ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*น้ำกร่อย*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: น้ำกร่อย, -น้ำกร่อย-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
น้ำกร่อย(n) brackish water, Example: น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นน้ำกร่อยที่ต้องมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม, Thai Definition: น้ำจืดปนน้ำเค็ม

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กดเหลืองน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i> Hemibagrus</i><i> nemurus</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
กะต่อมน. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด <i> Macrobrachium equidens</i> (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก.
ก้ามกรามน. ชื่อกุ้งชนิด <i> Macrobrachium rosenbergii</i> (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
กุ้งนางน. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด.
ข้างลาย ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล <i> Terapon</i> และ <i> Pelates</i> วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด <i> T. jarbua</i> (Forsskål), <i> P. quadrilineatus</i> (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
จาก ๑น. ชื่อปาล์มชนิด <i> Nypa</i> <i> fruticans</i> Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก
จาก ๓น. ชื่อปูชนิด <i> Varuna</i> <i> litterata</i> (Fabricius) ในวงศ์ Grapsidae ลำตัวแบน สีน้ำตาลอมเหลือง อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
จุมพรวดน. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gobiidae เช่น สกุล <i> Boleophthalmus, </i> <i> Pseudapocryptes, </i> <i> Parapocryptes, </i> <i> Periophthalmus</i> ทำรูอยู่ตามป่าชายเลน รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด <i> B. boddarti</i> (Pallas), กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
นวลจันทร์ ๒น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด <i>Chanos</i> <i>chanos</i> (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก.
เปี้ยว ๑น. ชื่อปูทะเลขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล <i> Uca</i>วงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าหรือโตกว่าลำตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กกว่ามาก ส่วนตัวเมียมีก้ามขนาดไล่เลี่ยกันทั้ง ๒ ข้าง อาศัยอยู่ตามชายเลนในน้ำกร่อยหรือทะเล เช่น ชนิด <i> U. dussumieri</i> (H. Milne Edwards), ก้ามดาบ ก็เรียก.
ริวกิวน. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด <i>Arius thalassinus</i> (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.<i>(ดู กด และ อุก)</i>.
ไรน้ำน. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ cladocera รูปร่างแตกต่างกันไป โดยทั่วไปลำตัวกลมคล้ายไข่ ขนาดยาว ๐.๔-๑.๘ มิลลิเมตร มีแผ่นเปลือกคลุมประกบซ้ายขวา ท้ายสุดของส่วนท้องเป็นหนามแหลมยื่นและแยกเป็น ๒ แฉก ปากเล็ก กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ไรแดง [ <i>Moina macrocopa</i> (Straus) ] ในวงศ์ Daphnidae ไรน้ำกร่อย (<i>Diaphanosoma</i>spp.) ในวงศ์ Sididae, ลูกไร ก็เรียก.
สงกรานต์ ๒(-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.
เสือพ่นน้ำน. ชื่อปลาน้ำกร่อยทุกชนิดในสกุล <i>Toxotes</i>วงศ์ Toxotidae บางชนิดอยู่ได้ดีในเขตน้ำจืด ทุกชนิดมีพฤติกรรมในการว่ายเสมอผิวน้ำและล่าเหยื่อจำพวกแมลงและแมงเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือผิวน้ำได้ถึง ๓ เมตร ด้วยการพ่นเม็ดน้ำเป็นทางให้ไปโดนเหยื่อตกลงมาเป็นอาหาร ทุกชนิดมีพื้นลำตัวและครีบสีเงินอมเหลืองแกมเขียว ที่สำคัญคือ มีแถบหรือแต้มสีดำพาดขวางอยู่ตั้งแต่หัวถึงคอดหาง ขนาดยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร, เสือ ก็เรียก.
แสม ๒(สะแหฺม) น. ชื่อปูน้ำกร่อยหลายชนิดในสกุล <i>Episesarma</i> วงศ์ Grapsidae ลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีคล้ำค่อนไปทางน้ำตาลดำ ระหว่างตามีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกฟูก อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน เช่น ชนิด <i>E. mederi</i> (H. Milne Edwards) ชนิดนี้ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูเค็ม.
