ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ข้อมูลเข้า*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ข้อมูลเข้า, -ข้อมูลเข้า-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ข้อมูลเข้า(n) input data, Ant. ข้อมูลออก, Example: ข้อมูลเข้าของตัวสร้างภาษาคือรูปแทนภาษากลาง, Thai Definition: ข้อมูลที่ใส่หรือป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางคีย์บอร์ด

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
input dataข้อมูลเข้า [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Handwritingการนำข้อมูลเข้าด้วยการเขียนด้วยมือ [Assistive Technology]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
If I don't input those numbers, it doesn't make much of a difference.ถ้าฉันไม่คีย์ข้อมูลเข้าไป มันก็ไม่แตกต่างนักหรอก The One Where Monica Gets a Roommate (1994)
Okay, well, let me just factor that into the computer and crunch some numbers.ได้.. เดี๋ยวผมขอใส่ข้อมูลเข้าเครื่องก่อน จะได้หาตัวเลขสวยๆ ให้คุณได้ Imagine Me & You (2005)
Agent James, negative. No further information...ไม่ทราบได้ ยังไมมีข้อมูลเข้ามา Shooter (2007)
Uploaded that information to get the blade length and width.โหลดข้อมูลเข้าไปเพื่อหาความกว้างยาวของใบมีด Cheating Death (2008)
It uploaded itself from one of the main T3 hubsมันถ่ายโอนข้อมูลเข้าระบบจากหนึ่งในฮับ ที3 To the Lighthouse (2009)
While others are using what they know of the present to explain the blackout, our office is trying to consolidate information gleaned from the flash-forwards themselves.ในขณะที่คนอื่นกำลังใช้ สิ่งที่เขารู้นำเสนอ เพื่ออธิบาย เหตุการณ์หมดสติ สำนักงานของเรา พยายามที่จะรวบรวม ข้อมูลเข้าด้วยกัน Gimme Some Truth (2009)
Dad, I sit behina desk, and I input data a couple of times a month.พ่อผมนั่งโต๊ะ behina และ ผมก็เอาข้อมูลเข้า 2 - 3 ครั้งค่อเดือน ไม่มีอะไรอันตรายหรอกน่า Chuck Versus the Living Dead (2010)
MAN: File in.ข้อมูลเข้ามา Super 8 (2011)
File in, please, file in.ข้อมูลเข้ามา, ขอร้อง, ข้อมูลเข้ามา Super 8 (2011)
It'll need 45 seconds to upload all his data.มันใช้แค่ 45 วินาทีในการดาวน์โหลดข้อมูลเข้าเครื่อง Grace (2011)
My brain is like a Roach Motel, once the info checks in, it never checks out.พอข้อมูลเข้ามาเช็คอิน มันก็ไม่เคยเช็คเอ้าท์ Goodbye (2012)
I'm talking about the bank codes, passwords, login data...ฉันพูดคุยเกี่ยวกับรหัสธนาคาร รหัสผ่านข้อมูลเข้าสู่ระบบ ... Elysium (2013)
Incoming data upload from Rosalind's phone. Okay.อัพโหลดข้อมูลเข้า จากโทรศัพท์ของโรซาลินด์ Many Heads, One Tale (2015)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
นำข้อมูลเข้า[nam khømūn khao] (v, exp) EN: import  FR: importer des données

English-Thai: Longdo Dictionary
blockchain(n) บล็อกเชน, วิธีการเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงตามหลักการทางบัญชี โดยการเข้ารหัสและจัดเรียงข้อมูลเหล่านี้ต่อกันตามลำดับเวลาที่ข้อมูลเข้ามา กลุ่มข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ไปให้ผู้ใช้ในเครือข่ายที่กำหนดได้ทราบทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้ใช้ทุกคนจะทราบการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเปลี่ยนแปลงในบล็อกเชนทุกรายการตลอดเวลา [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
input(vt) ป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์, See also: ป้อนข้อมูล, Syn. enter, key in
key(vt) ใส่ข้อมูล, See also: พิมพ์ข้อมูลเข้าเครื่องโดยใช้แป้นพิมพ์, Syn. type

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
apple desktop busตัวนำข้อมูลเข้า <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ADB หมายถึง ตัวประสาน (interface) ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานของแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) ฯ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น ๆ ให้สามารถนำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ (เฉพาะแมคอินทอช)
bios(ไบออส) ย่อมาจาก Basic Input/Output System เป็นชื่อโปรแกรมชุดหนึ่งซึ่ง จะควบคมการทำงานของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าไปเก็บและการแสดงผล (หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ จอภาพฯ) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บไบออสนี้ไว้ในชิปตัวหนึ่งที่สร้างมาให้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (built in) หรือที่เรียกว่า "รอม" (ROM) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะอ่านคำสั่งในไบออสก่อนเสมอ
buffer(บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง
