ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

ผ้านุ่ง

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -ผ้านุ่ง-, *ผ้านุ่ง*
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ผ้านุ่ง(n) panung, See also: brocade worn over the trunks, Syn. โจงกระเบน, Example: นักเรียนทุกคนต้องใส่ผ้านุ่งเวลาเรียนรำไทย, Count Unit: ผืน, Thai Definition: ผ้าสําหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วเอาลอดหว่างขาดึงไปเหน็บไว้ที่ขอบผ้าระดับบั้นเอวข้างหลัง

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ผ้านุ่งน. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.
กระเบนเรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน
กระโปรง(-โปฺรง) น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล
เกี้ยว ๑ผ้าคาดเอวสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดเอวที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง).
แก้ ๑น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. <i> (ดู เบี้ยแก้</i> <i> ประกอบ)</i>.
จตุปัจจัย(-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา).
จีวร, จีวร-(จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ].
โจงกระเบนก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
ชายกระเบนน. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
ชายพกน. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้กัน เหน็บไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้ยาวกว่า มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
ตะพุ่น ๒ว. สีชนิดหนึ่งคล้ายสีครามจาง เป็นสีผ้านุ่งของพวกตะพุ่น เรียกว่า สีตะพุ่น.
เต่อว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเต่อ แขนเสื้อสั้นเต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า.
เตินเต่อว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้าสูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า.
ไตรจีวร(-จีวอน) น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง คือ ผ้านุ่ง) อุตราสงค์ (จีวร คือ ผ้าห่ม) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.
ถกก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว
ถลก(ถะหฺลก) ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว
ถุงน. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สำหรับสวมมือสวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกัน ว่า ผ้าถุง.
ถุงสำเร็จน. ผ้านุ่งผู้หญิงที่ตัดเย็บสำเร็จรูป โดยป้ายไปด้านใดด้านหนึ่ง.
นุ่งผ้าโจงกระเบนก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
ปนก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.
ประเชิญเอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาดกลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
ปัจจัยเครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธ-ศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึง เงินตรา ก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร)
ผ้าดำน. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์.
ผ้าแดงน. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทำผ้านุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสำหรับคนกินหมากเป็นต้น.
ผ้าตาน. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ.
ผ้าผ่อนน. ผ้าทั่ว ๆ ไป, ผ้านุ่งผ้าห่ม.
ผ้าพื้นน. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มีดอกไม่มีลาย.
ผ้าลายน. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง.
ผืนน. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนัง หรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกำหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนัง เป็นต้น
พก ๑น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น
พื้นเรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลาย ว่า ผ้าพื้น.
เฟ็ดว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง)
ร่มผ้าน. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย.
ลอยชายว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย
ลาย ๑เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
ลุ่ยก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่งที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา.
เล็ดงาน. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่าเมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม.
เลิกก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป
เวิกก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
สบง(สะบง) น. ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร.
ส่าหรี(-หฺรี) น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้.
โสร่ง(สะโหฺร่ง) น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายูนุ่งเป็นต้น.
หางกระเบนน. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก.
หางหงส์ ๑น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
จตุปัจจัยเครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) [ศัพท์พระราชพิธี]

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
phasin(n, name) ผ้าซิ่น เป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ผ้าทอเป็นผืนด้วยมือ เป็นผืนยาวประมาณ 2 เมตร ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัวตั้งแต่เอวลงไป อาจตัดและเย็บก็ได้ มีใช้ในประเทศไทย ลาว พม่า มีลวดลายต่าง ๆ กัน ภาษาไทยเรียก ผ้าถุง หรือผ้านุ่ง ก็ได้

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top