หนวดพราหมณ์ ๒(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล <i>Polynemus</i> วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า.
หมอเทศน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Oreochromis mossambicus</i> (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร.
หัวแข็ง ๒น. ชื่อกุ้งชนิด <i>Exopalaemon styliferus</i> (H. Milne-Edwards) ในวงศ์ Palaemonidae ลำตัวใส หัวมีผิวเกลี้ยงเรียบ ปลายกรีงอนขึ้นมีสีแดง ปลายหางสีแดง อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ส่วนใหญ่พบในทะเลหรือน้ำกร่อย บางครั้งพบในน้ำจืด.
ไหล ๑น. ชื่อปลารูปร่างกลมยาวและเคลื่อนที่คล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ ส่วนใหญ่ไม่มีเกล็ด มีเมือกมาก เช่น ไหลนาหรือไหลบึง [ <i>Monopterus albus</i> (Zuiew) ] ในวงศ์ Monopteridae ส่วนชนิดที่มักพบในน้ำกร่อย ได้แก่ชนิด <i>Ophisternon</i> <i>bengalensis</i> (M’ clelland) ในวงศ์ Synbranchidae นอกจากนี้ก็เป็นปลาไหลทะเลทุกชนิดทุกสกุล ในวงศ์ Muraenidae, Muraenesocidae, Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน สำหรับปลาไหลนา.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
brackishที่น้ำกร่อย [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Brackish zoneเขตน้ำกร่อย, Example: บริเวณที่น้ำจากแม่น้ำไหลมาบรรจบกับน้ำทะเล เนื่องจากเขตน้ำกร่อยเป็นบริเวณที่ผสมผสานกันระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เขตน้ำกร่อยจึงเป็นพื้นที่ที่รวมของบรรดาสัตว์น้ำจากท้องทะเลมากมายหลายชนิดจนอาจเรียกได้ว่าเป็นอู่ชีวิตของทะเล [สิ่งแวดล้อม]
Brackish water ecologyนิเวศวิทยาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish water fishesปลาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish watersน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Estuariesบริเวณน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Estuarine biologyชีววิทยาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish Water Depositตะกอนน้ำกร่อย, Example: ตะกอนที่น้ำกร่อยพัดพามาทับถมแล้วเกิดเป็นดิน ในประเทศไทยพบที่ราบภาคกลางตอนใต้ ตั้งแต่แถวทุ่งรังสิตขึ้นไปถึงจังหวัดอยุธยา ดินที่เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยนี้จะเป็นดินเปรี้ยวจัด ในชั้นหน้าตัดของดินมักจะพบสารสีเหลืองคล้างฟางข้าว เกิดขึ้นในดินชั้นใดชั้นหนึ่ง สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน [สิ่งแวดล้อม]
Brackish Water Sedimentตะกอนน้ำกร่อย, Example: ตะกอนที่น้ำกร่อยพัดพามาทับถมแล้วเกิดเป็นดิน ในประเทศไทยพบที่ราบภาคกลางตอนใต้ ตั้งแต่แถวทุ่งรังสิตขึ้นไปถึงจังหวัดอยุธยา ดินที่เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยนี้จะเป็นดินเปรี้ยวจัด ในชั้นหน้าตัดของดินมักจะพบสารสีเหลืองคล้างฟางข้าว เกิดขึ้นในดินชั้นใดชั้นหนึ่ง สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน [สิ่งแวดล้อม]
Brackish or Estuaries Ecosystemระบบนิเวศน้ำกร่อย, Example: ระบบนิเวศในบริเวณที่น้ำมีความเค็มตั้งแต่ 2-30 ส่วนในพันส่วน เป็น ระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำบริเวณที่มีการผสมผสานกันระหว่างน้ำจืด และน้ำทะเล มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มตามฤดูกาล แต่ละบริเวณจะมี ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและขนาดแตกต่างกันไป บริเวณน้ำกร่อยนี้ โดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ อาหาร และผลผลิตทางชีวภาพสูง เนื่องจากได้รับสารอาหารมาจากแม่น้ำ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ องค์ประกอบที่สำคัญของบริเวณน้ำกร่อยในเขตร้อน คือ ป่าชายเลน (Mangrove Forest) [สิ่งแวดล้อม]
wetlandsพื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาจเป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศให้บริเวณเขตพรุควนขี้เสียน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งอาจอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศด้วย [การทูต]
brackish waterbrackish water, น้ำกร่อย [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
น้ำกร่อย[nām krǿi] (n, exp) EN: brackish water  FR: eau saumâtre [ f ]

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Daphnia(n) ไรน้ำยักษ์, ไรน้ำสีน้ำตาล, แพลงก์ตอนน้ำกร่อย
salt marsh(n) บึงน้ำเค็ม, บึงน้ำกร่อย

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top