computer networkข่ายงานคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน โดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก เครื่องพิมพ์ โมเด็ม (modem) เป็นต้น การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้ดึงข้อมูลจากกันและกันมาใช้ หรือใช้ร่วมกันได้
control unitหน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ
data entryการบันทึกข้อมูลหมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าไปเก็บในสื่อ (medium) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) ฯลฯ โดยผ่านทางแผงแป้นอักขระ (keyboard) หรืออาจหมายถึงการส่งข้อมูลเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
data terminal readyปลายทางพร้อมใช้ตัวย่อว่า DTR (อ่านว่า ดีทีอาร์) หมายถึงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บอกให้รู้ว่า โมเด็ม (modem) พร้อม และสถานีปลายทางก็พร้อมที่จะรับข้อมูลเข้ามาได้แล้ว
direct access storage devอุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ
dtr(ดีทีอาร์) ย่อมาจากคำ data terminal ready (แปลว่า ปลายทางพร้อม) หมายถึงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บอกให้รู้ว่า โมเด็ม (modem) พร้อม และสถานีปลายทางก็พร้อมที่จะรับข้อมูลเข้ามาได้แล้ว
eighty column cardบัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ
hollerith, dr. hermanเป็นชาวอเมริกัน เกิด ค.ศ.1860 ตาย ค.ศ.1929 เป็นผู้คิดเอาวิธีนำเอาระบบบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูลลงในบัตร โดยเลียนแบบจากบัตรของแจ็กการ์ด (Jacquard) ซึ่งเคยใช้วิธีการนี้ควบคุมการให้ลายและพิมพ์สีลงบนผ้า ฮอลเลอริทได้สร้างรหัสสำหรับบัตรเจาะรูขึ้น แล้วจึงนำข้อมูลถ่ายลงบนบัตรเพื่อนำไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่าน เครื่องมือประดิษฐ์ของฮอลเลอริทนี้ได้นำมาใช้ในงาประมวลผลและรายงานผลสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1890 ซึ่งทำให้ทราบผลลัพธ์เร็วขึ้นมาก โดยสามารถทำเสร็จภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น ในปัจจุบัน การเจาะบัตรเพื่อส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์นั้นเกือบจะไม่มีแล้ว เพราะล้าสมัย
i/o(ไอ/โอ) ย่อมาจากคำว่า input/output แปลว่า รับเข้า/ส่งออก หมายถึง 1. การนำข้อมูลเข้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และการแสดงผล2. อุปกรณ์ที่ใช้นำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลก็ได้
ibm cardบัตรไอบีเอ็มหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ฮอลเลอริท (Hollerith) เป็นผู้ออกแบบ นำมาใช้เจาะเป็นรู เพื่อสื่อสารนำข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเลิกใช้แล้วดุ card ประกอบ
input deviceอุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ
job control programชุดคำสั่งควบคุมงานหมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชุดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุมสายงานในการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บ กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์หรือชุดคำสั่งใดบ้าง (เช่น ตัวแปลภาษาใด) กำหนดการเริ่มกระทำการ (execute) และการส่งผลที่คำนวณแล้วไปยังเครื่องพิมพ์ ฯมีความหมายเหมือน job control language
main memoryหน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage
main storageหน่วยเก็บหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main memory
memory unitหน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่
network(เนท'เวิร์ค) n. ตาข่าย, ร่างแห, แผนประสานซึ่งกันและกัน, เครือข่าย การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารข้อมูลหรือใช้โปรแกรมร่วมกัน, ระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่อง มาทำงานร่วมกันโดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ocrabbr. optical character recognition, optical character reader (แปลตรง ๆ ได้ว่า เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น
odd even checkการตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check
optical character reecognการรับรู้อักขระด้วยแสงใช้ตัวย่อว่า OCR (อ่านว่า โอซีอาร์) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น
overflowการสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออ, ล้นมากเกินเก็บหมายถึง ปรากฏการณ์ที่หน่วยความจำไม่สามารถรับข้อมูลเข้าไปได้อีก เพราะเกินขนาดความจุ เหมือนน้ำล้นฝายกั้น อาจจะมีผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงานไปเลยก็ได้
paper tapeแถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที
parity checkการตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check
perforated tapeแถบเจาะรู <คำแปล>เทปเจาะรูหมายถึง แถบกระดาษ (paper tape) ที่นำมาเจาะรูเพื่อใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (ถ้าเป็นบัตร ก็เรียกว่า perforated card) ดู paper tape ประกอบ
