขึ้นทะเบียนรับราชการทหาร แต่ทางการยังไม่เรียกเข้ารับราชการ. |
เกณฑ์ทหาร | ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปรกติ. |
เกษียณอายุ | (กะเสียน-) ก. ครบกำหนดอายุรับราชการ, สิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน, พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มี. |
ข้าราชการ | บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง ทบวง กรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ. |
ชาววัง | น. ผู้หญิงที่รับราชการอยู่ในวัง เช่น ข้าหลวง ชาวที่ โขลน, ภาษาปากว่า ชาวรั้วชาววัง |
ทหารกองประจำการ | น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์. |
ท้าวนาง | น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง |
นางใน | น. สตรีที่รับราชการในราชสำนัก เช่น สนมกำนัล คุณพนักงาน. |
บำนาญ | น. เงินตอบแทนที่ได้รับราชการหรือทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบำนาญ, (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อออกจากราชการแล้ว. |
ใบกองหนุน | น. ใบสำคัญทหารกองหนุน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดหรือทางราชการออกให้แก่ทหารกองประจำการที่รับราชการเป็นทหารกองประจำการจนครบกำหนด หรือทหารกองเกินที่มีอายุครบกำหนด ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว. |
ใบดำ | ใบสลากที่จัดไว้ให้ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ใบดำก็ไม่ต้องเป็นทหาร. |
ใบแดง | ใบสลากที่จัดไว้ให้ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ใบแดงก็ต้องเป็นทหาร |
ไพร่สม | น. ชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นราษฎรสามัญผ่านการสักแล้ว พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ไปรับราชการเป็นกำลังแก่มูลนาย, ไพร่สมกำลัง ก็ว่า. |
ไพร่หลวง | น. ชายฉกรรจ์อายุ ๑๘ ปีขึ้นไปซึ่งเป็นราษฎรสามัญผ่านการสักขึ้นทะเบียนสังกัดกรมกองต่าง ๆ เพื่อรับราชการหรือเข้าเดือน. <i> (ดู เลกสมสัก ประกอบ)</i>. |
รัชชูปการ | น. เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปีที่มิได้รับราชการทหารหรือได้รับการยกเว้นเป็นรายบุคคล เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๒). |
ราชครู | น. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่า พระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. |
เริ่มแรก | ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานเริ่มแรกของเขาคือรับราชการ เริ่มแรกที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, แรกเริ่ม ก็ว่า. |
แรกเริ่ม | ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานแรกเริ่มของเขาคือรับราชการ แรกเริ่มที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, เริ่มแรก ก็ว่า. |
ลูกหมู่ | น. ลูกหลานที่ต้องถูกเกณฑ์รับราชการตามสังกัดของบิดามารดาในครั้งโบราณ. |
เลกสมสัก | น. ชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นราษฎรสามัญที่สมควรต้องสักข้อมือเป็นไพร่หลวงหรือไพร่สมเพื่อรับราชการแผ่นดิน เดิมใช้ความสูง ๒ ศอกคืบเป็นเกณฑ์กำหนด ต่อมาใช้อายุ ๑๘ ปีเป็นเกณฑ์กำหนด เว้นแต่จะได้รับยกเว้น. |
ไล่ทหาร | ก. เข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับราชการทหารตามหมายเกณฑ์. |
ส่วย ๑ | น. รายได้แผ่นดินประเภทหนึ่ง เรียกเก็บเป็นสิ่งของหรือเงินตราแทนการเข้าเดือนหรือการรับราชการ |
สอบประวัติส่วนบุคคล | ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่งจะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้งสุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น. |
หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล | น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก. |