primary storageหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย
privileged instructionคำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode)
punched cardบัตรเจาะรูหมายถึง บัตรที่นำมาเจาะเป็นรู เพื่อเป็นข้อมูลที่จะส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเจาะบัตรให้เป็นรูนี้ต้องเจาะด้วยเครื่องเจาะบัตร (keypunch) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพิมพ์ดีด เช่น ถ้าเจาะตัวอักษร A ก็จะมีรูที่คอลัมน์ 1 และ 12 รูต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ (โดยใช้แปรงไฟฟ้าปัดผ่าน) แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ วิธีส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แบบนี้ เกือบจะเป็นแบบแรกที่ใช้กัน เดี๋ยวนี้ถือว่าล้าสมัยไปเสียแล้วเพราะไม่สะดวกในการเก็บรักษา กับทั้งสิ้นเปลืองมาก จุข้อมูลน้อยถ้าเทียบกับจานบันทึก นอกจากนั้น ใช้แล้วนำมาใช้อีกไม่ได้ เจาะผิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไป แล้วทำใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองดู card ประกอบ
remote consoleส่วนเฝ้าคุมระยะไกลจอเฝ้าคุมระยะไกลหมายถึง จอภาพหรืออุปกรณ์อื่นที่ผู้ควบคุมการดำเนินการของเครื่อง ใช้สั่งงาน เช่น ส่งข้อมูลเข้าเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มกระทำการ (execute) แต่เนื่องจากอุปกรณ์นี้อยู่ห่างจากตัวเครื่อง การควบคุมจึงต้องมีสายการสื่อสารเชื่อมโยงติดต่อกัน
retum keyแป้นขึ้นบรรทัดเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีสัญลักษณ์ (บนแป้น ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) การกดแป้นนี้ เป็นคำสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยที่ยังพิมพ์ข้อความไม่ถึงจุดสุดท้ายของบรรทัด ในบางโปรแกรม หมายถึง การสั่งให้นำข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำหรือเป็นคำสั่งให้หน่วยประมวลผลเริ่มทำงาน (มีความหมายเหมือนการกดแป้น Enter Key) ในระบบวินโดว์ ใช้กดแป้นนี้แทนกดเมาส์ที่ปุ่ม OK เมื่อตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เสร็จแล้วก็ได้
second generation computeคอมพิวเตอร์ยุคที่สองหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 จนถึงต้น 1970 มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีขนาดเล็กว่ายุคที่หนึ่งมาก ใช้กำลังไฟน้อยลง และให้ความร้อนน้อยลงด้วย เพราะหน่วยความจำที่ใช้เป็น วงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนที่จะเป็นหลอดสุญญากาศเหมือนยุคที่หนึ่ง ส่วนหน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) นิยมใช้เทปหรือแถบบันทึก และจานบันทึก การนำข้อมูลเข้าและการแสดงผล สามารถทำได้ควบคู่ไปกับการคำนวณ เริ่มรู้จักใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ควบคุมดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์
system diskจานบันทึกระบบหมายถึง จานบันทึกที่บรรจุระบบปฏิบัติการ (ถ้าเป็นพีซี ก็หมายถึง MS DOS) สามารถนำมาใช้เริ่มเครื่องใหม่ได้ (boot) โดยใส่ในหน่วยบันทึก A : จานบันทึกระบบต้องมีโปรแกรม 3 โปรแกรม เป็นอย่างน้อย คือ lo.sys, Msdos.sys และ Command.com สองแฟ้มแรกจะถูกซ่อนอยู่ (hidden files) แม้ว่าจะใช้คำสั่ง Dir ก็จะไม่แสดงบนจอภาพโปรแกรม lo.Sys จะดูแลในเรื่องการนำข้อมูลเข้า และการแสดงผล ส่วน MSDOS.sys จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นจานบันทุกนั้น ส่วน Command.com ก็จะมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น dir, copy, delete จานบันทึกระบบนี้มีความสำคัญมาก (โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์) ถ้าไม่มีจานบันทึกนี้จะเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ อาจใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นจานบันทึกระบบเลยก็ได้
teleprocessingการประมวลผลทางไกลหมายถึง การประมวลผลที่มีการส่งข้อมูลมาจากเครื่องปลายทาง (terminal) ที่อยู่ไกลออกไป เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง การส่งข้อมูลอาจใช้ผ่านสายโทรศัพท์ สายเคเบิล ใยแก้ว ดาวเทียม ฯ ก็ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นทั่วไป คือการเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม (ATM) แต่ละตู้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องปลายทางส่งข้อมูลเข้าไปยังศูนย์ที่สำนักงานใหญ่เพื่อทำการประมวลผล
terminal userผู้ใช้เครื่องปลายทางหมายถึง ผู้ที่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านเครื่องปลายทาง ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้ป้อนข้อมูลเข้า และผู้รอรับผลลัพธ์จากการแสดงผลดู terminal ประกอบ
touch padแผ่นสัมผัสหมายถึง อุปกรณ์การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าได้โดยเพียงสัมผัสที่จุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นสัมผัสนั้น ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นสัญญาณป้อน เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top